บทความประจำเดือน สิงหาคม 2565

กลุ่ม ID27-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่น ณ

บ้านสังเคิล หมู่ที่4 บ้านหนองแสง หมู่ที่5

บ้านละลมเวง หมู่ที่6 บ้านหนองจาน หมู่ที่12

ตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย

จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวพัชรากร ทองประดับ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย ทำงานภายใต้ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการการ เป้าหมายในพื้นที่ พื้นที่รับผิดชอบ รายละเอียดสินค้าและบริการ รายได้ต่อปีในปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ช่องทางการจัดจำหน่าย วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายการพัฒนาสินค้า เทคโนโลยีที่นำมาพัฒนา ระยะเวลาที่ใช้ งบประมาณที่ใช้ แบบฟอร์ม C-04  ผลการพัฒนาสินค้าและบริการ

ลักษณะของงานในพื้นที่

โดยแผนการดำเนินโครงการมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2  แบบ ในเดือนสิงหาคม คือ แบบฟอร์ม C-03และ C-04 ข้อมูลตามโครงการแผนการพัฒนาสินค้าและบริการ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์สร้างคุณค่าให้กับชุมชนพื่อกระตุ้นการค้าขายและเสริมสร้างรายได้สู่ชุมชนในพื้นที่ โดยวัตถุประสงค์จะเน้นเป้าหมายในพื้นที่ การพัฒนานำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่และคิดค้นสิ่งใหม่ๆเป็นรูปแบบสินค้าที่มีดั้งเดิมมาปรับเปลี่ยนออกแบบลายเสื่อกกให้ดูน่าสนใจให้มีมูลค่าสูงขึ้นนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและรวดเร็วนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มช่องทางทางการตลาดผ่านสื่อออนไลต่างๆ และการใช้ทรัพยากรที่มาจากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์ ตาม แบบฟอร์ม C-03 ข้อมูลรายละเอียดแผนการพัฒนาสินค้าและบริการ การจัดทำสินค้าสร้างสรรค์ที่มีอัตลักษณ์ของสินค้านั้นๆ

ผลการเก็บข้อมูลในชุมชน

เสื่อกกของหมู่บ้านหนองแสง ตำบลไพศาล ใช้ต้นกกที่หาได้จากธรรมชาติ ซึ่งกกจะเกิดเองตามคลอง บึง และสระน้ำในพื้นที่ แต่ต้นไหลจะได้ลายเส้นที่ละเอียดมากกว่าการทอด้วยกก และยังมีต้นไหลที่สามารถนำมาทอเป็นเสื่อกกได้เหมือนกัน แต่เนื่องด้วยต้นไหลหายากกว่ากก ต้นกกในหมู่บ้านบางก็ปลูกใช้เก็บเกี่ยวเอง ส่วนมากคนในชุมชนจึงนิยมทอด้วย กกมากกว่าไหล ถึงแม้การทอด้วย กกจะราคาต่ำกว่าไหลก็ตาม การทอแต่ละผืนจะใช้คนทอ 2 คน จะเร็วกว่าซึ่งการทอช่วยกัน2 คนจะประหยัดเวลาและได้เร็ว วันละ 3-4ผืน/วัน การทอคนเดียวจะช้ากว่าอาจจะได้1 ผืน/วัน  ราคาผืนละ 300 บาทต่อผืน ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำที่มาสั่งซื้อ

การทำข้าวหลามของหมู่บ้านพิณทอง ตำบลไพศาล มีอายุในการประกอบอาชีพนี้มาแล้วมากกว่า 40 ปี โดยตั้งร้านขายริมถนนหลักหมายเลข 24 ซึ่งเป็นสินค้าที่สร้างรายได้หลักให้กับคนชุมชนเลยก็ว่าได้ มีทั้งหมด 2 ไส้ด้วยกัน ไส้ถั่วดำ และมะพร้าวอ่อน และได้ใช้ไม้ไผ่เป็นบรรจุภัณฑ์ ราคาขายอยู่ที่ มัดละ 100 บาท วัตถุดิบในการทำข้าวหลามล้วนแล้วแต่ซื้อทั้งนั้นเนื่องจากในพื้นที่ไม่สามารถผลิตเองได้มากนัก จึงใช้ทุนในการทำสูงมาก ในอดีตนั้นข้าวหลามเป็นที่นิยม จึงทำให้ชาวบ้านมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และเนื่องในสถานการณ์โควิด ทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ และทำให้ชาวบ้านบางรายเลิกทำอาชีพนี้เลยก็ว่าได้ รวมถึงมีการทำข้าวหลามกันเกือบทั้งหมู่บ้าน ทำให้มีสินค้าเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนผู้บริโภคนั่นเอง

บทบาทและหน้าที่

ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนก่อนลงพื้นที่และขออนุญาติก่อนในการขอใช้สถานที่ทุกครั้งในการจัดประชุมหรืออบรมต่างๆของกลุ่มในชุมชน ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCDในท้องถิ่นตามที่ส่วนกลางกำหนด ลงพื้นที่ประสานงานนำทีมงานถ่ายวีดิโอและภาพนิ่งประจำเดือนสิงหาคม

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 4 หมู่บ้าน

ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก  ซึ่งประชากรในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาและทำไร่เป็นส่วนมาก แต่ยังมีสินค้าที่สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน เช่น  การทอผ้าไหม การทอเสื่อกก เครื่องจักสาน การเลี้ยงหม่อนเลี้ยงไหม แต่ยังมีสินค้า OTOP ที่สร้างรายได้เสริมให้กับชุมช  แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้านการจัดจำหน่ายสินค้ายังไม่มีช่องทางในการจัดจำหน่าย สินค้าบริการยังเป็นแบบเดิมยังไม่มีการพัฒนาให้มีความหลากหลายและน่าสนใจ

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคมนี้พบปัญหาอุปสรรคในการทำงานเป็นอย่างมาก มีพายุฝนตกในพื้นที่ทำให้การดำเนินงานชะงัก ไม่สะดวกในการเดินทาง พบชาวบ้านไม่อยู่บ้านบางส่วนออกไปทำไร่ทำสวน ซึ่งอยู่ในช่วงทำไร่ทำนา ส่งผลให้ทีมเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบตามต้องการ จึงมีแนวทางการแก้ปัญหาฝนตก คือ การตรวจเช็คสภาพอากาศ หรือการใช้พาหนะ เช่น ร่ม เสื้อกันฝน ก่อนลงพื้นที่จะต้องเตรียมพาหนะก่อนออกพื้นที่ทุกครั้ง และการติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์นัดกลุ่มก่อนลงเก็บข้อมูลและติดตามผลการทำงานของทั้งสองกลุ่ม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

1.ได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม และมีภาวะการเป็นผู้นำ

2.ได้เรียนรู้แนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเป็นอย่างดี

3.ได้รู้ถึงวิธีการติดต่อประสานงานทั้งในทีมและผู้นำชุมชนชาวบ้านในชุมชน

4.ได้รู้ถึงสินค้า OTOP ในชุมชน

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

ทีม ID27-2 มีแผนการดำเนินงานในเดือน สิงหาคม 2565 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19