ข้าพเจ้า นางสาวณัฐพร จันทร์เพ็ง ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลกลันทา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG

หลังจากการสำรวจพื้นที่ในตำบลกลันทา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และการปรึกษาหารือของสมาชิกในกลุ่มคณะผู้ปฏิบัติงานร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ทำให้คณะผู้ปฏิบัติงานได้ผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาพัฒนาต่อยอด และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลกลันทาคือ 1. หมอนสมุนไพร มีชื่อแบรนด์ว่า กลันเตียร์ เป็นภาษาเขมรมีความหมายว่า กลันทา ซึ่งเป็นชื่อของชุมชนตำบลกลันทาที่ผลิตหมอนสมุนไพรนั้นเอง โดยหมอนสมุนไพรเป็นการเพิ่มมูลค่าของผ้าทอและสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน  2. เค คลีน (K-Clean) น้ำยาล้างจานสมุนไพรที่มีส่วนผสมจากมะกรูดสด มะกรูดหมัก และสครับสมุนไพรขัดผิวจากมะขามเปียกกับขมิ้นสด เป็นการนำวัตถุดิบสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาส่งเสริมอาชีพในการสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้กับครัวเรือนที่สนใจในตำบลกลันทา และเป็นการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรที่นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ในรูปแบบ BCG

           

         

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาชุดผลิตภัณฑ์จากมะกรูด การด้วยแบรนด์ และบรรจุภัณฑ์” จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน และสนับสนุนการทำสครับสมุนไพรผิวจากมะขามเปียกกับขมิ้นสด เพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ซึ่งในวันที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการนั้นได้รับความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างมากของกลุ่มแปรรูปน้ำยาอเนกประสงค์ บ้านโคกกลาง หมู่ที่ 8  บรรยากาศในการอบรมเป็นไปอย่างราบรื่น สมาชิกในกลุ่มกลุ่มแปรรูปน้ำยาอเนกประสงค์มีความตั้งใจฟังวิทยากรบรรยายเป็นอย่างมาก และนำสิ่งที่วิทยากรแนะนำไปปรับใช้กับผลิตภัณฑ์สินค้าของกลุ่มตนเองให้มีคุณภาพ มาตรฐานเพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วทางคณะผู้ปฏิบัติงานได้นำฉลากสินค้าที่ออกแบบให้มีความสวยงาม ทันสมัย เป็นที่น่าสนใจ สั่งพิมพ์ออกมาในรูปแบบสติ๊กเกอร์กันน้ำ กับบรรจุภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เช่น บรรจุภัณฑ์แบบขวดปั๊ม บรรจุภัณฑ์แบบถุงเติม ไปนำเสนอกลุ่มแปรรูปน้ำยาอเนกประสงค์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากสมาชิกกลุ่มเป็นอย่างดี และตกลงที่จะใช้ฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ทางคณะผู้ปฏิบัติงานออกแบบนำไปเสนอ

         

         

ต่อมาทางคณะผู้ปฏิบัติงานได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หมอนสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกกลุ่มแม่บ้าน ชาวบ้านที่สนใจในการทำหมอนสมุนไพรได้มาเรียนรู้วิธีการทำหมอนสมุนไพร ซึ่งหมอนสมุนไพรถูกออกแบบมาให้อยู่ในรูปแบบของหมอนรองคอ มีขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาง่าย ใช้งานสะดวก ซึ่งเหมาะที่จะนำติดตัวไปในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย และกลิ่นของสมุนไพรนั้นยังมีสรรพคุณในการช่วยผ่อนคลาย บรรเทาความตึงเครียดและความวิตกกังวล และช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกแก้วิงเวียนศีรษะ บรรยากาศของการอบรมเชิงปฏิบัติหมอนสมุนไพรนั้น เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านและชาวบ้านที่มาเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งกิจกรรมที่ทำในวันนี้เริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการบรรจุสมุนไพรลงซองเพื่อเตรียมนำไปใส่หมอนรองคอ การวาดแบบแพทเทิร์น การตัดเย็บผ้าให้ออกมาในรูปแบบของหมอนรองคอ และการยัดใยสังเคราะห์ จนสำเร็จออกมาเป็น กลันเตรียร์ หมอนรองคอสมุนไพรเพื่อสุขภาพ พร้อมจัดจำหนายทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

         

         

จากการทำงานร่วมกับคณะผู้ปฏิบัติภายใต้โครงการ U2T For BCG พื้นที่รับผิดชอบตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ในเดือนสิงหาคม สามารถนำทักษะความรู้ที่ได้รับจากบทเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ในการการฝึกอบรมตามที่ กระทรวง อว. มหาวิทยาลัย อาจารย์กำหนดนั้นมาประยุกต์ใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ ซึ่งตอบสนองในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความสะดวกสบาย ทำให้บรรยากาศการทำงานภายในผู้ปฏิบัติภายใต้โครงการ U2T For BCG ดีขึ้นกว่าเดิม และนอกจากนี้ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ฝึกตนเองในเรื่องความรับผิดชอบต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมาย