โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCGตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉันนางสาวศิริลักษณ์ ไชยสน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T For BCG เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้บัณฑิตและประชาชนผู้ว่างงานได้เข้ามาพัฒนาชุนชนบ้านเกิดของตนเอง ภายหลังจากเหตุการณ์โรคระบาดเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจรากฐานของประเทศ ทั้งนี้เพราะคำนึงถึงรากฐานของสังคมตั้งแต่ในระดับชุมชน จึงได้มีการเปิดรับสมัครคนที่ต้องการที่จะเข้าร่วมการพัฒนาครั้งนี้ ภายใต้การดูแลของ อว. โดยได้มีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศกว่า 90 แห่ง และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องร่วมทีมในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ด้วย
ดิฉันเป็นผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลหนองโบสถ์ โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นมหาวิทยาลัยผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน และดูแลการประสานงานต่างๆด้วยแรกเริ่มนั้นมีการเข้าปฐมนิเทศของทางกระทรวง อว. ซึ่งมีการอธิบายถึงการส่งผลงานต่างๆ และมีการกล่าวถึงกระบวนการแพลตฟอร์มต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน อีกทั้งมีการอบรมให้ความรู้ทางบทเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นบทเรียนที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจโดยเน้นให้มีการประยุกต์ทางนวัตกรรมเข้ามาช่วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจ BCG หลังจากการอบรมและทำสัญญาการจ้างงานแล้ว ทามหาวิทยาลัยได้มีการประชุม เพื่อชี้แจงผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลต่างๆ ในเรื่องระบบออนไลน์ที่ใช้ปฏิบัติงาน อย่างเช่น PBM และ MIS รวมถึงเร่งให้มีการส่งผลงานให้ทันเวลาที่ทางกระทรวงกำหนดโดยได้เน้นว่าต้องร่วมกันหาวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยต้องการให้ดึงอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ออกมาให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นในสภาวะที่ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ โดยเน้นว่าต้องอยู่ภายใต้ BCG เท่านั้นทั้งนี้หลังการประชุมร่วมกับทางมหาวิทยาลัยแล้ว ทางทีมตำบลหนองโบสถ์ก็ได้เริ่มมีการประชุมในทีมและลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมาได้มาการประชุมปรึกษาในทีมตำบลหนองโบสถ์ ณ ศาลาประชาคมบ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อเสริมสร้างรายได้และอาชีพให้กับชุมชน จุดประสงค์ในการประชุมคือเพื่อหาพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนและประโยชน์จากพืชปุ๋ยใบไม้ ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชนด้านพืชในท้องถิ่นที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยใบไม้ได้ ที่สวนป้าไว บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ พืชที่สามารถทำมาเป็นปุ๋ยใบไม้ได้มีมากมายหลายชนิด ได้แก่ ใบสะเดา ใบกล้ามปู ใบมะขาม ต้นยางนา เป็นต้น และได้เรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทำปุ๋ยใบไม้หมัก ส่วนปุ๋ยใบไม้นั้นสอดคล้องกับเศรษฐกิจชีวภาพ ที่เชื่อมโยงได้ทั้งเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพราะหากดูจากองค์ประกอบแล้ว ทั้ง3ระบบนี้สอดคล้องกันโดยมีนัยสำคัญ คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุและวัตถุดิบต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อการนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดมลภาวะที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการมุ่งแก้ปัญหามลพิษที่โลกเผชิญอยู่ในส่วนของปุ๋ยใบไม้เป็นเศรษฐกิจชีวภาพ เน้นการสร้างเศรษฐกิจบนฐานของการพัฒนาและนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรฐานชีวภาพ คือเป็นผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็น ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ที่มีมูลค่าสูง ก่อให้เกิดความก้าวหน้าและนวัตกรรมในมิติใหม่ๆ จากนั้นดิฉันได้เก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่นชุมชนบ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ ที่สามารถสร้างรายได้ในกับชุมชน ครอบครัว ผู้พักอาศัยในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ทำสวน ทำไร่ ทำนา และชาวบ้านบางกลุ่มได้ปลูกพืชที่สามารถนำมาแปรรูปและเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว ชุมชน ได้แก่ ต้นไหล ชาวบ้านชุมชนบ้านโคกพลวง มีการนำต้นไหล มาแปรรูปเป็นหมวก เพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นและทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม หมวกสานจากต้นไหลนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ากันได้กับเศรษฐกิจชีวภาพและเศรษฐกิจสีเขียว ส่งผลถึงการใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการลดต้นทุนของการผลิต สามารถนำมาต่อยอดสร้างคุณค่าเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและความขาดแคลนของระบบนิเวศอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ไปสำรวจ เพื่อจะใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจึงขอความร่วมมือจากผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านในหมู่บ้านที่นำทีมออกสำรวจข้อมูล ได้รับการร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้งานราบรื่นเสร็จภายในเวลา และเพื่อนร่วมทีมให้ความสามัคคีในกลุ่มช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาต่างๆให้ผ่านไปได้จนงานสำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมาย