ข้าพเจ้านายณรงค์เดช ด่านทิม ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลประเภทบัณฑิตจบใหม่ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ (U2T for BCG ) ประจำตำบลหนองกะทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ประวัติความเป็นมา
ตำบลหนองกะทิง เป้นตำบลที่เก่าแก่ที่ตั้งมาพร้อมกับอำเภแลำปลายมาศ สมัยที่ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอใน พ.ศ.2479 ด้านหนึ่งของตำบลแบ่งขึ้นกับอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา และอีกด้านหนึ่งขึ้นกับอำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ เดิมเป็นพื้นที่ใหญ่ปัจจุบันแบ่งเป็น 4 ตำบลคือตำบลผไทรินทร์ ตำบลไทยสามัคคี ตำบลห้วยหิน และตำบล สระแก้ว สำหรับสามตำบลหลังได้แบ่งเป็นอำเภอหนองหงส์ คำว่าหนองกะทิง มาจากสมัยก่อนในพื้นที่เป็นแหล่งที่มีกะทิงเป็นจำนวนมาก บรรพบุรุษเป็นชาวไทยโคราชและไทยอีสาน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลหนองกะทิงมีเนื้อที่ 54.75 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 34,218.75 ไร่ มีหมู่บ้านทั้งหมด 11 หมู่บ้าน สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำเกษตร มีลำห้วยไหล่ผ่านบริเวณกลางตำบลเรียกว่าห้วยตะโหนดแต่มีสภาพตื้นเขิน ปัจจุบันขุดลอกคลองเป็นบางส่วน
การแบ่งเขตการปกครอง
ตำบลหนองกะทิง มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านหนองกะทิง
หมู่ที่ 2 บ้านหนองเมืองต่ำ
หมู่ที่ 3หนองซอแซ
หมู่ที่ 4หนองผะองค์
หมู่ที่ 5 โนนแดง
หมู่ที่ 6 หนองปลาไหล
หมู่ที่ 7 หนองบัว
หมู่ที่ 8 สระแร่
หมู่ที่ 9 หนองผะองค์น้อย
หมู่ที่ 10 หนองปลาไหลน้อย
หมู่ที่ 11 หนองกะทิงพัฒนา
ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ประจำตำบลหนองกะทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ลงพื้นที่ของผู้ปฏิบัติงานโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล(U2T for BCG)ประจำตำบลหนองกะทิง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำการลงพื้นที่เพื่อหาขัอมูล TCD (Thailand Community Data) เพื่อลงข้อมูลในระบบคีย์ข้อมูล PBM เป็นการวางแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจบีซีจีให้สอดคล้องกับเขตระบบเศรษฐกิจที่ได้กำหนดไว้ โดยอาศัยกลไกของพื้นที่และสถาบันอุดมศึกษาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศในการร่วมขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละหมู่บ้านภายในตำบลเพื่อศึกษายุทธศาสตร์กลไกเศรษฐกิจของชุมชน อาจารย์ประจำตำบล ส่งตัวแทนลงพื้นที่เก็บวัตถุดิบเพื่อนำไปให้วิทยากรทดลองสูตร ผู้ปฏิบัติทำการการออกแบบโลโก้แพคเกจผลิตภัณฑ์กลุ่มสมุนไพรหมู่บ้านหนองกะทิง
สรุป ตำบลหนองกะทิง มีหมู่บ้านทั้งหมด 11 หมู่บ้าน โดยมีพื้นที่ 54.75 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 34,218.75 ไร่ โดยมีลำห้วยตัดผ่านกลางตำบล ผู้ปฎิบัติงานส่งตัวแทนในการเก็บวัตถุดิบเพื่อให้วิทยากรทดลองสูตรผลิตภัณฑ์ กลุ่มน้ำสมุนไพรหมู่บ้านหนองกะทิง