บทความ

ชื่อผู้ปฏิบัติงาน นายกิตติพงษ์  พึ่งแดง ประเภท บัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร AG14-2 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ตำบลสองห้อง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

รายงานผลการปฏิบัติงาน เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565

 โครงการ U2T for BCG ตำบลสองห้อง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  AG14-2

       ด้วยความที่ภายในชุมชน ตำบลสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวิถีชีวิตอยู่คู่กับการเกษตรมาอย่างยาวนาน แม้ในปัจจุบันจะมีความทันสมัยใด ๆ เข้ามาแต่บรรดาสัตว์เศรษฐกิจทั้งหลายก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยง รวมถึงสร้างระบบเศรษฐกิจให้มีความแข็งแกร่งด้วย ซึ่งหากว่ากันตามตรงสัตว์ในเชิงเศรษฐกิจของบ้านเราก็มีตัวเลือกอยู่เยอะพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศก็ตาม

อย่างที่กล่าวเอาไว้ในเบื้องต้นว่าความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจหลัก ๆ แล้วคือการสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงรวมถึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตขึ้นได้ ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจัดว่ามีความอุดมสมบูรณ์จึงสามารถเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเหล่านี้ได้อย่างสบาย

สัตว์เศรษฐกิจ หมายถึง บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งตามธรรมชาติและถูกมนุษย์เลี้ยงดู ซึ่งปริมาณของสัตว์เหล่านี้มีจำนวนเยอะจนมีการนำเอามาสร้างรายได้ให้กับตนเองและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้น ปกติแล้วในทุก ๆ ประเทศเองก็จะมีสัตว์เศรษฐกิจที่ใช้บริโภคทั้งในประเทศและส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

จากการกล่าวถึงทั้งเรื่องความสำคัญ และสัตว์เศรษฐกิจ หมายถึงอะไร คราวนี้ก็มาพูดกันถึงเรื่องของประเภทสัตว์เหล่านี้ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนภายในตำบลสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดบุรรัมย์ มาอย่างยาวนาน

2.กลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้อง

สัตว์กลุ่มแรกเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีที่สุดหากพูดถึงสัตว์เศรษฐกิจ เพราะลักษณะที่เด่นชัดของพวกมันคือจะเน้นการกินหญ้าและทำปากเคี้ยวสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา โดยกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้องนี้มีหลายชนิด เช่น วัว ควาย เป็นต้น

 

2.กลุ่มสัตว์กระเพาะเดียว

ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากนำส่วนต่าง ๆ ของพวกมันมาใช้งานเพื่อสร้างรายได้ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งสัตว์กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องแยกประเภทให้เสียเวลา เพราะจริง ๆ แล้วก็คือ สุกร หรือ หมู ที่ทุกคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี

3.กลุ่มสัตว์ปีก

ส่วนใหญ่แล้วสัตว์กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงและสามารถเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน  เนื่องจากได้รับความนิยมในการนำไปบริโภคแล้วสามารถเลี้ยงง่ายและทนท้านต่อโรค เช่น ไก่ เป็ด ห่าน

 

4.กลุ่มสัตว์น้ำ

ปิดท้ายกันด้วยสัตว์เศรษฐกิจที่ต้องอาศัยน้ำในการเลี้ยงดู ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์น้ำจืด เช่น ปลานิล, ปลาดุก, ปลาสลิด, ปลาสวาย, ปลาช่อน, ปลาตะเพียนขาว, รวมถึงกบ ก็จัดเป็นกลุ่มสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้พอสมควร