ข้าพเจ้า นายฉัตรชาย แสงไธสง ผู้ปฏิบัติงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG) ประเภทบัณฑิต พื้นที่ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจวัตถุดิบในการดำเนินโครงการ ในหมู่ที่ 18 ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าได้สัมภาษณ์นางสุวรรณ กองไธสง เกษตรกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ถึงการผลิตเส้นไหมที่ได้จากตัวหนอนไหม และได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงตัวหนอนไหมจนถึงขั้นตอนผลิตเส้นไหม ดังนี้

1. ต้มน้ำให้ร้อนประมาณ 70-80 C แล้วใส่รังไหมลงไปประมาณ 40-50รังเพื่อให้ความร้อนจากน้ำช่วยละลาย Serricin (โปรตีน) ที่ยึดเส้นไหม

2. ใช้ไม่พายเล็กแกว่งตรงกลางเป็นแฉกคนรังไหมกดรังไหมให้จมน้ำเสียก่อน

3. เมื่อรังไหมลอยขึ้นจึงค่อยๆตะล่อมให้รวมกันแล้วต่อยๆดึงเส้นใยไหมออกมาจะได้เส้นใยไหมซึ่งมีขนาดเล็กมากรวมเส้นใยไหมหลายๆเส้นรวมกัน

4. ดึงเส้นไหม โดยให้เส้นไหมลอดออกมาตามแฉกไม้ ซึ่งจะทำให้ได้เส้นไหมที่สม่ำเสมอและรังไหมไม่ไต่ตามมากับเส้นไหม เส้นไหมที่สาวได้ จะผ่านไม้หีบขึ้นไปร้อยกันรอกที่แขวนหรือ พวงสาวที่ยึดติดกับปากหม้อ แล้วดึงเส้นไหมใส่กระบุง

5. คอยเติมรังไหมใหม่ลงไปในหม้อต้มเป็นระยะๆ

6. รังไหมจะถูกสาวจนหมดรังเหลือดักแด้จมลงก้นหม้อแล้วจึงตักดักแด้ออก

สรุป
การลงพื้นที่สำรวจทรัพยากรชุมชนตำบลบ้านยางได้มีแนวทางในการที่นำผลิตภัณฑ์เด่นของตำบลมายกระดับเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าและยังนำเอา BCG เข้ามาช่วยในการยกระดับผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ก็คือ “ผ้าไหมและรังไหม” โดยจะเปลี่ยนการย้อมผ้าไหมแบบใช้สารเคมีมาเป็นการย้อมผ้าไหมแบบสีธรรมชาติ