พิธีกรรมบังสกุลชาวไทยพุทธมักจัดทำในช่วงเข้าพรรษา สงกรานต์ ปีใหม่ เป็นต้น
ณ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ซึ่งเป็นวันอาสาฬหบูชา วันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาเป็นครั้งแรกและเกิดมีสาวกรูปแรกขึ้น ถือเป็นที่มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย ซึ่งในวันอาสาฬหบูชาปีนี้ตรงกับวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 )ชาวบ้านในหมู่บ้านศรีถาวรและหมู่บ้านระแวกใกล้เคียงได้มาร่วมทำบุญร่วมกัน ณ วัดป่าบ้านศรีถาวร ชาวบ้านในชุมชน ในแต่ละครัวเรือนได้มีการนำข้าวหุงใหม่และกับข้าวไปวัดในช่วงเช้ามีการตักบาตรและนำอาหารแยกไปใส่ไว้ในถาดเพื่อทำการถวายภัคตาหาร พร้อมกับการทอดผ้าบังสกุล
โดยวิธีการทอดผ้าบังสกุลของชาวบ้านในแต่ละครอบครัวจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แด่บรรพบุรุษหรือบุคลในครัวเรือนที่ล่วงลับไปแล้วโดยการ(จดชื่อนามสกุล)พร้อมจำนวนเงินพร้อมกับกรวดน้ำพร้อมเรียกชื่อผู้ที่ล่วงลับของในแต่ละครัวเรือนได้อุทิศใหผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและนำไปทำพีธีสวดบังสกุลและนำไปเผาให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้รับส่วนบุญส่วนกุศลเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีกรรมทางศาสนาของชาวบ้านบ้านศรีถาวร
นอกจากการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผุ้ล่วงลับไปแล้วในช่วงเย็นก็จะมีเวียนเทียนรอบโบสถ์ก่อนการเวียนเทียนจะต้องกล่าวคำสวดมนต์ก่อนแล้วจึงทำการเวียนเทียนรอบโบสถ์สามรอบแล้วจึงนำดอกไม้ธูปเทียนไปวางไว้ตามจุดที่ทางวัดทำไว้ การเวียนเทียนเป็นการเคารพบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลายและส่งผลให้จิตใจเราเกิดความสงบ มีสมาธิและหลุดพ้นจากความเศร้าหมองทั้งหลายได้
การทำพิธีกรรมบังสกุล(อุทิศส่วนกุศล)ของชุมชนบ้านศรีถาวรนั้นได้ทำมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษโดยมีการสืบทอดพิธีกรรมเป็นรุ่นสู่รุ่นเป็นพิธีกรรมทางศาสนาของชาวชุมชนบ้านศรีถาวรมาอย่างช้านาน