การดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Region Development) ในครั้งนี้ข้าพเจ้านางสาวกชพร  ใจหวัง ประเภทบัณฑิต  เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินงานตำบล      ท่าโพธิ์ชัย อำเภอบ้านหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากการดำเนินงานประจำเดือนกรกฎาคมมีรายละเอียดการปฏิบัติงานดังนี้

         เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 คณะอาจารย์ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ ตำบลท่าโพธิ์ชัย เพื่อพูดคุยพบปะกับผู้นำชุมชน ได้มีการนำส่งหนังสือทางราชการในการขออนุญาตลงเก็บข้อมูล ณ ตำบลท่าโพธิ์ชัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านอาจารย์ได้ชี้แจงถึงรายละเอียดการทำงานให้ทางผู้นำชุมชนได้ทราบเกี่ยวกับโครงการ U2T ที่ทางผู้ปฏิบัติงานต้องดำเนินงานตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในส่วนทางด้านผู้นำชุมชนได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี การประชุมเป็นไปอย่างเรียบร้อย เมื่อประชุมเสร็จเรียบร้อยข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ไปสำรวจในชุมชนพบว่าในหมู่บ้านมีงานบุญแห่เทียนเข้าพรรษา ซึ่งประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะไปในตัว การสรรหาภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีฝีมือทางช่าง มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องการทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบนต้นเทียน การประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของช่างในท้องถิ่น ส่วนการจัดขวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายของขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจากวิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะที่งดงาม ดนตรีประกอบก็เป็นเครื่องดนตรีประจำถิ่น ผสมเข้ากับการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ ทำให้งานประเพณีนี้ยิ่งใหญ่ประชาชนต่างเฝ้ารอคอย ช่วงเช้าของในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 เป็นซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ในช่วงเช้า ชาวบ้านได้นำข้าวสารอาหารแห้ง อาหารคาว หวาน ขนมไทย ผลไม้ มาถวายพระแต่เช้าตรู่ จากนั้นร่วมกันฟังพระสวด เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็ได้รับประทานอาหารร่วมกัน พูดคุยถึงเรื่องราวๆ ต่างๆ จากนั้นก็ช่วยกันล่างถ้วยชาม และแยกย้ายกันกลับบ้าน ทางผู้ดำเนินงานได้ลงไปสัมผัสถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ปฏิบัติสืบต่อกันรุ่นสู่รุ่น เป็นประเพณีที่ดีงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลัง

         ผลการดำเนินงานประจำเดือนกรกฎาคม จากการได้ลงพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ชัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ สรุปได้ว่าจากมติการประชุมของคณะอาจารย์ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานกับทางผู้นำชุมชนเป็นไปอย่างเรียบร้อยดี ผู้นำชุมชนได้รับทราบถึงรายละเอียดโครงการ ผู้ปฏิบัติงานได้ลงเก็บข้อมูลที่ได้รับ   อย่างพร้อมเพรียงกัน ชาวบ้านในตำบลท่าโพธิ์ชัยให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ตำบลท่าโพธิ์ชัยมีทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลของหมู่ที่ 5 บ้านหนองกราด ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่หมู่ 5 เรียบร้อยแล้ว ผู้นำชุมชนให้ความร่วมมืออย่างดี ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และนอกจากการเก็บข้อมูลแล้วยังได้มีการวางแผนร่วมกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในตำบล ให้มีความน่าสนใจรวมไปถึงการต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย สำหรับงานประจำเดือนกรกฎาคมก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ภาพการดำเนินงานประจำเดือนกรกฎาคม