โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” บทความรายงานปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฏาคม โครงการ U2T for BCG เป็นโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG ข้าพเจ้านาย
ภานุวัฒน์ หาระโคตร เป็นผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ได้รับหน้าที่เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาตำบลร่อนทอง ประวัติความเป็นมาของข้าวเกรียบหรือเรียกว่ากือโป๊ะ
กือโป๊ะ” ถือเป็นอาหารขบเคี้ยวอย่างหนึ่งที่ชาว จ.นราธิวาส นิยมบริโภคเป็นอาหารว่างประจำวัน ทั้งยังเป็นสินค้าประเภทของฝากชนิดหนึ่งที่เลื่องชื่อสำหรับชาวบ้านที่นิยมซื้อไปฝากเครือญาติที่ไปทำงาน หรืออาศัยอยู่ในต่างภูมิภาค กือโป๊ะ เป็นคำนามในภาษายาวี หรือภาษาท้องถิ่นที่ใช้สื่อความหมายถึง “ข้าวเกรียบ” ในภาคภาษาไทย ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค จนมีผู้ผลิตขึ้นมาทอดขายกันริมฟุตบาทบนถนนแทบจะทุกสายในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส คล้ายกับส้มตำที่มีขายกันเกลื่อนเมืองในภาคอีสาน
กือโป๊ะ คือ อาหารขบเคี้ยวชนิดแผ่นบางทอดกรอบจิ้มด้วยน้ำจิ้มมีรสเผ็ดอมหวานเหมือนน้ำจิ้มไก่ย่าง อุดมไปด้วยแคลเซี่ยมและโปรตีน ที่เหมาะสมทางด้านโภชการสำหรับผู้บริโภคทุกวัย เพราะมี แป้งมัน และแป้งสาคู เป็นส่วนผสมหลักในกระบวนการผลิต โดยขั้นแรก นำน้ำพริกนรกแม่มด ผสม แป้งมัน แป้งสาคู และเกลือ นวดคลุกเคล้าให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน เสร็จแล้วจึงปั้นเป็นแท่งทรงกลมขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ยาว 1 ฟุต และนำมาต้มในน้ำเดือดจนสุก แล้วนำขึ้นมาผึ่งลมจนแห้งและแช่เย็นเพื่อให้แท่งข้าวเกรียบแข็งตัวง่ายต่อการนำเข้าเครื่องหั่นเป็นแผ่นบางๆ เสร็จแล้วนำไปทอดในกระทะน้ำมันเดือดจนกรอบ และบรรจุถุงออกวางขาย
ปัจจุบันผู้ปฏิบัติงานตำบลร่อนทองได้คิดค้นสูตรขึ้นมาเองโดยมีน้ำพริกลดโซเดียมเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีอยู่แล้วในตำบลเป็นโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง
โควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCGได้มีการเพิ่มสิ้นค้าให้กับชุมชนให้มีความหลากหลายและส่งเสริมผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการ BCG และนำออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบ