วันอาทิตย์ที่ 3 เดือนกรกฎาคม พ.ศ 2565
ข้าพเจ้าและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน U2T for BCG ในความดูแลของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์
ผ่านระบบ Google Meet เกี่ยวกับข้อหัวเรื่อง การจัดทำแบบเสนอโครงการ และการเสนอแนะรายละเอียด เกี่ยวกับวิธีการจัดส่งเอกสารการยืนยันตัวตน และสัญญาจ้างของแต่ละบุคคล การมอบหมายการปฏิบัติงานของสมาชิกผู้ปฏิบัติงานแต่ละตำบล               มีการแนะนำปฏิทินสำหรับผู้ปฏิบัติงาน โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจแบบBCG
(U2T for BCG and Regional Development) โดยมีสมาชิกผู้ดำเนินงานผู้ปฏิบัติงาน เข้าร่วมจำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีสว่าง ตำบลบ้านยาง และตำบลบัวทอง

เปิดรูปภาพ เปิดรูปภาพ

วันอังคารที่ 5 เดือนกรกฎาคม พ.ศ2565
ข้าพเจ้าและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน U2T for BCG ในความดูแลของคณะเทคโนโลยีการเกษตร
ได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Google meet เรื่องการระดมความคิดเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในตำบลที่มีอยู่ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น หรือเรียกว่าการยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชน โดยมีสมาชิกผู้ดำเนินงานเข้าร่วมจำนวน 2 ตำบล ได้แก่
ตำบลบ้านยาง และตำบลศรีสว่าง เพื่อที่ผู้ปฏิบัติงานจะนำไปเสนอต่อคณะกรรมการต่อไป และการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับนโยบายของโครงการคือ “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”
ชีวภาพ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
หลังจากนั้นสมาชิกกลุ่ม ตำบลบ้านยางก็ได้มีการร่วมประชุมกันต่อ โดยมีการประชุมเพื่อที่จะทำความเข้าใจ และการมอบหมายการปฏิบัติงานของแต่ละท่าน

 

 

 

 

 

 

 

 

วันพฤหัสบดี ที่ 7 เดือน กรกฎาคม พ.ศ 2565
ผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มตำบลบ้านยาง ได้มีการจัดแบ่งกลุ่มเพื่อที่จะลงพื้นที่สำรวจชุมชน ในหัวข้อ
ประเด็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน แหล่งผลิตที่มีแต่ละแห่งของชุมชน รวมถึงแหล่งตลาดนัดหมู่บ้านในชุมชน
เป็นการแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม
แต่ละกลุ่มจะแบ่งโซนการรับผิดชอบ
โดย กลุ่มที่1 มีสมาชิก 4คน
คือ
ศุภาพิชญ์ เพียวงศ์
ฉัตรชาย แสงไธสง
ปฏิพล สังสีแก้ว
สุจิรา โกนไธสง
เขตพื้นที่รับผิดชอบคือ บ้านยางน้อย บ้านหัวตะพาน บ้านแคน บ้านหัวตะพานกลาง บ้านหัวตะพานใหม่
กลุ่มที่2 มีสมาชิก 3 คน
คือ
พิเชษฐ แคไธสง
มงคล คำเรือง
อรรถพล ชาตำแย
เขตพื้นที่รับผิดชอบคือ บ้านดอนตูม บ้านบ้านโพธิ์ฮี บ้านหนองเกาะ บ้านยางนกคู่ บ้านแคนน้อย
กลุ่มที่3 มีสมาชิก 3 คน
คือ
อชิรญา โพธิ์กลาง
เกษกนก นวลไธสง
ทรงศักดิ์ นวลไธสง
เขตพื้นที่รับผิดชอบคือ บ้านยางน้อย บ้านโนนขี้เกลือ บ้านบ้านเพียแก้ว บ้านยาง บ้านดอนต้อน บ้านสระบัว

วัน ศุกร์ ที่ 8 เดือน กรกฏาคม พ.ส 2565
ข้าพเจ้าได้มีการลงพื้นที่สำรวจในหัวข้อ
ประเด็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน แหล่งผลิตที่มีของแต่ละแห่งของชุมชน รวมถึงแหล่งตลาดนัดหมู่บ้านในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบ ในตำบลบ้านยางจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านยางน้อย บ้านโนนขี้เกลือ บ้านเพียแก้ว บ้านยาง บ้านตอนต้อน และบ้านสระบัว
โดยเขตพื้นที่ ที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ ไม่มีการรวมกลุ่มแม่บ้านที่ทำผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของชุมชน และส่วนใหญ่คนในชุมชนที่ผลิตผ้าไหมเป็นการผลิตในรูปแบบอาชีพของแต่ละคนเอง ในการประกอบอาชีพของคนวนขุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และเกษตรกรรม ส่วนการประกอบอาชีพทำผ้าไหมคนในชุมชนส่วนน้อยที่จะทำผ้าไหมเพราะต้องอาศัยความชำนาญ และต้องมีการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี
และในเวลาประมาณ 10.00 น.
ข้าพเจ้าได้มีการเข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ผ่านช่อง youtube live ทางมหาวิทยาลัยมีชี้แจงกระบวนการทำงานต่างๆ และทางส่วนกลางแจ้งขั้นตอนของการดำเนินงานที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานลงข้อมูลโครงการในระบบ   เพื่อปฎิบัติงานในโครงการ

วันเสาร์ ที่ 9 เดือน กรกฎาคม พ.ศ 2565
ข้าพเจ้าและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน U2T for BCG ในความดูแลของคณะเทคโนโลยีการเกษตร
ได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Google meet นำเสนอผลการสำรวจข้อมูลในชุมชนและพูดคุยเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องของผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่ข้าพเจ้าและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตำบลบ้านยางที่ต้องการจะพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้มีมูลค่า และน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยมีสมาชิกผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมการประชุมจำนวน 2 ตำบล ได้แก่ตำบลบ้านยาง และตำบลศรีสว่าง
และได้มีประชุมครั้งที่ 2 ของตำบลบ้านยาง เป็นการคิดออกแบบชื่อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตำบลบ้านยาง ที่ต้องการจะจัดทำผลิตภัณฑ์โดยมี 2 ชื่อ 2 ชนิด มีการมอบหมายให้ตัวแทนสมาชิกบัณฑิตและตัวแทนสมาชิกประชาชนกรอกเอกสารและข้อมูลส่วนบุคคลสามารถจัดส่งภายในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ 2565

คลิปวีดีโองานการดำเนินงาน ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ 2565