ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลประโคนชัยมีอาชีพทำนา  รองลงมา  เลี้ยงสัตว์  ค้าขาย  การทำนาก็มีหลายวิธี
ตามยุคตามสมัยถ้าแต่ก่อนหว่านกล้า แล้วถอนกล้ามาดำนา แต่ปัจจุบันการทำนาดำจะไม่ค่อยจะเห็นแล้วเพราะอาจจะเป็นกับธรรมชาติฝนตกไม่ตามฤดูกาลรวมกับค่าแรงก็แพงเลยกลับมาทำนาต้มแทน
จากการได้พูดคุยกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8  นายประเสริฐ  ไชยปลัด  เรื่องการทำนาต้ม ส่วนมากนิยมทำแถวภาคกลาง ทำนานอกฤดูหรือ เรียกว่า นาปรัง คือการหว่านข้าวบนดินที่เปียกและมีน้ำขัง  แต่บ้านเราเรียกว่า  การทำนาต้ม การทำนาต้มบ้านเราไม่นิยมเพราะอาศัยน้ำจากธรรมชาติเพียงอย่างเดี่ยว จะทำก็ต่อเมื่อฝนมาเร็วเกินไป  ฝนไม่ทิ้งช่วง  ที่นาเปียกตลอด วิธีทำนาต้มดังนี้

1.  เตรียมพันธ์ุข้าว จะหว่านเมล็ดข้าวแห้ง หรือจะเอาไปแช่น้ำ 1 วัน อบหรือหมักในถุง 1 คืน เพราะจะทำให้หงอกเร็ว


เมล็ดข้าวที่อบไว้


เมล็ดข้าวแห้ง
2. รถไถปั่นดินให้เป็นโคลนหรือมีน้ำก็ได้


นาที่มีน้ำขัง


ปั่นให้วัชพืชหรือผลิกหน้าดินและให้เรียบ

3.  ใช้คนหว่านมือหรือเครื่องพ่นหว่านก็ได้

ใช้เครื่องพ่นหว่านข้าว

หลังจากหว่านข้าวเสร็จแล้วจะเช่น้ำสักหนึ่งคือก็ได้ แล้วต้องระบายน้ำออกหรือดูดออกให้มด ถ้ามีน้ำขังเมล็ดข้าวจะเน่าเสียได้ก็ใช้พันธุ์ข้าวเปลือก
25 – 30 กิโลกรัมต่อไร่ เหมือนหว่านข้าวทั่ว ๆ ไป เมื่อหงอกก็ดูแลตามเวลาปกติตามอายุข้าว