ดิฉัน นางสาวสมส่วน เรืองศรีชาติ ประเภท ประชาชน ได้เข้าร่วม ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG and Regional Development) ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในโครงการ 3เดือนได้ลงพื้นที่ใน ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03(1)
ณ.วันที่31 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำตำบล หนองโบสถ์ ได้แจ้งขอตัวแทนผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมอบรม จัดประชุมออนไลน์เรื่องการใช้งาน TCDเบื้องต้น(ผ่าน โปรแกรม Microsoft Team) ซึ่งดิฉันได้เป็นตัวแทนของผู้ที่ปฏิบัติงานของตำบลหนองโบสถ์เข้าร่วมประชุมออนไลน์ในครั้งนี้ด้วย การอบรมในครั้งนี้เป็นการจัดอบรมประชุมออนไลน์เพื่อตอบปัญหาการใช้งาน TCDหรือPBM ในการลงเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลให้ผลที่ถูกต้อง
วันที่ 1 สิงหาคม2565 อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลหนองโบสถ์ได้ประชุมนัดหมายผู้ปฏิบัติงานผ่านออนไลน์ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ทีมที่ 1. ปุ๋ยหมักใบไม้ 2.ทีมหมวกสานจากต้นไหล โดยให้ศึกษาความเป็นมา,วัตถุดิบในการจัดทำ,กระบวนการในการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยนำเสนอาจารย์ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรม (Google meet)โดยให้แต่ละทีมไปศึกษาลงพื้นที่ สอบถามข้อมูลกับชุมชนและหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจำทำผลิตภัณฑ์
ซึ่งในแต่ละกลุ่มมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่มได้เรียบร้อยทั้งสองกลุ่มค่ะ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลทั้ง 2ท่านได้ให้คำแนะนำและสรุปประเด็นที่ต้องเพิ่มให้แต่ละกลุ่มไปค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาเสนอใวนครั้งต่อไปค่ะ
ประเด็นของกลุ่มหมวกที่ต้องเพิ่มเติม
-ค้นหาข้อมูลวัตถุดิบภายในชุมชนว่ามีหรือไม่
-แนวทางการป้องกันความชื้นจากเชื้อรา
-วัสดุที่นำมาตกแต่งเช่น ผ้าขาวม้า เศษผ้าในชุมชนมีหรือไม่
-การคำนวณต้นทุนของหมวกในการดัดแปลงมีค่าใช้จ่ายเท่าไร
ประเด็นของกลุ่มปุ๋ยที่ต้องเพิ่มเติม
-วัสดุที่จะนำมาใช้ในการทำปุ๋ยหมักสามารถหาได้ในชุมมชนหรือไม่
-สอบถามผู้ผลิตปุ๋ยต้องว่าการทำปุ๋ยหมักแบบกระสอบใหญ่สำหรับทำการเกษตรหรือต้องการแบบถุงเล็กเพื่อใส่พืชสวนหรือต้นไม้ประดับ
-ค้นคว้าสรรพคุณของใบไม้ที่จะนำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มเติมสรรพคุณของธาตุอาหาร
-คำนวณต้นทุนของปุ๋ยหมักรวมทั้งวัสดุที่ต้องใส่เพิ่มกับใบไม้
วันที่ 4 สิงหาคม 2565 ดิฉันได้ลงพื้นที่และได้ไปสำรวจวัสดุที่นำมาทำผลิต ผลิตภัณฑ์ว่ามีปริมาณเพียงพอหรือไม่ จากการลงสำรวจพื้นที่เพิ่มใบไม้ที่สวนป่าป้าไว มีปริมาณเพียงพอสำหรับการจัดทำผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักใบไม้ค่ะ
วันที่ 7 สิงหาคม 2565 อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลหนองโบสถ์นัดประชุมออนไลน์ในการนำเสนองานของแต่ละกลุ่มที่ได้ให้ไปค้นคว้าหาข้อมูลและประเด็นเพิ่มเติมของทั้งสองกลุ่ม ได้นำเสนอเรียบร้อยค่ะ โดยนำเสนอผ่าน google meet
วันที่ 12 สิงหาคม 2565 ลงฟื้นที่ทำปุ๋ยหมักใบไม้ ทีมผู้ปฏิบัติงานพร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลหนองโบสถ์ ผู้นำชุมชนและชุมชนในหมู่บ้านโคกพลวง ได้ร่วมกันลงมือปฏิบัติงานในพื้นที่ สวนป่าป้าไว ในการทำผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักใบไม้
ทุกคนร่วมแรงร่วมใจสามัคคี ในการลงมือปฏิบัติงานในครั้งนี้อย่างเต็มที่ และการลงมือทำก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี “สามัคคี คือพลัง”
จะเห็นว่าใบไม้แห้งที่มีอยู่เต็มไร่ เต็มบ้าน หรือเต็มสวน แทนที่จะเก็บกวาดทิ้ง หรือเผาทำลายสร้างฝุ่นควัน มลภาวะ สามารถนำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักคุณภาพดี นำไปบำรุงเป็นสารอาหารที่ดีให้แก่พืชชนิดอื่น ๆ ที่เราปลูกได้ประโยชน์อีกมากมาย
วันที่ 13 สิงหาคม 2565 ลงพื้นที่ย้อมสีธรรมชาติต้นไหล
ผู้ปฏิบัติงาน,คณะอาจารย์,ผู้นำหมู่บ้านและชุมชนได้ร่วมกันลงมือปฏิบัติงานในพื้นที่ บ้านโคกพลวง ทำการย้อมสีต้นไหล จากสีธรรมชาติ ได้แก่ แก่นมะหาด,แก่นขนุน,เหง้ากล้วย,ใบขี้เหล็ก,ต้นฝาง โดยได้มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเคมี มาสอนและให้ความรู้เกี่ยวกับชการย้อมสีธรรมชาติในครั้งนี้ด้วยค่ะ
ขั้นตอนการย้อมสีต้นไหลด้วยสีจากธรรมชาติ
– ขั้นตอนการย้อมสีชมพู ด้วยแก่นฝาง
1. เตรียมน้ำอุ่นและน้ำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ด
