ข้าพเจ้า นางกิ่งกาญจนา อินทรสังข์ ปฏิบัติงานประเภท ประชาชน ในเขตตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะวิทยาการจัดการ MS10-2
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T For BCG)
ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น. ได้มีการนัดประชุมโดยมีผู้ดำเนินการประชุมคือ อ.จตุพร และอ.ฤทัยภัทร ในการประชุมได้มีการแบ่งวาระการประชุมออกเป็น3วาระ
โดย วาระที่1
ได้มีการเลือกหัวหน้ากลุ่ม / เลขากลุ่ม / เหรัญญิกของกลุ่ม และได้ประชุมให้มีมติดังนี้
- หัวหน้ากลุ่ม คือ คุณกิ่งกาญจนา อินทรสังข์ (แป๋ว)
- เลขากลุ่ม คือ คุณศรัญญา ทิพยาง (ต๋อมแต๋ม)
- เหรัญญิกกลุ่ม คือ คุณคัทลียา จังพล (โมเม)
วาระที่2
ได้มีการนัดหมายเพื่อทำการทดลองทำไข่เค็มดองและไข่เค็มพอกในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 09.30 น. สถานที่ใช้ทำการทดลอง คือบ้านของคุณกิ่งกาญจนา ได้มีการทดลองสมุนไพรทั้งหมด 5 ชนิด คือ ว่านสาวหลง , อัญชัน, ใบเตย, ขมิ้น ตะไคร้หอม , ฝางแดง
วาระที่3
เรื่องสมุนไพรต่างๆได้มีการระดมมาช่วยกัน และได้มีการมอบหมายงานให้ในแต่ละบุคคลเพื่อเป็นการร่วมด้วยช่วยกัน
วาระอื่นๆ
ได้มีการให้คุณคนึงนิจให้คำแนะนำเรื่องการต้องเตรียมสัตถุดิบและสิ่งของจำเป็นต้องใช้ เช่น ไข่เป็ด / น้ำส้มสายชู / ถ่าน / เกลือ / ดินสอพอง / ขมิ้น
หมายเหตุ
ในการที่จะทำการทดลองทำไข่เค็มดองและไข่เค็มพอกได้มีการมอบหมายให้คุณคนึงนิจซึ่งเป็นคุณแม่ของคุณฟาริดาเป็นผู้พาทำ
วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 มีการนัดหมายทดลองทำไข่เค็มดองสมุนไพรและไข่เค็มพอกสมุนไพร (ทั้ง 5 ชนิด)
ณ. วันทำการทดลองก็ได้มีการเตรียมการเรื่องสมุนไพรที่จะนำมาใช้งานอยู่ประมาณ 2 ชั่วโมงถึงได้พร้อม และได้เริ่มทำไข่เค็มดองด้วยสมุนไพรและได้ทำไข่เค็มพอกเสร็จ และได้ร่วมกันทำความสะอาดอุปกรณ์จนเสร็จ เมื่อเวลา16.30 น. โดยประมาณ
วันที่ 3 สิงหาคม 2565 ได้มีการแจ้งนัดประชุมกลุ่มในเวลา 15.30 น.
โดยในการประชุมได้มี อ.จตุพร และอ.ฤทัยภัทรเป็นผู้ดำเนินการประชุม ในการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. นลินทิพย์ พิมพ์กลัด เข้าร่วมรับฟังและให้คำแนะนำ
วาระที่1
อ.จตุพรได้แจ้งในที่ประชุมว่าวันที่ 6 สิงหาคม 2565นี้ อยากให้ทุกคนได้ลงปฏิบัติร่วมกับกลุ่มแม่บ้าน ดังนั้นในการลงปฏิบัติงานครั้งนี้ ( 6 ส.ค. 65) มีใครจะต้องรับผิดชอบอะไรบ้างจึงได้มีการประชุมขึ้นมา (จุดประสงค์ของการประชุม)
วาระที่2
- ในการลงทำงานภาคปฏิบัติจะต้องมีการเตรียมสมุนไพรกันก่อน จึงได้มีการนัดหมายเพื่อมาเตรียมสมุนไพรเพื่อใช้ทำงานก่อน 1 วัน โดยในที่ประชุมได้ลงกันว่าจะมาร่วมเตรียมสมุนไพรในวันศุกร์ (5 ส.ค. 65) ที่บ้านของคุณกิ่งกาญจนา เวลา 10.00 น. คือเวลานัดเจจอเพื่อมาเตรียมสมุนไพรกัน
- ทางด้านสมุนไพรได้มอบหมายให้คุณกิ่งกาญจนาเป็นผู้ประสาน
- ทางด้านวัตถุดิบอื่นๆ ได้มอบหมายให้คุณศรัญญา
วาระที่3
อ.จตุพรได้ถามในที่ประชุมมีใครจะเสนออะไรเพิ่มเติมไหม? ได้มีคุณกิ่งกาญจนาเสนอว่าในการลงทำทุกอย่างต้องตวงและเรื่องของคนที่จะเข้าร่วมทดลองทำไข่เค็มขอประสานเองและจะแจ้งให้ทุกท่านทราบภายในวันศุกร์อีกครั้ง
สิ้นสุดการประชุมเวลา 17.30 น.โดยประมาณ
วันที่ 5 สิงหาคม 2565
- ได้มาจัดเตรียมสมุนไพรกันเสร็จเมื่อเวลาประมาณ 16.00 น.
- ทางด้านคุณกิ่งกาญจนา / คุณนงลักษณ์ / คุณณัฐวุฒิ / คุณธชกาญจน์ ได้ออกสำรวจสมุนไพนและนำกลับมาเพื่อใช้งาน
- ทางด้านคุณฟาริดาและคุณแม่เป็นผู้เช็คสมุนไพร
- ทางด้านคุณศรัญญา / คุณปิยนุช / คุณณัฐสิณี / คุณคัทลียาเป็นผู้ร่วมเตรียมสมุนไพรและวัตถุดิบอื่นๆ
เสร็จกันเวลาประมาณ 16.30 น.
วันที่ 6 สิงหาคม 2565
- เตรียมงานทดลองทำตั้งแต่เวลา 06.00 น.
- งานเริ่มเวลา 09.00 น. โดยในงานนี้ อ.จตุพรและอ.ฤทัยภัทรมาร่วม ในกิจกรรมทดลองทำไข่เค็มครั้งนี้ได้มีกลุ่มแม่บ้านที่ให้ความสนใจ
- กิจกรรมการทดลองทำแรกคือการทำไข่เค็มดองด้วยสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด คือ อัญชัน / ขมิ้น / ฝางแดง / ใบเตย / ว่านสาวหลง ในการลงมือทำครั้งนี้ได้คุณแม่ของฟาริดาเป็นผู้พาทำร่วมกับคุณกิ่งกาญจนาเป็นผู้ให้ความรู้ด้านสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด
- กิจกรรมที่ 2 คือการทำไข่เค็มพอกสมุนไพร โดยในกิจกรรมนี้ได้แบ่งทีมงานภาคบัณฑิตเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล เพื่อให้คำแนะนำกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม เสร็จสิ้นเวลาประมาณ 12.00 น.
ในการทดลองทำครั้งนี้ได้มอบไข่เค็มพอกสมุนไพรให้กับผู้เข้าร่วมร่วมกิจกรรมกลับบ้านด้วยจำนวนคนละ 3 ฟอง
เวลา 13.00 น. ได้ทำการสรุปกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลากหลาย เช่น
- การช่วยกันเสนอแนะในการจัดครั้งต่อไป
- การเสนอรูปแบบของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่สาวหลง
- การเสนอการจดวิสาหกิจชุมชน
เวลาประมาณ 15.00 น.
ได้นำคณะอาจารย์ลงพื้นที่ ณ. ตรงข้ามจุดหน้าวิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง และต่อจากนั้นได้มาเยี่ยมบ้านของคุณกิ่งกาญจนาและสวนทางซับคะนิง เสร็จสิ้นเวลาประมาณ 16.30 น.
วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ได้มีการนัดประชุมเวลา 15.30 น. ในการประชุมครั้งนี้มีอ.จตุพรและอ.ฤทัยภัทรเป็นผู้ดำเนินการประชุม
วาระที่1
ได้มอบหมายงานเรื่องของรายละเอียดในการจะจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจโดยให้ไปหารายละเอียดจากทางด้านเกษตรอำเภอ ส่วนรูปแบของการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นจะได้ให้ทางพัฒนาชุมชนเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งต่อไป
วาระที่2
ให้เลขาและบัญชีแจ้งเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม
ในเรื่องของการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจได้เชิญผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 เป็น
- ประธานวิสาหกิจ คือ ผู้ใหญ่โสภณ ดีประโคน
- รองประธาน คือ คุณกิ่งกาญจนา อินทรสังข์
- เลขาฯ คือ คุณศรัญญา ทิพยาง
วาระที่3
อ.จตุพรได้แจ้งเริ่มทำข้อมูล TCD ได้แล้ว โดยได้มีการแบ่งการทำงานออกเป็น2ส่วน คือ ทางภาคบัณฑิตเก็บข้อมูลทางด้านตะวันตกของตำบลโนนดินแดง ทางด้านตะวันออกเป็นกลุ่มของภาคประชาชนเป็นผู้เก็บข้อมูล เวลาประมาณ 17.00 น. เสร็จสิ้นการประชุม
วันที่ 10-16 สิงหาคม 2565 ได้ศึกษาวิธีการทำ TCD โดยได้เริ่มทยอยทำรอบๆบ้านเพื่อเป็นการเรียนรู้และลงพื้นที่เพิ่มเติม