รายงานผลการปฏิบัติงาน
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้านางสาววนิดา เชาวนกุล ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลแสลงพัน รหัส HS11-1 ประเภทบัณฑิตจบใหม่
ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมปฐมนิเทศออนไลน์รับฟังคำชี้แจงและข้อเสนอแนะ แนวทางในการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างประจำตำบล เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติหน้าที่ตามภาระที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่ที่ได้รับตามเงื่อนไขตลอดระยะเวลาการจ้างงาน และเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรตำบลและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน ได้มีการปรึกษาหารือการเสนอแนะคิดค้นการสร้างผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมเพื่อยกระดับสินค้า และได้มีการแต่งตั้งแอดมินประจำตำบลจากทีมผู้ปฏิบัติงาน นายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติหน้าที่แอดมินประจำตำบล และบันทึกกรอกข้อมูลแบบฟอร์ม C-01 ข้อเสนอโครงการกำหนดส่งเอกสารในระบบ และได้มีการนัดหมายทีมอาจารย์ประจำหลักสูตรตำบลและทีมผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมประชุมออนไซต์ลงพื้นที่ในตำบล เข้าร่วมประชุม ณ ศาลาประชารัฐ บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุม ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน ได้มีการฟังคำชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานจากอาจารย์ประจำหลักสูตรตำบล และแต่งตั้งให้ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่เลขานุการประจำตำบลแสลงพันเพื่อประสานงาน และบันทึกสรุปวาระการประชุมต่างๆ หลังจากเข้าร่วมการประชุมสรุปวาระการประชุมได้ดังนี้
1) แบ่งโซนรับผิดชอบหมู่บ้านในตำบลแสลงพัน 8 คน
นายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์ รับผิดชอบหมู่ 6,11,17
นางสาวอารียา วิลาศ รับผิดชอบ หมู่ 2,8
นางสาวเกศริน สุดไชย รับผิดชอบ หมู่ 9,10
นางสาววนิดา เชาวนกุล รับผิดชอบ หมู่ 3,15
นางศุภาณัน ริชาร์ดส รับผิดชอบ หมู่ 5,1
นางสาวธิดา คำหล้า รับผิดชอบ หมู่ 12,16
นางสาววรัญญา พิมพ์เชื้อ รับผิดชอบ หมู่ 7,14
นายอนุชา กำลังรัมย์ รับผิดชอบ หมู่ 4,13
2) สำรวจวัสดุพืชธรรมชาติสมุนไพรที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมสามารถนำมาดัดแปลงได้
3) รูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์เอกลักษณ์ของแสลงพัน การทำเทียนขี้ผึ้ง,ปราสาทผึ้ง
4) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (มอบหมายอนุชา)
5) ตำนานศาลปู่ตา ที่มาของแสลงพันเป็นมาอย่างไร
การเข้าร่วมประชุมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรตำบลและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน ณ ศาลาประชารัฐหมู่บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 ได้ข้อสรุปว่าจัดทำ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมโดยใช้ลายเถาแสลงพัน (ต้นไม้ประจำตำบลแสลงพัน) เพื่อสร้างเอกลักษณ์ต้นไม้หมายเมืองแรกตั้งหมู่บ้านจนกลายเป็นชื่อของตำบลแสลงพัน ส่วนผลิตภัณฑ์ที่สองคือ เทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุขภาพ ได้มีการพัฒนาเทียนขี้ผึ้งที่ใช้ตามประเพณีวัฒนธรรมการหล่อเทียนในชุมชน เป็นเทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุขภาพ หลังจากนั้นได้มีการตั้ง ชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์เป็น “๑๐๐๐ made 36”
จากการที่ได้ขออนุญาตลงพื้นที่สำรวจในชุมชน 17 หมู่บ้าน ตำบลแสลงพัน มีสมุนไพรจากวัสดุธรรมชาติหลากหลายชนิดเราสามารถนำสมุนไพรเหล่านั้นมาดัดแปลงแปรรูปสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ซึ่งสามารถนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์เทียนหอมอโรม่าได้ จากการได้สำรวจสมุนไพร ในชุมชนที่ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบสำรวจในชุมชน หมู่บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 หมู่บ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่ที่ 15 ที่ให้ความหอมในท้องถิ่นมีวัตถุดิบสมุนไพรดังนี้ ตะไคร้หอม ขิง ขมิ้นชัน ใบเตย มะกรูด ไพล กระดังงา ซึ่งสมุนไพรจากการกล่าวข้างต้นนี้สามารถให้ความหอมบรรเทาอาการและช่วยรักษาโรคได้ และสามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้โดยหลักๆ ส่วนสมุนไพรชนิดอื่นๆไว้ศึกษาเพิ่มเติมและนำไปแปรรูปต่อไป และได้มีการปรึกษาหารือร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงาน การจำลองสติ๊กเกอร์ชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์ไว้คร่าวๆ
ประชุมออนไลน์ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรตำบลและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบล
ผลิตภัณฑ์สินค้าตำบลแสลงพัน
ต้นไม้ต้นแสลงพัน
สมุนไพรธรรมชาตินำมาสกัดน้ำมันระเหย
การจำลองสติ๊กเกอร์แบรนด์ผลิตภัณฑ์
วีดีโอประจำเดือนกรกฏาคม