ผู้เขียนบทความ

นางสาวพิชญ์ฌานันย์  ประยงค์

ข้าพเจ้านางสาวพิชญ์ฌานันย์  ประยงค์  ประเภท ประชาชน HS13-2 ตำบลทรัพย์พระยา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้ปฎิบัติหน้าที่เพื่อเก็บข้อมูลในการลงพื้นที่ ในตำบลทรัพย์พระยา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำผลิตภัณฑ์ เพื่อนำมาพัฒนาและต่อยอด   ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่อบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวฮาง ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์พระยา โดยมี วิทยากรข้าวฮาง อาจารย์ดนัย สุริยะวงศรี อาจารย์เกษียณชำนาญการ ตำบลหนองโสน ในการอบรมครั้งนี้ ทางข้าพเจ้าได้กลุ่มข้าวฮาง และชาวบ้าน ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ฟังวิทยากรบรรยาย สารอาหาร คุณประโยชน์ ขั้นตอนการทำข้าวฮางอย่างละเอียด

ข้าวฮาง  คือการนำข้าวเปลือกมาแช่น้ำและนำข้าวเปลือกไปนึ่งก่อนที่จะนำมาสีเป็นข้าวกล้อง  ข้าวฮางทำได้ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว

ดังนั้นการสีข้าวฮางเป็นการเอาเปลือกหรือเอาแกลบออกโดยที่จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดไม่แตกหักไปไหน เส้นใยและโปรตีนที่มีคุณค่าจึงอยู่ในเมล็ดครบเนื่องจากการนึ่งข้าวให้สุก เมล็ดข้าวจะเหนียวไม่มีเมล็ดแตกร้าว  เมื่อนำไปสีจึงทำให้ข้าวฮางมีสีเหลือง

ชนิด/ประเภทของข้าวฮาง  3  ชนิด  คือ

  1. ข้าวฮางระยะน้ำนม
  2. ข้าวฮางที่นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ 24  ชั่วโมง  แล้วนำไปนึ่ง
  3. ข้าวฮางที่นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ  24  ชั่วโมงนำมาบ่ม  48  ชั่วโมง  แล้วนำไปนึ่ง  หรือเรียก ข้าวฮางงอก

ข้าวฮางและข้าวฮางงอกดีอย่างไร

การนำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ  เพื่อกระตุ้นให้เกิดการงอก  ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในเมล็ดข้าว  โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของปริมาณสาร “ กาบ้า”  GABA(Gamma Amino Butyric Acid) ในเมล็ดมากเป็น  10  เท่า  ของข้าวสาร   และเกิดสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  เช่น  แกมมาออริซานอล  วิตามินอี   สารฟีโนลิค   ไลซีน  และสาร  “กาบา”  (Gamma  aminobutyric  acid)  เป็นสารอะมิโนชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการการงอกของเมล็ด  สารกาบ้าที่อยู่ในเมล็ดข้าวจะเพิ่มขึ้นเมื่อข้าวงอกและจะเพิ่มถึง  15  เท่าเมื่อข้าวงอกมีอายุ  1-2  วัน หลังจากนั้นสารกาบ้าก็จะลดลงเรื่อยๆนอกจากสารกาบ้าที่มีในข้าวฮางแล้ว  ข้าวฮางยังมีสารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลายชนิด เช่น โปรตีนในข้าวฮาง  มี 6 -12 ธาตุแมงกานีส  ช่วยต้านอนุมูลอิสระวิตามินช่วยเผาผลาญพลังงานได้อย่างหมดทำให้ไม่อ้วนแร่ธาตุไนอะซีน ช่วยให้ผิวหนังยืดหยุ่น (ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาว) และระบบประสาทไวเส้นใยสูงกว่าข้าวขาวอย่างน้อย  3-8  เท่า มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่ายช่วยป้องกันโรคเบาหวาน  ตับอ่อนจะมีการผลิตอินซูลีนในระดับที่สมดุลระหว่างการกินกับการใช้น้ำตาลของร่างกาย การกินข้าวฮางจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในข้าวฮางยังมีวิตามิน อี แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  เหล็ก ซีเลเนียม  ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน  ธาตุเหล็กสร้างเม็ดเลือดแดงป้องกันโลหิตจาง ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะมีมากกว่าข้าวขาว

“ เห็นประโยชน์ของข้าวฮางมากขนาดนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะเปลี่ยนมากินข้าวฮาง  เพื่อสุขภาพ  อนามัยที่แข็งแรง ”

ข้าวฮางข้าวทุกพันธุ์สามารถนำมาทำข้าวฮางได้ แต่คนอีสานนิยมนำข้าวหอมมะลิ  105  และข้าวเหนียว  กข 6   มาทำข้าวฮาง  เนื่องจากปลูกเป็นประจำและข้าวหอมมะลิ  จะมีกลิ่นหอม  เหนียวนุ่มน่ารับประทานและถ้าใส่สมุนไพรลงไปอีกยิ่งเพิ่มคุณค่าของข้าวฮางให้น่ารับประทานข้าวฮางที่ดีมีข้อสังเกตดังนี้

  1. จมูกข้าวอยู่เต็มเมล็ด ไม่มีรอยแหว่งตรงปลายเมล็ด ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่มีประโยชน์
  2. สีของเมล็ดข้าวเป็นสีน้ำตาลทอง อาจมีสีเข้มหรือจางกว่านี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวแสดงว่าเส้นใยอาหารยังไม่ถูกขัดสีออก
  3. ไม่มีข้าวพันธุ์อื่นหรือสิ่งเจือปน สะอาด
  4. เป็นข้าวที่อบหรือตากจนแห้งสนิม
  5. ไม่มีกลิ่นอับชื้นขึ้นราหรือมีมอด
  6. บรรจุในภาชนะหรือถุงที่สะอาดปิดสนิท ระบุสถานที่ผลิตและราคาขาย
  7. การซื้อมาบริโภคควรซื้อมาในปริมาณที่บริโภคหมดภายใน 2- 3  สัปดาห์
  8. เมื่อเปิดภาชนะหรือถุงใช้แล้วควรปิดฝาให้สนิทและควรเก็บในที่แห้งสนิทสะอาด

วิธีการทำข้าวฮาง

  1. นำข้าวเปลือกที่จะผลิตข้าวฮางลงแช่น้ำในภานะ ให้น้ำท่วมข้าว แช่ไว้  12   ชั่วโมง
  2. นำข้าวที่แช่ครบ 12   ชั่วโมง  นึ่ง  ( อาจใส่สมุนไพรหรือใบเตยด้วย)  ระหว่างนึ่งถ้าข้าวแห้งให้พรมน้ำ  2-3 ครั้ง  เมื่อเมล็ดข้าวแตก  แสดงว่าข้าวสุกแล้ว
  3. นำข้าวที่สุกตากแดด หรือผึ่งลม  ควรหมั่นกลับข้าวเพื่อให้ข้าวแห้งสม่ำเสมอ4.   นำข้าวที่แห้งสนิทดีแล้วไปสีเป็นข้าวกล้อง

การเก็บรักษาข้าวฮาง

  1. เก็บในภาชนะที่สะอาดและแห้งมีฝาปิดมิดชิด
  2. เก็บบรรจุแบบถุงธรรมดา
  3. เก็บบรรจุถุงแบบสุญญากาศ จะเก็บได้นานประมาณ 1 ปี