ข้าพเจ้า นายณัฐพล นวลศรี ผู้ปฏิบัติงานโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประเภทประชาชน ประจำบ้านหนอกครก ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ HS10-1โครงการน้ำพริกกากหมูเมืองแฝกเลิศรส เสริมรายได้ขยาย เศรษฐกิจชุมชน
น้ำพริกกากหมูเป็นอาหารประเภทหนึ่งที่เกิดจากการดัดแปลง โดยนำกากหมูที่เจียวมาจากมันหมูเพื่อให้ได้นำมันมาใช้ เหลือเพียงกากของน้ำมันจึงเรียกกันว่ากากหมู กากหมูนั้นเป็นอาหารทานเล่นอย่างหนึ่ง เพื่อให้กากหมูนั้นมีมูลค่าเพิ่มยิ่งขึ้น จึงนำกากหมูมาผสมกับน้ำพริก ทำให้นำพริกธรรมดามีให้มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น มีรสชาติใหม่ๆน้ำพริกจึงมีรสชาติอร่อยและถูกใจผู้บริโภค น้ำพริกกากหมูนอกจากจะทำรับประทานในครัวเรือนได้แล้วยังสามารถทำขายเพื่อสร้างรายได้เสริมในครัวเรือนได้อีกด้วย น้ำพริกกากหมูมีวัตถุดิบในการทำไม่มากและมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุงยากและ สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานถึง ๖ เดือน โดยพื้นที่เก็บน้ำพริกต้องมีอุณหภูมิห้องไม่เกิน ๓๕ องศา หากเก็บภายในตู้เย็นก็จะทำให้เก็บได้นานยิ่งขึ้น
บ้านหนองครก ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นชุมชนสร้างรายได้จากน้ำพริกกากหมู เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับหมู่บ้าน นางศิริญญา หนองหาญ หรือ ป้าแดง ชาวบ้านหนองครกให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทำน้ำพริก วัตถุดิบหลักๆในการทำน้ำพริกกากหมูได้แก่พริก กระเทียม หอม จากสวนที่ชาวบ้านปลูกกันช่วยลดต้นทุนในส่วนของวัตดิบลง วัตถุดิบที่เหลือก็หาซื้อได้ง่ายจากตลาดสดทั่วไป หอม กระเทียมและพริก เป็นวัตถุดิบที่ปลูกออกตามสวนต่างๆของชาวบ้านที่เป็นพืชผลทางการเกษตร ปลอดสารเคมีต่างๆ ทำให้น้ำพริกปลอดภัยไม่มีสารเคมีตกค้างจากวัตถุดิบและน่ารับประทานยิ่งขึ้น ในหมูบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนมีสวนพืชผลทางการเกษตรที่ปลูกรับประทานเอง หากกระจายความรู้เรื่องการทำน้ำพริกกากหมูสู่ชุมชน จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนหรือครัวเรือนที่สนใจทำน้ำพริกกากหมูไม่ตำกว่าครัวเรือนละ 5,000-10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งอาจจะเป็นรายได้เสริมจากการทำเกษตรของครัวเรือนหรือชุมชนนั้นๆ
ข้าพเจ้ามีความมุ่งหวังอยากจะนำความรู้เรื่องการทำน้ำพริกกากหมูไปส่งต่อให้กับชุมชนในหมู่บ้าน เพื่อผลิตและจำหน่ายไปยัง พื้นที่ต่างๆทั้งในและนอกหมู่บ้านเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนต่อไป
และได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว) เปิดตัวโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG ผ่านระบบออนไลน์ โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธาน พร้อมกับ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผช.รมว.อว. พร้อมด้วยอธิการบดีและผู้บริหารของ อว. และมีผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG จำนวน 68,350 คน เข้าร่วม ซึ่งมีทั้งบัณฑิตจบใหม่และประชาชนที่จะลงไปทำงานกับชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเป็นรายตำบลใน 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG เป็นสิ่งที่ทุกคนรอคอย หลังจากโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ต้องขอขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่ผลักดันงบกลางมาให้ อว.ได้ดำเนินโครงการนี้ในระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ค.- ก.ย.2565 โดย U2T for BCG เป็นการสานต่อโครงการ U2T แต่จะแตกต่างตรงที่โฟกัสและชูในเรื่องของ BCG เป็นหลัก ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่สามารถนำไปยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ได้ และยังเป็นวาระสำคัญของประเทศไทยที่จะเชื่อมโยงไปถึงการประชุมเอเปคที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือน พ.ย. นี้
อ้างอิง https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/7559-u2t-for-bcg-1-68-350-7-435.html