โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG)

บทความประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2565

          ข้าพเจ้า นายรุจิรงค์ เรืองคง ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภทประชาชน ประจำตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในเดือนสิงหาคมนี้ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล Thailand Community Data (TCD) ภายในตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตำบล ให้สอดคล้องกับเขตระเบียงเศรษฐกิจ BCG ที่ได้กำหนดไว้ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ประชุมร่วมกันที่โรงเรียนบ้านหินโคน เพื่อแบ่งกลุ่มและพื้นที่ในการเก็บข้อมูล TCD ซึ่งข้าพเจ้าได้อยู่กลุ่มกับนายอัครวัฒน์ เชาว์ชูรัมย์ ได้รับผิดชอบเก็บข้อมูล TCD ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหัวสะพานหมู่ที่ 6 บ้านหนองตาจำ หมู่ที่ 9 และบ้านโนนงิ้ว หมู่ที่ 8 โดยข้าพเจ้าเริ่มจากการเข้าพบผู้ใหญ่บ้าน เพื่อขออนุญาตลงพื้นที่เก็บข้อมูลภายในหมู่บ้าน สามารถสรุปรายละเอียดได้ดังนี้

  1. การลงพื้นที่เก็บข้อมูลบ้านหัวสะพาน หมู่ที่ 6 พบว่ามีเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรจำนวน 88 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ในการทำเกษตรประเภทนา ได้แก่ การปลูกข้าวเจ้า พันธุ์ขาวดอกมะลา และข้าวเหนียว มีการแบ่งพื้นที่สำหรับการทำปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโค กระบือ เป็นต้น พืชที่สามารถพบได้ทั่วไปในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นกล้วย ข้าวโพด ต้นยูคาลิปตัส ต้นกระถิน และต้นขี้เหล็ก เป็นต้น
  2. การลงพื้นที่เก็บข้อมูลบ้านหนองตาจำหมู่ที่ 9 พบว่ามีเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรจำนวน 110 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ในการทำเกษตรประเภทนา ได้แก่ การปลูกข้าวเจ้า พันธุ์ขาวดอกมะลิ และข้าวเหนียว มีการแบ่งพื้นที่สำหรับการทำปศุสัตว์สำคัญ คือ การเลี้ยงกระบือ เพื่อนำไปจำหน่ายให้ลูกค้า 4 กลุ่ม ได้แก่ ลูกค้าที่ซื้อไปพัฒนาสายพันธุ์ สร้างเป็นกระบือสวยงามส่งเข้าประกวด ลูกค้าที่ที่ต้องการซื้อไปเลี้ยงต่อในพื้นที่ของตนเอง ส่งขายไปให้กับตลาดจำหน่ายเนื้อ และ กลุ่มผู้เลี้ยงเพื่อต้องการรีดนมกระบือสร้างเป็นสินค้าแปรรูปจำหน่าย พืชที่สามารถพบได้ทั่วไปในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นต้นกล้วย ต้นมะม่วง ต้นมะยม ต้นหม่อน ต้นยูคาลิปตัส และต้นขี้เหล็ก เป็นต้น
  3. การลงพื้นที่เก็บข้อมูลบ้านโนนงิ้ว หมู่ที่ 8 พบว่ามีเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรจำนวน 34 คน แบ่งเป็นเกษตรกรที่ใช้พื้นที่ในการทำเกษตรประเภทนา ได้แก่ การปลูกข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว และมีเกษตรกรบางส่วนใช้พื้นที่สำหรับทำเกษตรประเภทไร่ ได้แก่ การปลูกไร่อ้อย และ ไร่มันสำปะหลัง เป็นต้น มีการแบ่งพื้นที่สำหรับการทำปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโค กระบือ และ สุกร เป็นต้น พืชที่สามารถพบได้ทั่วไปในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นกล้วย ต้นขี้เหล็ก ต้นมะยม ต้นมะพร้าว และต้นตาล เป็นต้น

รูปภาพประกอบ

วิดิโอประกอบ