โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

     ข้าพเจ้า นางสาวชะไมพร ภูแก้ว ประเภทประชาชน ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 ทางคณะกรรมการและผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลสำโรงใหม่ เข้าร่วมประชุมที่หอประชุมสโลปคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เกี่ยวกับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล เตรียมลงพื้นที่เพื่อสำรวจผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการและยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของชุมชนในรูปแบบใหม่ ให้เป็นที่รู้จักและกว้างขวางมากขึ้น

วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่บ้านโคกไม้แดงหมู่ 12 บ้านสันติสุขหมู่ 14 และบ้านบ่อโพธิ์หมู่ 6 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแต่ละหมู่บ้านมีการจัดตั้งกลุ่มจัดทำผลิตภัณฑ์ดังนี้

1. บ้านโคกไม่ได้หมู่ที่ 12 กลุ่มสานตะกร้าจากกระป๋อง กระเป๋าสานจากซองกาแฟ เริ่มทำมา 3-4 ปี สมาชิกมีทั้งหมดประมาณ 10 คนประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เวลาว่างจะมีการรวบรวมกลุ่มกันประมาณ 10 คนเพื่อที่จะมาสานกระเป๋าและตะกร้า ต้นทุนเริ่มแรกเริ่มมาจากตนเองทั้งหมดเริ่มเก็บซองกาแฟเอง ขอบริจาคจากกับชาวบ้านรับซื้อจากคนในชุมชนแล้วนำมารวบรวมในกลุ่มเพื่อที่จะสานตะกร้าร่วมกัน กระเป๋ามีหลายแบบเช่นกระเป๋าเป้กระเป๋าสะพายข้าง กระเป๋าเงินใบเล็กๆ และกระเป๋าทรงสี่เหลี่ยมใบใหญ่ ตะกร้าจากกระป๋องน้ำผลไม้ เมื่อทำกระเป๋าและตะกร้าได้เยอะจะมีการนำไปฝากขายที่อำเภอบ้านกรวด ซึ่งเป็นร้านพี่สาวของหนึ่งในกลุ่มสมาชิกและออกงานตามอำเภอกลุ่มสตรี มีการโพสต์ขายตาม Facebook ส่วนตัวของสมาชิกแต่ละบุคคลและคนในชุมชนที่พูดกันปากต่อปาก เงินที่ได้จากการขาย กระเป๋ายังไม่มีการทำบัญชี และสมาชิกในกลุ่มต่างๆทำเองขายเอง

2. บ้านบ่อโพธิ์หมู่ที่ 6 กลุ่มผ้าทอมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 13 คน มีการทอผ้าเรย่อน ผ้าด้าย ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้านิริน ผ้าลายขิตเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะของหมู่บ้าน มีการทอผ้ามานานเริ่มก่อตั้งกลุ่มตั้งแต่ พ.ศ 2561 โดยแรกเริ่มจากคนในชุมชนว่างงานแล้วทอผ้าขายเองจนได้ร่วมกลุ่มกันเกิดขึ้น ปัจจุบันได้นำผ้าทอมาแปรรูปเป็นผ้าคลุมไหล่ ผ้าสิ้น ผ้าพันคอ แต่ยังไม่มีการแปรรูปตัดเป็นชุดเป็นเสื้อผ้า เพราะทางกลุ่มยังขาดแคลนเครื่องจักร

3. บ้านสันติสุขหมู่ 4 กลุ่มต้นกก มีการทอเสื่อมานานตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายส่วนใหญ่ทอใช้เองตามครัวเรือน ต่อมาได้ทำเป็นอาชีพเสริมหลังว่างจากการทำไร่ทำนา ยังไม่มีกลุ่มเป็นทางการและส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุตามบ้านทำกันเพราะว่างไปทำเกษตรไม่ได้ ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักของคนมากนัก ต้นกกใช้ระยะเวลาในการปลูก 3 เดือน ต้นกกสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ดังนี้ กระติบข้าว ปลอกหมอน กระด้ง เสื่อพับ ปลอกที่นอนพับ กระเป๋า หมวก แต่ยังไม่มีลวดลายเฉพาะกลุ่มไม่มีแบรนด์และช่องทางจัดจำหน่าย

สรุป ทางอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลได้เลือกที่จะพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้

1. ผลิตภัณฑ์จากซองกาแฟ

2 . ผลิตภัณฑ์จากต้นกก

เพราะผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 อย่างนี้อยู่ในเครือข่าย BCG ทางด้านเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยจะมีการผสมผสานต้นกกและผ้าทอจากหมู่ 6  มาทำมู่ลี่เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และช่วยหาช่องทางจัดจำหน่ายให้คนได้รู้จักเพิ่มมากขึ้น แนวทางที่คาดว่าจะได้รับในการลงพื้นที่คือช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้นช่วยยกระดับสินค้าให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ทั้งนี้ต้องขอบคุณทีมงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัยตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ และอาจารย์ประจำตำบลที่คอยให้คำปรึกษาและทีมงานทุกคนที่ร่วมใจกันจนทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี