MS17-2 ลงพื้นที่จัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์

สวัสดีครับ กระผม นายณัฐวุฒิ วงษ์บุตร ผู้ปฏิบัติงานประเภท บัณฑิต MS17-2 ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and regional Development)

การปฏิบัติงานประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ.2565

ในวันที่ 1 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565 ได้มีการประชุมผ่านระบบออนไลน์ร่วมกัน ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหลักสูตร และคณะผู้ปฏิบัติงาน MS17-2 ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อแนะนำแนวทางการสร้างและจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งหลังจากการประชุมแล้ว กระผมและผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มบางส่วนได้นัดกันเพื่อเริ่มและลองทำผลิตภัณฑ์ขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำคือ “กระถางฟางข้าว” โดยวัสดุที่ใช้นั้น เป็นวัสดุที่หาง่าย ล้วนแล้วแต่หาได้จากชุมชนทั้งสิ้น

ในวันที่ 6 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565 หลังจากได้ทำผลิตภัณฑ์กระถางฟางข้าวเสร็จแล้ว ก็ได้มีการนัดประชุมโดยอาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตร เพื่อส่งผลงานที่ได้สร้างและจัดทำขึ้นร่วมกัน ณ อาคาร 24 ชั้น 2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้น พร้อมทั้งได้นัดหมายกันระหว่างคณะผู้ปฏิบัติงานเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ณ บ้านสำโรง ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ในวันที่ 7 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565 คณะผู้ปฏิบัติงานได้มีนัดหมายกันและลงพื้นที่ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ร่วมกัน เพื่อสร้างและจัดทำผลิตภัณฑ์จากชุมชน ณ บ้านสำโรง ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีการร่วมด้วยช่วยกัน และสามัคคีกันสร้างผลิตภัณฑ์จนสำเร็จ โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้สร้างขึ้นในครั้งนี้ คือ กระถางฟางข้าวและแผงไข่ไก่จากฟางข้าว

ในวันที่ 15 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565 กระผมและเพื่อนร่วมการปฏิบัติงานได้ร่วมกันในการทดลองทำ มะละกอแก้วสามรส ซึ่งในการทดลองทำครั้งนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี มะละกอแก้วที่ได้มีรสชาติกลมกล่อม มีความกรุบกรอบ และมีความหอม เนื่องจากได้มีการลองนำใบเตยมาใช้แทนสีผสมอาหาร ทำให้มีสีสันสวยงามและรสชาติที่หอมหวาน สามารถเก็บไว้ทานได้นานหลายวัน เหมาะกับการเป็นนของฝากได้