AG12-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG

ข้าพเจ้านางสาวพิกุล ก่อเจริญวัฒน์ ประเภทประชาชน ผู้ปฏิบัติงาน เภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
การปฏิบัติงานโดยรวมประจำเดือนสิงหาคม 2565

ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้เข้าพบท่านนายก นายเชิดศักดิ์ วันทะมาตร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแวง ร่วมด้วย
– นายมนูญ กิจจา ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแวง
– นายทิพเวชย์ กวางรัตน์ ผู้อำนวยการการเกษตร และหน่วยงานพัฒนาชุมชน
เพื่อนำเสนอโครงการที่ทำทั้ง 2 โครงการดังนี้
1.โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้าน บ้านแก่นท้าวตำบลบ้านแวง
2. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่บ้านแวง ตำบลบ้านแวง
เพื่อให้นายกและทีมงานรับทราบและได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนต่อไป


วันที่ 2-10 สิงหาคม 2565
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD เพื่อลงระบบ ผู้ปฏิบัติงานในตำบล จะต้องเก็บข้อมูลทั้งหมดอย่างน้อย 500 รายการ เพื่อให้ข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกันและไม่ให้เป็นการลงข้อมูลซ้ำ ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานมีการประชุมเพื่อแบ่งพื้นที่และเก็บข้อมูลคนละ 50 รายการ โดยรวมแล้วตำบลบ้านแวงเป็นตำบลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชภัณฑ์ อีกทั้งเป็นพื้นที่การเกษตรด้านต่างๆ เช่นการปลูกข้าว ทำสวน และการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ส่วนตัวข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลดังนี้
1.ร้านอาหารในท้องถิ่น จำนวน 1 ร้าน
2.เกษตรกรในท้องถิ่น จำนวน 13 ราย
3.พืชในท้องถิ่น จำนวน 19 ชนิด
4.สัตว์ในท้องถิ่น จำนวน 7ชนิด
5.แหล่งน้ำในท้องถิ่น จำนวน 9 แหล่ง
6.ภูมิปัญญาในท้องถิ่น จำนวน 1
วันที่ 11 สิงหาคม 2565


ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้เข้าร่วมการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และถ่ายทอดวิธีทำขนมฝักบัวกับขนมดอกจอก ให้กับกลุ่มทำขนมพื้นบ้าน บ้านแก่นท้าว โดยมีวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการทำขนมฝักบัวและดอกจอก คือคุณณนท มณีวรรณ มาให้ความรู้ในครั้งนี้ และเราได้รับความร่วมมือจากกลุ่มทำขนมพื้นบ้าน บ้านแก่นท้าว เข้ามาเรียนรู้และร่วมทำกิจกรรมครั้งนี้ด้วยดี วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ หลักๆคือ อยากให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชน ตำบลบ้านแวงของเรามีการพัฒนา และส่งออกสู่ตลาดที่กว้างขึ้น สามารถเพิ่มรายได้ให้ชุมชนมากขึ้นด้วย