2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 500 กรัม จากนั้นปรับสภาพให้เป็นด่าง
ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบ็คกิ้งโซดาหรือผงฟู) 4 ช้อนโต๊ะ
3. นำต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ (60-70 องศา)
เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
4. เตรียมสารละลายแทนนิน (ใช้กาแฟ) ในน้ำร้อน นำต้นไหลในข้อ 3 ลงแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
5. เตรียมสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด เหมือนข้อ 2 (อีกหม้อ)
6. นำต้นไหลในข้อ 4 ลงแช่อีก 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
7. ต้มแก่นฝาง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สี่ธรรมชาติออก
8. นำน้ำสีฝางต้มให้เดือด (70 ( เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 6 ลงต้มเป็นเวลา 1ชั่วโมง (ถ้าต้องการ
เพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลงไป 1ช้อนโต๊ะ)
9. นำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง
อ้างอิง
http://u2t.bru.ac.th/idtech/8-julepon/
ขั้นตอนการย้อมสีเหลืองน้ำตาล ด้วยเหง้ากล้วย แก่นขนุน เปลือกมะหาด
1. เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพ
ให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ
3. นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ
(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำเส้นกกขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
4. ต้มพืชให้เกิดสี เช่น แก่นขนุน 8 กก. เหง้ากล้วย 10 กก. เปลือกมะหาด 8 กก. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตัก
กากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
5. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม
เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลง
ไป 1 ช้อนโต๊ะ หรือแช่น้ำโคลน
6. น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง
อ้างอิง http://u2t.bru.ac.th/management/10-wachiraporn/
ขั้นตอนการย้อมสีเขียวขี้ม้า ด้วยใบขี้เหล็ก
1. เตรียมน้ำอุ่นและนำต้นไหลแห้งลงแช่ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพ
ให้เป็นด่าง ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู) 3 ข้อนโต๊ะ
3. นำเต้นไหลตามข้อที่ 1 ลงแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ
(70 องศา c) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง แล้วนำต้นไหลขึ้นมาพึ่งให้สะเด็ดน้ำ
4. ต้มใบขี้เหล็กให้เกิดสี เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
5. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 c) เติมเกลือ 3 ถุงเล็ก (60 กรัม) นำต้นไหล ในข้อ 3 ลงต้ม
เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่างเติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะ ถ้าต้องการสีเข้ม เติมจุนสีลงไป 1 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำต้นไหลขึ้นมาตากให้แห้ง
ชาวบ้านในชุมชนบ้านโคกพลวง มีความสนใจ อยากเรียนรู้การย้อมสีต้นไหลในครั้งนี้และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ เป็นอย่างดีค่ะ
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้
1.ได้เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกันเป็นทีม
2.ได้ศึกษาข้อมูลพื้นที่ของตำบล
3.ได้เรียนรู้ถึงการพัฒนาและต่อยอดเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน
4.ได้เรียนรู้ถึงการมีทักษะกระบวนการทำงานผ่านระบบออนไลน์
5.การได้ลงมือ และปฏิบัติงานจริง
6.การพัฒนาบรรจุภัณฑ์
การวางแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชน รวมถึงการจัดทำออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย เป็นเอกลักษณ์และคำนึงถึงต้นทุนที่มามารถหาได้ในแหล่งชุมชน นอกจากนี้ยังมีวิธีการทำงานให้มีความรวดเร็วและบรรลุผลอีกทั้งยังหาแหล่งตลาดที่ได้กระจายสินค้าให้กับชุมชน
แผนการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือน กันยายน คณะทีมงานผู้ปฏิบัติงาน ต.หนองโบสถ์ มีแผนการดังนี้
1.ประชุมวางแผนการจัดทำ ผลิตภัณฑ์ การทำหมวก , การทำปุ๋ยหมักใบไม้
2.ทำเพจสื่อสารออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายข่าวสารและขายสินค้าของตำบล
3.ผลิตภัณฑ์ต้องสำเร็จพร้อมจำหน่ายออกสู่ตลาด
4.จัดอบรมเรื่องการสร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชน
5.รายงานฉบับสมบูรณ์ ตามแบบฟอร์ม C05 C06ให้เสร็จเรียบร้อย