บทความประจำเดือน สิงหาคม 2565

กลุ่ม ID27-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลTCD พืชในท้องถิ่นและอาหารที่น่าสนใจในท้องถิ่น ณ

บ้านหนองเก็ม หมู่ที่ 3 บ้านกระโดน หมู่ที่ 9

บ้านหนองยาง หมู่ที่ 10  บ้านสังเคิล หมู่ที่ 4

ตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย

จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉันนางศิริเกษ โสละมัค ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่บ้านหนองเก็ม หมู่ที่ 3 บ้านกระโดน หมู่ที่ 9บ้านหนองยาง หมู่ที่ 10  บ้านสังเคิล หมู่ที่ 4 ของตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบ คือ แบบฟอร์ม C-03 แผนพัฒนาสินค้าและบริการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ BCG เป้าหมายในพื้นที่ พื้นที่รับผิดชอบ รายละเอียดสินค้าและบริการ รายได้ต่อปีในปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ช่องทางการจัดจำหน่าย วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายการพัฒนาสินค้า เทคโนโลยีที่นำมาพัฒนา ระยะเวลาที่ใช้ งบประมาณที่ใช้ แบบฟอร์ม C-04 ผลการพัฒนาสินค้าและบริการ ชื่อสินค้า/บริการความก้าวหน้า กิจกรรม สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อ ปัญหา/อุปสรรค

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ID27-2

คณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร  ตำบลไพศาลลงพื้นที่พบกลุ่มข้าวหลาม และกลุ่มทอเสื่อกก เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการของกลุ่มและแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับราคาสินค้าในชุมชน

คณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตำบลไพศาลลงพื้นที่ปฏิบัติงานติตามผลการดำเนินงานและความคืบหน้าของกลุ่มแม่ๆในชุมชนเพื่อให้งานบรรลุตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้

คณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ID27-2 ตำบลไพศาลและอาจารย์ประจำหลักสูตรประชุมออนไลน์ชี้แจงงานเกี่ยวกับกรอกข้อมูล C-03และ C-04 ลงในระบบให้ถูกต้องภายในวันเวลาที่กำหนดพร้อมทั้งชี้แจงเกี่ยวกับการกรอกข้อมูล TCD ลงระบบของส่วนกลาง

คณะเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูล TCD ในพื้นที่ดิฉันได้รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วยบ้านหนองเก็ม บ้านกระโดน บ้านหนองยาง บ้านสังเคิล ของตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้เก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่นครบตามที่ส่วนกลางกำหนดแล้ว

คณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตำบลไพศาลกรอกข้อมูล C-03 และ C-04ได้กรอกตามกำหนดและผ่านการพิจารณาเรียบร้อยแล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่นต่อไปในช่วงปลายเดือนสิงหาคม

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG ด้านการคิดเชิงออกแบบ Design thinking ด้านโมเดลธุรกิจ Business Model Canvas ด้านเร่งการเติบโต (Growth Hacking) ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100% และได้ทำการศึกษา Presentation-Tips เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 4 หมู่บ้าน

ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา ทำไร่อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เช่น การเลี้ยงโค การเลี้ยงกระบือ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงหมู ซึ่งประชากรในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาและทำไร่เป็น แต่ยังมีสินค้าที่สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน เช่น  การทอผ้าไหม การทอเสื่อกก เครื่องจักสาน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้านการจัดจำหน่ายสินค้ายังไม่มีช่องทางในการจัดจำหน่าย สินค้าบริการยังเป็นแบบเดิมยังไม่มีการพัฒนาให้มีความหลากหลายและน่าสนใจ

บทบาทและหน้าที่

ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนก่อนลงพื้นที่และขอสถานที่ใช้ในการจัดประชุมหรืออบรมต่างๆของกลุ่มแม่ๆในชุมชน ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCDพืชในท้องถิ่นและอาหารที่น่าสนใจในท้องถิ่นตามที่ส่วนกลางกำหนดและครบตามที่ได้รับมอบหมาย ลงพื้นที่ช่วยทีมงานถ่ายวีดิโอและตัดต่อวีดิโอประจำเดือนสิงหาคม

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบอุปสรรคในการทำงานมากมายเช่น พายุฝนตก ชาวบ้านไม่อยู่บ้าน ซึ่งอยู่ในช่วงทำไร่ทำนา ส่งผลให้ทีมเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบตามต้องการ จึงมีแนวทางการแก้ปัญหาฝนตกคือการตรวจเช็คสภาพอากาศก่อนลงพื้นที่และการติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์นัดกลุ่มก่อนลงเก็บข้อมูลและติดตามผลการทำงานของทั้งสองกลุ่ม

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.ได้ทราบถึงปัญหาที่ชุมชนต้องการและแนวทางการแก้ไข

2.ได้ทราบถึงความต้องการของคนในชุมชน

3.ได้ทราบถึงอาชีพในชุมชน

4.ได้รู้จักการทำงานเป็นทีมและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

5.ได้ทราบถึงสินค้า OTOP ในชุมชนตำบลไพศาล

6.ได้ทราบถึงขึ้นตอนการติดต่อประสานงานกับหน่ายงานรัฐได้อย่างถูกต้อง

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

ทีม ID27-2 มีแผนการดำเนินงานในเดือน สิงหาคม 2565 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19