ข้าพเจ้านาง ชุติมา จี้อุ่น ผู้ปฏิบัติงาน ประเภท ประชาชน ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร: NS03-1 ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิด-19 ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจผลผลิตในตำบลปราสาทที่สามารถจะนำมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพิ่มรายได้สร้างอาชืพให้แก่ชุมชนของเราทีมผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่สำรวจแล้วแลได้ะสอบถามกับชุมชนเพื่อจะได้นำมายกระดับผลิตภัณฑ์และ พบว่าชุมชนมีกล้วยเป็นจำนวนมากชาวบ้านปลูกกล้วยเป็นจำนวนมากทำให้ได้ผลผลิตมากเกินความจำเป็นและไม่สามารถเก็บผลผลิตได้นานทำให้เหลือทิ้งหรือเน่าเสีย ทางทีมผู้ปฎิบัติงานเล็งเห็นว่าควรนำมาแปรรูปและเพิ่มมูลค้าให้กับกล้วย จึงหาข้อมูลและประชุมวางแผนในการจัดทำโครงการกล้วยเส้นสมุนไพร

 

กล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบกล้วยในภาษาไทยอาจเรียกว่า “ตองกล้วย” (ตอง หมายถึง ใบไม้ที่เอาไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะใบกล้วย) ใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิดและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ผลกล้วยน้ำว้าสุก นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ อาทิ กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด กล้วยเส้นสมุนไพร เป็นต้น หรือนำมาใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญบ้านและะที่ใบกล้วยที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป เรียกว่า “ใบเพสลาดลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย กระทง 

กล้วยตามวิธีการที่นำมาบริโภคสามารถแบ่งกล้วยออกเป็น 2 กลุ่มคือ กล้วยกินสด เป็นกล้วยที่เมื่อสุกสามารถนำมารับประทานได้ทันที โดยไม่ต้องนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน เพราะเมื่อสุก เนื้อจะนิ่ม มีรสหวาน เช่น กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว และกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร เป็นกล้วยที่เมื่อดิบมีแป้งมาก เนื้อค่อนข้างแข็ง เมื่อสุกยังมีส่วนของแป้งอยู่มากกว่ากล้วยกินสดมาก เนื้อจึงไม่ค่อยนิ่ม รสไม่หวาน ต้องนำมาต้ม เผา ปิ้ง เชื่อม จึงจะทำให้อร่อย รสชาติดีขึ้น เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก กล้วยเล็บช้างกุด

ประโยชน์และสรรพคุณกล้วยน้ำว้า 4 สี

กล้วยดิบ

กล้วยเปลือกภายนอกสีเขียวเข้ม ช่วยแก้โรคกระเพาะได้ดีเนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และด้วยตัวกล้วยดิบเองซึ่งมีฤทธิ์ในการลดกรดในกระเพาะ จึงเป็นยาทางธรรมชาติที่รักษาโรคกระเพาะที่ดีกว่ายาแผนปัจจุบันทั่วไป กล้วยดิบไม่สามารถรับประทานสดๆได้ วิธีการจึงต้องนำกล้วยมาฝานเป็นแว่นๆแล้วอบด้วยความร้อนต่ำไม่เกิน 50 องศา จนแห้งแล้วนำมาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา 3 ครั้งก่อนอาหาร โดยสามารถผสมกับน้ำผึ้งเพื่อให้รสชาติดีขึ้นง่ายต่อการรับประทาน

กล้วยห่าม

หรือกล้วยกึ่งดิบกึ่งสุก เปลือกภายนอกสีเหลืองแต่มีสีเขียวประปราย สามารถรับประทานได้สดๆ รสชาติไม่หวานจัดอาจติดรสฝาดเล็กน้อย กล้วยห่ามมีโพแทสเซียมสูง จึงให้ผลดีกับผู้มีอาการท้องเสียเนื่องจากผู้ป่วยจะสูญเสียโพแทสเซียมออกจากร่างกายมาก ซึ่งหากขาดมากอาจมีผลกระทบกับการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้กล้วยห่ามยังช่วยหล่อลื่นลำไส้ และเพิ่มกากใยในการขับถ่ายให้กับผู้ป่วย สารเซโรโทนินในกล้วยห่ามยังช่วยออกฤทธิ์ กระตุ้นให้ผนังกระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือกมากขึ้น ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

กล้วยสุก

สีเหลืองสด รสชาติอร่อยที่ปกติเราชอบรับประทานกัน ให้ผลตรงกันข้ามกับกล้วยห่าม เนื่องจากเป็นยาระบายอ่อนๆให้ผลดีกับคนที่มีอาการท้องผูก เพราะมีสารเพ็กตินอยู่มาก เพ็กตินเป็นเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ช่วยเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหารและที่สำคัญเป็นอาหารของแบ็คทีเรียในลำไส้ หรือ prebiotic ตามธรรมชาติ จึงช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกมากๆต้องรับประทานวันละ 5-6 ลูกเพื่อให้ได้ผลดี

กล้วยงอม

กล้วยสุกจัดผิวคล้ำไม่สดสวย ที่หลายๆคนไม่ชอบรับประทาน แต่กลับให้ผลดีอย่างมากมายในการเพิ่มภูมิต้านทานโรคภัยต่างๆ เพราะช่วยเพิ่มเซลเม็ดเลือดขาว และมีสารที่เรียกว่า TNF (Tumor Necrosis Factor) ซึ่งมีความสามารถในการต่อสู้กับเซลล์ที่ผิดปกติ และยิ่งกล้วยสุกมากเท่าไหร่ มีจุดสีดำที่เปลือกมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้เกิดสารเสริมภูมิต้านทานนี้มากขึ้น การรับประทานกล้วยสุกจัดเป็นประจำวันละ 1-2 ลูกยังช่วยเสริมภูมคุ้มกันโรคหวัด ไปในตัว