โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
หลักสูตรHS17-2 :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม
ข้าพเจ้า นายอรรถพล เจริญรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในการปฏิบัติงานเดือนสิงหาคม
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้ลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์ด้านจักรสาน และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละหมู่บ้านในตำบลตลาดโพธิ์ทั้งหมด 9 หมู่บ้าน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำเครื่องจักรสานในชุมชนว่ามีกี่หลังคาเรือนที่ยังทำเครื่องจักรสานอยู่ โดยจะนำผู้ที่ทำจักรสานมาอบรมในการพัฒนาการทำจักรสานให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การลงพื้นที่สำรวจได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนในการประสานงานให้ชาวบ้านรับรู้ถึงการลงพื้นที่ครั้งนี้ ซึ่งทำให้การลงพื้นที่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำตำบลให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD เพิ่มเติมตามหัวข้อในระบบ U2T ทั้ง 10 หัวข้อ มีดังนี้ 1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 2. แหล่งท่องเที่ยว 3. ที่พัก โรงแรม 4. ร้านอาหารในท้องถิ่น 5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6. เกษตรกรในท้องถิ่น 7. พืชในท้องถิ่น 8. สัตว์ในท้องถิ่น 9. ภูมิปัญญาในท้องถิ่น 10. แหล่งน้ำในชุมชน โดยข้าพเจ้าลงพื้นที่เก็บข้อมูลบ้านปราสาทพรสวรรค์และบ้านบุตาแหบ ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เช่น 1. แหล่งท่องเที่ยว มีสวนอินทผาลัม 2. พืชในท้องถิ่น มีมะนาว มะละกอ ตะไคร้ ข่า พริก มะเขือ มะรุม เป็นต้น 3. สัตว์ในท้องถิ่น มีปลา เป็ด วัว ไก่ หมู นก เป็นต้น 4. เกษตรกรในท้องถิ่น จะเป็นการทำไร่ทำนาภูมิปัญญาในท้องถิ่น จะเป็นการทอไหมเลี้ยงหม่อนและทำจักรสาน ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้ทำการกรอกข้อมูลลงระบบ U2T ครบตามเป้าหมายที่กำหนด
วันที่ 11 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลตลาดโพธิ์ ดำเนินการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของการจัดทำจักรสานไม้ไผ่ ที่บ้านบุตาแหบ หมู่ที่ 8 ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นได้ร่วมพูดคุยถึงความคืบหน้าในการทำจักรสานกับนายไสว สะออนรัมย์ ซึ่งท่านนี้เป็นส่วนหนึ่งในการจักสานของตัวผลิตภัณฑ์ และจากการที่ได้สอบถามพูดคุยรายละเอียดต่าง ๆ โดยพบว่าอาศัยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเอง อาทิเช่น การใช้ไม้ไผ่ที่ปลูกโดยตนเองภายในสวน และการใช้ไม้ไผ่จากหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นต้น
ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้สอบถามถึงปัญหาที่คาดว่าน่าจะเกิดในระหว่างกระบวนการผลิตและความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักสาน มีรายละเอียดดังนี้ 1.ปัญหาด้านบุคลากร ที่อาจจะไม่พร้อมเพรียงกันระหว่างการผลิต เช่นการติดธุระส่วนตัว 2. ปัญหาด้านของวัตถุดิบจำนวนของไม้ไผ่ที่อาจจะไม่เพียงพอ คุณสมบัติเฉพาะตัวของไม้ไผ่ที่แตกง่ายและดัดยาก ศัตรูทางธรรมชาติของไม้ไผ่ ได้แก่ตัวมอดเจาะไม่ไผ่ที่อาจสร้างความเสียหายให้กับไม้ไผ่ก่อนการผลิตได้ 3. ด้านความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตที่อยากให้มีบุคลากรที่มีความรู้ในด้านผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ให้เข้ามาสอนงานหรือแนะนำวิธีในการทำงานที่ถูกต้องอีกทั้งยังเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วย
อุปกรณ์ในการทำเครื่องจักรสานต่าง ๆ
1. ไม้ไผ่ คือวัตถุดิบหลักในการทำโครงตะกร้า ไม้ไผ่ที่นิยมใช้ทำโครงตะกร้ามากที่สุด คือไผ่สีสุกซึ่งขึ้นอยู่ตามพื้นราบมีอยู่ทั่วไปในชุมชนไม้ไผ่ที่เหมาะนำใช้สำหรับทำเส้นดิ้วของตะกร้าจะต้องเป็นไผ่ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 2 ปี เพราะสามารถยืดหยุ่นได้ดีและมีลำต้นยาว
2. มีดโต้ เป็นมีดที่ใช้สำหรับตัดไม้มีขนาดใหญ่สันหนาน้ำหนักมาก ยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร มี 2 ชนิดคือ ชนิดสันโค้ง และสันตรง
3. มีดตอกเป็นมีดทรงเรียวแหลม คมมีดโค้งมน เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานส่วนใหญ่ช่างจักสานมักต่อด้ามยาวออกไปประมาณ 60 ซ.ม. เพื่อสามารถสอดเข้าไปขัดไว้ในซอกแขนช่วยให้การบังคับคมมีดดีขึ้นมีดจักตอกมักมีน้ำหนักเบา ค่อนข้างบาง ใช้จักตอกให้เป็นเส้น ช่างจักสานมักใช้เป็นมีดประจำตัว
4. เลื่อยลันดา เป็นเลื่อยใช้งานทั่วไปใช้สำหรับตัดหรือฝ่าไม้ตามความต้องการ ใช้งานเมื่อให้ปลายไม้ทั้งสองเรียบเสมอกัน เวลาใช้ควรวางเลื่อยให้ได้ 60 องศา กับงานในการใช้เลื่อยต้องใช้เลื่อยที่ฟันละเอียดคม
5. หินลับมีด เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มีดคมอยู่เสมอ ซึ่งมีความสำคัญมากในการจักตอก
6. กระดาษทราย เป็นแผ่นเนื้อคายเหมือนทราย ไว้สำหรับขัดตะกร้าไม้สักให้เรียบเป็นมันหรือขัดหวายที่เป็นขนให้หลุด เพื่อความสวยงามในการสาน
7. ตะปูเข็ม คือตะปูตัวเล็กที่สุด เหมาะที่จะใช้งานตอกหวายติดกับไม้สักเพื่อใส่คิ้ว (ตอกตัว) ให้ติดแน่นไม่หลุดและมีอายุการใช้งานได้นาน
8. เหล็กหมาด มีลักษณะเป็นเหล็กแหลมยาวประมาณ 4 นิ้ว มีด้ามขนาดเหมาะมือที่ทำหน้าที่เจาะรู และประกอบการจักสาน อาจจะทำจากเหล็กเส้น หรือลวดที่มีความแข็ง ซี่ล้อลวดจักรยานโครงร่ม ที่ใช้แล้ว นำมาฝนให้แหลม เหล็กหมาด 2 ชนิด คือ ชนิดปลายแหลมและชนิดปลายแบนชนิดปลายแหลมใช้เจาะเพื่อร้อยเส้นหวายส่วนชนิดปลายแบนใช้เจาะเพื่อร้อยเส้นตอก
9. ค้อนหงอน ค้อนขนาดเล็กเหมาะสมสำหรับการจัดสาน ใช้ตอกตะปูถอนตะปูหรือตอกไม้เวลาประกอบชิ้นงาน
10. สีแชล็คทาไม้ โดยใช้ทาเคลือบผิวไม้ เพื่อเพิ่มความเงางาม ช่วยป้องกันน้ำ ช่วยให้ทนต่อการขีดข่วน รักษาเนื้อไม้ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ป้องกันการเกาะติดของคราบสกปรก และสามารถสะอาดได้ง่าย