หลักสูตร HS20-2: โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

ข้าพเจ้านางสาวชนิกา เหล็กเทศ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล TCD ร่วมกับทีมผู้ร่วมงานประจำตำบลหนองกระทิง HS20-2 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ซึ่งได้แบ่งคนในทีมให้ประจำแต่ละหมู่ของตำบลหนองกระทิง เพื่อความรวดเร็วในการเก็บข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนและแบ่งงานกันทำภายในทีมเป็นสัดส่วน และได้นำข้อเสนอแนะจากทางอาจารย์ประจำตำบลมาช่วยกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์นั้นคือ น้ำสมุนไพร และชาใบเตย,ชาใบหม่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ตรงตามหลักเศรษฐกิจ BCG การนำเอาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลประจำหมู่ 1 ตำบลหนองกระทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นหมู่ 1อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ต้นหม่อนเบอร์รี่ ต้นกล้วย ใบเตย ผักพื้นบ้าน และมากที่สุดคือข้าวที่ชาวเกษตรได้ทำเป็นอาชีพหลัก เพื่อความอยู่รอดหาเลี้ยงปากท้องของครอบครัว ชาวบ้านหมู่ 1 มีมั่นคงทางอาหาร มีทุกอย่างที่เพียงพอต่อการบริโภค และชาวบ้านในชุมชน     มีการหารายได้เสริมด้วยการทำสิ่งที่มีอยู่รอบตัวมาพัฒนาให้เกิดรายได้ภายในครัวเรือน ดังผลิตภัณฑ์ที่กล่าวไว้ข้างต้น การลงพื้นที่ในแต่ละครั้งทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้รวบรวมข้อมูลปัญหาต่างๆ นำไปวิเคราะห์และวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น

ผลสรุปจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร ปลูกข้าว บางบ้านก็ทำไร่นาสวนผสมมีการปลูกอ้อย เพื่อเพิ่มรายได้จากเดิมทำนาข้าวแค่เพียงอย่างเดียว อาหารพื้นถิ่นก็หาเก็บได้ง่ายๆทั้งตามที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง อาหารบางชนิดก็จะหากินได้แค่ตามฤดูกาลแต่ด้วยพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ทำให้ผักและสัตว์ที่หายากงอกงามเจริญเติบโตตามฤดูกาล เช่น หน่อไม้ เห็ด ผัดหวาน ดอกกระเจียว กุ้ง หอย ปูนา กบ อึ่ง ไข่มดแดง สัตว์ที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็น วัว ควาย ไก่ สามารถเลี้ยงไว้ขายได้

ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG

ภาพการลงพื้นที่