บทความประจำเดือน กรกฎาคม 2565

กลุ่ม ID27-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ

บ้านพิณทอง หมู่ที่ 13 บ้านหนองมะเขือ หมู่ที่2

บ้านหนองแสง หมู่ที่ 5 บ้านไพศาล หมู่ที่ 1

ตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย

จังหวัดบุรีรัมย์

          กระผมนายชาคริต สุขนาที ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสินค้า OTOP รายได้ตำบลแบบบูรณาการ ได้รับมอบหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้ บ้านพิณทอง บ้านหนองมะเขือ บ้านหนองแสง และบ้านไพศาล ของตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ID27-2

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เข้าร่วมปฐมนิเทศออนไลน์กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านระบบ Facebook Live

วันที่ 1-5 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตร นัดส่งเอกสารหลักฐานการสมัครงานพร้อมใบรายงานตัว ที่ห้องสำนักงานคณะวิทยาการจัดการ ชั้นที่1 คณะวิทยาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ราชภัฏบุรีรัมย์

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมกลุ่ม ID27-2 ประชุมออนไลน์ทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการมอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบทางการปฏิบัติงานและชี้แจงหน้าที่ และบทบาทของการทำงานของแต่ละบุคคล เพื่อให้งานบรรลุตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้

วันที่ 10 กรกฎาคม 2565 ทีมงาน ID27-2 ตำบลไพศาลและอาจารย์ประจำหลักสูตร ID27-2 เข้าพบนายก อบต.ไพศาล เพื่อนำเรียนโครงการและชี้แจงรายละเอียดของโดรงการ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น

วันที่ 11-18 กรกฎาคม 2565 กลุ่ม ID27-2 ทีมงานปฏิบัติงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งกระผมได้รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วยบ้านพิณทอง หมู่ที่ 13 บ้านหนองมะเขือ หมู่ที่ 2 บ้านหนองแสง หมู่ที่ 5 บ้านไพศาล หมู่ที่ 1 ของตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลกระผมสามารถเก็บข้อมูล C-01 และ C-02 ได้ตามกำหนดและนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่นๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG ด้านการคิดเชิงออกแบบ Design thinking ด้านโมเดลธุรกิจ Business Model Canvas ด้านเร่งการเติบโต Growth Hacking กระผมได้ทำงานพัฒนาทักษะครบ 100% และได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 4 หมู่บ้าน

ผลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละหมู่บ้านพบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ การทำไร่ทำนา การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ และเปิดร้านค้าขาย ซึ่งประชากรในหมู่บ้านมีรายได้น้อย แต่ยังมีสินค้า OTOP ที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน เช่น การทอผ้าไหม การทำข้าวหลาม การทอเสื่อ และสิ่งประดิษฐ์ล้อเกวียนเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ชุมชนยังมีปัญหาด้านจำหน่ายและช่องทางการกระจายสินค้าให้ผู้คนได้จัก สินค้ายังมีบริการแบบเดิม ไม่มีการพัฒนาให้มีความหลากหลายน่าสนใจยิ่งขึ้น

ผลจากการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนได้ทราบข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดและตระหนักถึงการป้องการโรค ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งมีผลกระทบกับชาวบ้านทำให้ขาดรายได้ ค้าขายน้อยลงทำงานไม่ได้เต็มที่ ซึ่งควรมีแผนการรับรองและพัฒนาของชุมชนต่อไป

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ในละชุมชนช่วงแรก ๆ พบปัญหาประชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่อยู่ที่บ้าน ออกไปทำงานนอกสถานที่ ทำให้การลงเก็บข้อมูลมีผู้ให้ข้อมูลน้อย ทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวประสานไปยังผู้นำชุมชน เพื่อนัดหมายในการเก็บข้อมูล ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.ได้ทราบถึงวิถีชีวิตของแต่ละชุมชน

2.การทำงานร่วมกันเป็นทีม

3.ได้ทราบถึงปัญหาแต่ละชุมชนและแนวทางการแก้ไขปัญหา

4.ได้รู้จักสินค้า OTOP ในแต่ละชุมชน