วันที่ 1 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2565

ได้มีการประชุมผ่านระบบออนไลน์ร่วมกัน ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหลักสูตร และคณะผู้ปฏิบัติงาน MS17-2 ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อชี้แจงและร่วมกันวางแผนการผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ หลังจากการเสร็จการประชุมออนไลน์ ดิฉันได้ทดลองทำ กระถางต้นไม้จากฟางข้าว เพื่อนำไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาประจำหลักสูตร ได้เป็นผู้คัดเลือกผลิตภัณฑ์จากคณะผู้ปฏิบัติงาน

วันที่ 6 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2565

ประชุมร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงาน ณ อาคาร 24 ชั้น 2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์จากคณะผู้ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งข้อแสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันพร้อมทั้งนัดหมายกันระหว่างคณะผู้ปฏิบัติงาน เพื่อลงพื้นปฏิบัติงานร่วมกัน

 

วันที่7 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565

คณะผู้ปฏิบัติงานได้มีการลงพื้นที่ร่วมกัน ณ บ้านสำโรง หมู่ 1 ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์  เพื่อสร้างและผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้ร่วมกันผลิตในครั้งนี้คือ

ของชำร่วยจากฟางข้าว โดยมีวัตถุดิบและกระบวนการผลิต ดังนี้

กระถางต้นไม้ฟางข้าว นำฟางที่มีอยู่ในชุมชนมาสับหรือบทให้ละเอียด จากนั้นนำไปต้มกับโซดาไฟไว้ประมาณ 30 นาที หลังจากนั้น เทน้ำออกและนำน้ำสะอาดมาใส่เพื่อต้มอีกรอบ ประมาณ 30 นาที หลังจากต้มครั้งที่2เสร็จแล้ว นำฟางที่ได้มาผสมกับส่วนผสมที่เตรียมไว้

1.ฟางต้ม (นำฟางที่มีอยู่ในชุมชนมาสับหรือบทให้ละเอียด จากนั้นนำไปต้มกับโซดาไฟไว้ประมาณ 30 นาที หลังจากนั้น เทน้ำออกและนำน้ำสะอาดมาใส่เพื่อต้มอีกรอบ ประมาณ 30 นาที หลังจากต้มครั้งที่2เสร็จแล้ว นำฟางที่ได้มาผสมกับส่วนผสมที่เตรียมไว้ได้)

2.ขี้เลื่อยจากไม้

3.กากมะพร้าว

4.ดิน

5.มูลสัตว์ (มูลโค,กระบือ)

6.กาวแป้งเปียก

นำฟางต้มมาใส่ในภาชนะ50% จากนั้นเทขี้เลื่อยใส่10% นำกากมะพร้าวใส่10% นำดินใส่5% นำมูลสัตว์ใส่5% และนำกาวแป้งเปียกเทใส่20% นำคลุกให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน หลังจากนั้นนำส่วนผสมมาปั้นใส่แป้นพิม หลังจากได้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการแล้ว นำไปตากแดดไว้ 3-5 วัน และนำมาทาด้วยสีเคลือบเงา

แผงไข่ไก่จากฟางข้าว โดยมีวัตถุดิบและกระบวนการผลิต ดังนี้

1.ฟางข้าว (ต้มโซดาไฟ)

2.แป้งมันสำปะหลัง

นำฟางข้าว มาต้มกับโซดาไฟ รอจนฟางเปื่อยยุ่ยประมาณ 30 นาที จากนั้นนำฟางมาล้างน้ำสะอาด แล้วนำไปปั่นจนละเอียด จากนั้นนำฟางปั่นที่ได้มาผสมกับแป้งมันสำปะหลัง แล้วตั้งหม้อไฟกวนไว้จนแป้งกับฟางเหนียวเข้ากัน ประมาณ 5 นาที จากนั้นทิ้งไว้ไห้เย็นแล้วนำมาขึ้นรูปตามต้องการ และตากแดดให้แห้งประมาณ 3-5 วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้

วันที่15 สิงหาคม2565

คณะผู้ปฏิบัติงานได้มีการทำผลิตภัณฑ์อีกชิ้นหนึ่งคือ มะละกอแก้ว ซึ่งการแปรรูปมะละกอแก้วให้เป็นอาหารรับประทานเล่นได้ มีมูลค่าและสามารถเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกด้วย

มะละกอแก้วสามรส โดยมีวัตถุดิบและกระบวนการผลิต ดังนี้

1.มะละกอ 1 กิโลกรัม

2.น้ำตาลทรายขาว ½ กิโลกรัม

3.น้ำปูนใส 1 ลิตร

4.น้ำใบเตย 300 มิลิลิตร

5.เกลือ ½ ช้อนชา

นำมะละกอมาปอกเปลือก 1 กิโลกรัม มาหั่นเส้นหรือหั่นเต๋าตามที่ต้องการ นำไปล้างน้ำสะอาดและนำมาแช่น้ำปูนใสให้ท่วมเส้นมะละกอไว้ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ระหว่างนั้น นำหม้อมาตั้งไฟอ่อนๆ เทน้ำใบเตยและน้ำตาลทรายลงไปและรอจนน้ำเดือด ใส่เกลือที่เตรียมไว้ลงไป จากนั้นนำมะละกอมาล้างน้ำปูนใสและเทลงไปในหม้อ ปล่อยไว้ให้น้ำเริ่มแห้ง และคนๆผัดๆ จนน้ำตาลแห้งเป็นเกล็ดขาว จากนั้นพักไว้ให้เย็นและทานได้

วันพุธที่ 17 สิงหาคม 2565

คณะผู้ปฏิบัติงานได้มีการสรุปข้อมูล TCD ประจำวันที่ 17 สิงหาคม 2565