เขียนโดย : นฤมล อัดศรี
หลักสูตร : AG13-2
ข้าพเจ้านางสาวนฤมล อัดศรี ผู้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ประเภทประชาชน AG13-2 ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล เก็บข้อมูล และวางแผนเศรษฐกิจในเดือนแรกลุล่วงไปด้วยดี สำหรับเดือนสิงหาคมนี้ เข้าสู่การวางแผนพัฒนาสินค้าและบริการ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้ลงพื้นที่มาติดตามความคืบหน้าและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาสินค้า
เริ่มตั้งแต่การสอบถามเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้คือต้นกก โดยปกติชาวบ้านจะใช้วิธีการหาต้นกกจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แล้วนำมาจักให้เป็นเส้นเล็ก ๆ ตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นนำไปตากแดดประมาณ 3-5 วันแล้วแต่สภาพอากาศ อาจารย์แนะนำว่า เปลี่ยนจากการตากแดดเป็นการอบด้วยความร้อนแทน ซึ่งใช้เวลาในการอบไม่นานและเส้นกกที่ได้จะแห้งสนิท ไม่เป็นรา ทำให้คุณภาพสินค้าดีมากยิ่งขึ้น
ในการทอเสื่อกกชาวบ้านยังคงใช้วิธีการย้อมสีเคมี ทางทีมงาน U2T for BCG ตำบลมะเฟือง จึงร่วมกับอาจารย์ในการหาวิทยากรที่มีความรู้มาให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการย้อมสีกกจากวัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้จากชุมชนอย่างต้นขี้เหล็ก แก่นขนุน ครั่ง หรือต้นคราม เป็นต้น หรือหากทอแบบไม่ย้อมสีแล้วนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ก็สวยไปอีกแบบเพราะธรรมชาติสีของต้นกกนั้นไม่เท่ากันอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD (CBD) เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว อาหารที่น่าสนใจ เกษตร พืช แหล่งน้ำ ภูมิปัญญาที่พบในท้องถิ่นตำบลมะเฟือง พบว่า อาหารส่วนใหญ่ที่พบทำมาจากวัตถุดิบในท้องถิ่น สอดคล้องกับพืชและสัตว์ที่พบในท้องถิ่น และยังถือว่าอาหารบางอย่าง เช่น ปลาส้ม ปลาน้อย เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำสืบทอดกันมานาน
วิดีโอประกอบ