ข้าพเจ้านายอรรถกร จันทร์นวล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ED03-1
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะครุศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG จะเป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่
วัตถุประสงค์โครงการ U2T BCG
โครงการ U2T BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการว่างงานอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือการจ้างงานบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ ในชุมชนต่าง ๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ
เดือนกรกฎาคมพวกเราทีมงาน U2T for BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์วางแผนการทำงานกับทางคณาจารย์ประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับแนวทางการปฎิบัติงานและการดำเนินงาน เดือนนี้ได้ทำการสรุปแนวทางการปฎิบัติ การดำเนินการทำแบบฟอร์ม c-01 เพื่อเสนอโครงการและทำแบบฟอร์ม c-02 เกี่ยวกับแผนธุรกิจในการดำเนินงาน ได้มีการนำเสนอโครงการ Hackathon เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวภูเขาไฟไปรบัดเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวตัง โดยทำแบบ Power Point เสนอทางอาจารย์ประจำตำบลเพื่อคัดเลือกตัวแทน และมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในชุมชนให้ได้มาตรฐาน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายและข้าวภูเขาไฟไปรบัด มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่า สร้างความโดดเด่น ให้กับผลิตภัณฑ์ในชุมชน มีการนำเทคโนโยลีที่ทันสมัยเข้ามาในการแปรรูป อีกทั้งยังได้เข้าร่วมอบรมบทเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้สมาชิก U2T หัวข้อหลัก ๆ ในการอบรมมีดังนี้ M-01 แนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG M-02 คิดเชิงออกแบบ (Design thinking) M-03 โมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas) M-04 เร่งการเติบโต (Growth HackingXb)
จากการประชุมในเดือนกรกฎาคม มีการคิดหาผลิตภัณฑ์ใหม่ในชุมชนเพื่อพัฒนาต่อยอด มี 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายและผลิตภัณฑ์ข้าวภูเขาไฟไปรบัด
- ผลิตภัณฑ์ฝ้าฝ้ายมีการแปปรูปเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า ผ้ากันเปื้อนเด็ก ได้มีการออกแบบลายให้เป็นเอกลักษณ์ของยายแย้มวัฒนา มีจุดเด่นเฉพาะตัว มีสีสันสวยงาม และทอด้วยมือแบบโบราณย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ
- ผลิตภัณฑ์ข้าวภูเขาไฟไปรบัด มีการนำเรื่องราวของข้าวภูเขาไฟ มาสร้างมูลค่า คุณค่าให้กับข้าว ดึงความโดดเด่นของดินภูเขาไฟที่ใช้ปลูกข้าว มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่คือ ข้าวตังหน้าหมูหยอง ซึ่งมีการต่อยอดมาจากรอบแรกคือ การทำข้าวแต๋นภูเขาไฟไปรบัด