โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG 

หลักสูตร HS10-1 โครงการน้ำพริกกากหมูเมืองแฝกเลิศรส เสริมรายได้ ขยายเศรษฐกิจชุมชน

ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้านางสาวชุติกาญจน์ ปาสานัย กลุ่มHS10-1 ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการน้ำพริกกากหมูเมืองแฝกเลิศรส เสริมรายได้ ขยายเศรษฐกิจชุมชน

หลักสูตร HS10 – 1 : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

 

               โครงการ U2T for BCG คือ

 “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” โดยจะเปิดรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ 7,435 ตำบล 77 จังหวัด กว่า 68,350 คน ที่ต้องการร่วมงานเป็นทีมเดียวกับ อว. ซึ่งจะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยรัฐ 70 กว่าแห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 20 แห่ง ตลอดจนภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก

               วัตถุประสงค์โครงการ U2T for BCG

โครงการ U2T for BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในสมาชิกทีมที่รับผิดชอบตำบลเมืองแฝก  อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีโครงการเดิม  “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ”
เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตำบลเมืองแฝกของเราจึงได้จัดทำโครงการน้ำพริกกากหมูเมืองแฝกเลิศรส เสริมรายได้ ขยายเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งในครั้งนี้ซึ่งข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรม หัวข้อเรื่อง “งานเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(โครงการ U2T for BCG) โดยกระทรวง อว. ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่โดยมีผู้เข้าร่วมครอบคลุมทุกตำบลในประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCGในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม”

               เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:30 น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมรับฟังทางระบบออนไลน์ งานเปิดตัว  U2T for BCG บน เพจกระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อว.และมหาวิทยาลัย สนับสนุนภารกิจระดับชาติ โดยใช้ความรู้ช่วยเพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการ ขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับรายได้ให้ประชาชน ยกระดับประเทศให้เป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เป็นการวางรากฐานที่มั่นคง พัฒนาบัณฑิตให้พร้อมเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน   เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึง ด้วยเศรษฐกิจ BCG” โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) จ้างงานกว่า 68,350 คน ใน 7,435 ตำบล  77 จังหวัด ทั่วประเทศ ให้ได้รับการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วย 

  • B : Bio-Economy เศรษฐกิจชีวภาพ
  • C : Circular-Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน
  • G : Green-Economy เศรษฐกิจสีเขียว

             บัณฑิตจะได้ใช้ความรู้ด้าน BCG  สร้าง Value Chain ให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ด้วยกระบวนการ 

1.ถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตและการบริการ

2.การส่งเสริมการขายและการตลาด 

3.การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูง

4.การพัฒนาบรรจุภัณฑ์

5.การขนส่งและการกระจายสินค้า

6.การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ

 

 

           เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เวลา 11.30 น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมเรื่อง U2T BCG-learning บทเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ และวิธีการใช้ระบบบันทึกข้อมูลผู้สมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านทาง MS Team 

 

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น. ข้าพเจ้าได้เข้ารับฟังการปฐมนิเทศอาจารย์ประจำตำบล โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผ่านทางระบบออนไลน์

 

 


นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:00 น. ข้าพเจ้ายังได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ของกลุ่มตำบลเมืองแฝก โดยมีอาจารย์ศรณี เนลเสน, อาจารย์พิมพ์ภัช วราศิวพงศ์ และสมาชิกทั้งหมด 8คน การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อนัดแนะการปฏิบัติงานของสมาชิกทุกคน รวมไปถึงพูดการอัพเดตเนื้อหางาน ร่วมพูดคุยและถกประเด็นร่วมกันและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน 

       

 

และเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:30น. – 15:00น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมออนไลน์ผ่านทางแอพลิเคชั่นfacebook เพจU2T : Online Community ในหัวข้อเรื่อง “การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูลTCD” โดย ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีการแนะนำวิธีการเข้าบันทึกข้อมูล การแก้ไขข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูลอย่างถูกต้องให้กับผู้ปฏิบัติงาน

     

 

โดยในการจัดโครงการในครั้งนี้เป็นโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มีระยะเวลาการปฏิบัติงาน 3เดือน เป็นการปฏิบัติงานในระยะสั้นๆ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กลุ่มเมืองแฝกโอชาจึงได้เลือกทำโครงการน้ำพริกกากหมูเมืองแฝกเลิศรส เสริมรายได้ ขยายเศรษฐกิจชุมชน และโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเมืองแฝกแข็งแรง น้ำพริกปลาทูคั่วแห้งโอชานี้ขึ้น เพื่อช่วยเหลือพี่น้องตำบลเมืองแฝกในการสร้างอาชีพให้กับพี่น้องในตำบลเมืองแฝกเพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้ที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้น้อยให้สามารถนำไปต่อยอดในการสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว และนอกจากนี้วัตถุดิบในการนำมาลงทุนก็สามารถหาได้ง่ายตามท้องตลาด อีกทั้งกากหมูยังเป็นอาหารที่คนไทยทุกคนรู้จักสามารถนำมาทำเป็นน้ำพริกที่รสชาติอร่อยถูกใจผู้บริโภค โดยการนำเอากากหมูธรรมดา ๆ มาดัดแปลงผสมผสานกับเครื่องปรุงอื่น ๆ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะปรุงเพื่อรับประทานในครัวเรือนเองแล้ว ยังสามารถจำหน่ายได้จึงเหมาะต่อการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างความรู้ได้แก่คนในชุมชนเป็นอย่างยิ่ง

   

 

            และนอกจากนี้กลุ่มตำบลเมืองแฝกโอชายังมีโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเมืองแฝกแข็งแรง น้ำพริกปลาทูคั่วแห้งเมืองแฝกโอชาอีกโครงการหนึ่งที่สามารถนำมาสร้างอาชีพและต่อยอดรายได้ให้กับพี่น้องในตำบลเมืองแฝกเนื่องจากการหาวัตถุดิบหลักนั้นเราสามารถหาได้ง่ายเนื่องจากวัตถุดิบหลักเป็นปลาทู และปลาทูยังเป็นอาหารที่หาซื้อได้ง่ายราคาไม่แพงจนเกินไป น้ำพริกปลาทูโดยทั่วไปจะไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เราจึงทำเป็นน้ำพริกปลาทูคั่วแห้งสามารถเก็บไว้รับประทานนานกว่า โดยรสชาติคงเดิม ไม่มีสารกันบูดเจือปน เลือกสรรเครื่องปรุงตามธรรมชาติที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น


 

          ทั้งนี้กลุ่มพวกเราชาวเมืองแฝกโอชายังได้มีการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดผ่านระบบออนไลน์ และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำน้ำพริก การใช้นวัตกรรมในการแปรรูปอาหาร การใช้นวัตกรรมในการเก็บรักษาอาหาร และการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นสะดุดตา แตกต่างและเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค

 

วีดีโอประจำเดือนกรกฎาคม