ผลิตภัณฑ์เดิมของน้ำพริกไตปลาแห้งด่านช้างเดิมเป็นยังไง ทำอะไรบ้าง
ข้าพเจ้านางสาว นภาพร นาคินชาติ บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: NS02-1 พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าและทีมงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 โดยรับผิดชอบตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จากงานที่ได้รับมอบหมายโดยการนำเสนอโครงการ ผลิตภัณฑ์เดิมของน้ำพริกไตปลาแห้งด่านช้างเดิมเป็นอย่างไร ทำอะไรบ้าง ช้าพเจ้าและได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพื้นฐานของคนในชุมชน หมู่ที่12 บ้านโนนสว่าง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ. บุรีรัมย์
จากผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานข้าพเจ้าและทีมงาน ในครั้งนี้พบว่าแต่เดิมที่แล้วชาวบ้านมีอาชีพหลักคือ เกษตรกรรรมไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว ปลูกอ้อย และมีการเลี้ยงปลา หาปลาปลูกพืช ผัก สมุนไพร จำนวนมากไว้รับประทานเองบ้างจำหน่ายบ้าง จากการลงสำเร็จข้าพเจ้าเล้งเห็นว่า ชาวบ้านมีการ ปลูก ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น แทบทุกหลังคาเรือนและที่สำคัญชาวบ้านได้มีการรวมกลุ่มกัน 3-5 คน เพื่ออยากจะหารายได้เสริมจึงได้ร่วมกันทำ น้ำพริกไตปลาแห้งขึ้นมา โดยเริ่มจากการที่สร้างธุรกิจเกี่ยวกับน้ำพริกต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้าและได้สนใจจะทำน้ำพริกรสชาติใหม่ๆ โดยพบว่าชุมชนมีพืชผักสมุนไพรจำนวนมาก และในชุมชนยังไม่มีการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำพริกที่มีรสชาติจัดจ้านอย่างของน้ำพริกทางภาคใต้ จึงสนใจและศึกษาเกี่ยวกับน้ำพริกไตปลาแห้ง โดยทำการผลิตและจัดจำหน่าย น้ำพริกไตปลาแห้ง” นับเป็นอาหารมื้อหลักหรือมื้อเร่งด่วน จะนิยมกินคู่กับผักสด ผัดลวก ข้าวสวย และข้าวเหนียว เป็นอาหารที่คนไทยนิยมรับประทาน ยังเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีส่วนประกอบหลักๆ จากสมุนไพรธรรมชาติที่หาได้จากชุมชน เป็นอาหารที่คนไทยรู้จักและมีโอกาสทางการตลาดในการสร้างธุรกิจ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำพริกปลาแห้งด่านช้างมีดังนี้
– ครก สาก
– กระทะ
– ตะหลิว
– หม้อ
– มีด
– ช้อน
วัสดุสิ้นเปลือง
– กระปุกพลาสติก
วัตถุดิบ
– พริกสด
– ขมิ้น
– ข่า
– ตะไคร้
– หอม
– กระเทียม
– พริกไทย
– กะปิ
– ใบมะกรูด
– ผิวมะกรูด
– ไตปลา
– ปลา
วัสดุอุปกรณ์หาได้เองเพราะใช้ในชีวิตประจำวันจึงไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร วัตถุดิบต่างๆปลูกเองที่บ้านและบางทีก็ซื้อกับคนในหมู่บ้านเพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้หมุนเวียน ปลา หาได้ตลาดปี และจะซื้อกับคนในชุมชนที่หาปลาเป็นประจำ หรือถ้าต้องการชนิดนิดอื่นจะเข้ามาเมืองเพื่อซื้อปลา ส่วนไตปลาจะใช้ครั้งละขวดหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปในชุมชน
สำหรับขั้นตอนและวิธีการทำน้ำพริกปลาแห้งด่านช้างมีดังนี้
ขั้นตอนการทำพริกแกง
- นำพริกสด ขมิ้น ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม พริกไทย กะปิ น้ำมาปั่นรวมกันให้ละเอียด
ขั้นตอนการทำน้ำพริกไตปลาแห้ง
- 2. ตั้งหม้อไว้สำหรับต้มปลา จากนั้นนำปลาที่ต้มจนสุกมาแกะเตรียมสำ
หรับทำน้ำพริกไตปลาแห้ง - ใส่เนื้อปลา ไตปลา และพริกแกงลงไปในกระทะผัดให้เข้ากันจนสุก แล้วชิมรสชาติและปรุง รสชาติตามที่ต้องการ
4.. พอได้รสชาติที่ชอบแล้ว ผัดให้เข้ากันจนแห้ง แล้วปิดท้ายด้วยใบมะกรูด คลุกให้เข้ากันอีกครั้ง เป็นอันเสร็จ
. ใช้เงินลงทุนประมาณ 800 บาทต่อการทำหนึ่งครั้ง ครั้งหนึ่งจะผลิตได้ประมาณ 20-30 กระปุก ซึ่งรายได้เฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 2500 บาทต่อเดือนยังไม่หักต้นทุนทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าส่วนมากแหล่งจำหลายจะจำหน่ายทั้งออฟไลน์และออนไลน์และจัดจำหน่ายตามตลาดนัดหน้าอำบ้านด่านและตลาดประชารัฐ
สำหรับปัญหาที่พบในตอนนี้คือจำนวนชาวบ้านและผู้ร่วมโครงการมีเพียง3-5 คนเท่านั้นเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่พึ่งจัดทำขึ้นมาใหม่และยังไม่มีแหล่งยังขาดความรู้เรื่องการจัดจำหน่ายทางออนไลน์แล
ะภาชนะเดิมที่ใสน้ำพริกเป็นกระปุกพลาสติก ยังไม่ทันสมันและสวยงานเป็นที่หน้าสนใจ ตราแบรน์สินค้ายังไม่สวยงามและยังไม่มีมาตรฐานในการผลิต
ข้อเสนอแนะและความต้องการเกี่ยวกับน้ำพริกไตปลาแห้งด่านช้างว่ามีความต้องการอยากให้มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำพริกไตปลาแห้งให้แกชนในชุมชนทางกลุ่มยินดีเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับน้ำพริกไตปลาแห้งให้กับคนในชุมชนเพื่อจะนำความรู้ไปสร้างอาชีพและสร้างได้ได้เสริมให้แกคนในชุมชนและต้องการพัฒนากลุ่มการตลาดเป็นการขายออนไลน์ มีการโฆษณาสินค้าและเพิ่มมูลค่าค่าเดิมที่มีอยู่ รวมถึงการนำเข้าเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน และอยากให้ทีงาน U2T BCG ช่วยทำให้ให้ผลิตภัณฑ์เป็นสินค้า OTOPและได้รับมาตนฐาน อย. อาจจะทำให้ให้น้ำพริกไตปลาแห้งด่านช้างเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นและสามารถเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนมากขึ้น