สวัสดีครับ ชื่อนายพงษ์ศักดิ์ จงกรด ประเภทประชาชน เป็นผู้ปฏิบัติงานของ ตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)
ปฏิบัติงานประจำเดือน กรกฎาคม
ก่อนการปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคม ทีมโคกว่านได้เข้าร่วมปฐมนิเทศและเข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานใหม่ของกลุ่มตำบลเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)
ตำบลโคกว่าน ตั้งอยู่ ถนน ละหานทราย – นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ตำบลโค่กว่านตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่ราบภูเขาไฟเขาอังคารที่ดับสนิทแล้ว จึงทำให้ดินในบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์อุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด อีกทั้งบริเวณตำบลโคกว่านเป็นบริเวณที่สามารถระบายน้ำได้ดี ส่งผลให้เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ พืชผักสวนครัวชนิดต่างๆ ที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งอาหารและเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงประชาชนบ้านสมจิตได้มาอย่างยั่งยืน ชุมชนบ้านสมจิตรตำบลโค่กว่านนำจุดแข็งด้านทรัพยากรที่ตรงเองมีบวกกับความขยันของคนในชุมชนมาเป็นจุดเริ่มต้นในการผลิตข้าวตอก ข้าวพองและไข่เค็มลาวา ในเบื้องต้นคนในชุมชนได้มีการทดลองการทำและใช้เวลาในการปรับปรุงให้เข้ากับแผนธุรกิจที่จัดไว้โดยใช้วิถีและวัฒนธรรมชุมชนเป็นพื้นฐานจนเกิดความสำเร็จ สะสมประสบการณ์ องค์ความรู้จนเกิดความชำนาญจนเกิดมาเป็นรูปแบบวิสาหกิจชุมชนตามวิถีวัฒนธรรมของบ้านสมจิตร จนเป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้ซื้อผู้ขายมากขึ้น ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของตลาด และต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการหลายๆแบรนด์ ดังนั้นบ้านสมจิตรจึงต้องมีมาตรฐานและรักษามาตรฐานการผลิตให้เป็นเอกลักษณ์และวิถีชุมชนไว้ การสร้างรายได้ให้กับชุมชนหรือการเพิ่มการผลิตวิสาหกิจชุมชนนั้นควรจะต้องคำนึงถึงการสร้างมาตรฐานการผลิตความสดความสะอาดปลอดภัยให้มีมาตรฐานรองรับเช่นมาตรฐานของอย. เพื่อเป็นการยกระดับการแข่งขันเพิ่มตลาดแต่อาจจะต้องลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกำไรให้แก่รัฐวิสาหกิจชุมชน อีกทั้งปรับปรุงอาคารโรงเรือนการป้องกันฝุ่นละออง หรือเสียงที่มารบกวนเพื่อนบ้านควรอีกทั้งรัฐวิสาหกิจชุมชนยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตต่างๆหรือนำองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆมาต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนการตลาดออนไลน์ บรรจุภัณฑ์ให้มีความสุขสวยงามได้มาตรฐาน มีแรงงานให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อนของคู่แข่งมาและนำมาพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น
ชื่อผลิตภัณฑ์: ไข่เค็มลาวา / กระยาสารท
วัตถุประสงค์การพัฒนา: ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ และน่าดึงดูดผู้บริโภคสนใจ เป็นการเพิ่มโอกาสของการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค
ไข่เค็มลาวา
วัตถุดิบ
ไข่เป็ดสดแผง 30 ลูก
เกลืออินทรีย์ 1 ถุง
กล่องกระดาษ 6 กล่อง
ถุงพลาสติก 6 ถุง
ดินเหนียวภูเขาไฟ หาได้ตามธรรมชาติ ไม่มีต้นทุน
แกลบเผา เป็นวัตถุดิบเหลือใช้ ไม่มีต้นทุน
วิธีการทำ
1.)นำเกลืออินทรีย์มาผสมกับดินเหนียวภูเขาไฟให้ละเอียดจนเกลืออินทรีย์กับดินเหนียวภูเขาไฟละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
2.)นำไข่เป็ดสดมาจุมลงในที่ผสมกันไว้แล้วนำไข่เป็ดไปใส่ในแกลบเผาแล้วปั้นให้เป็นรูปทรงไข่
3.)นำไปห่อถุงพลาสติกและมัดให้เรียบร้อยแล้วนำใส่กล่องแล้วติดโลโก้
กระยาสารท
วัตถุดิบ
น้ำตาลมะพร้าว 8 กิโลกรัม
กะทิ 20 กิโลกรัม
แบะแซ 5 กิโลกรัม
ข้าวตอก 500 กรัม
ข้าวพอง 600 กรัม
งาขาวคั่ว 100 กรัม
ถั่วลิสงคั่ว 100 กรัม
วิธีการทำ
นำน้ำกะทิเคี่ยวไฟอ่อนให้กะทิแตกมัน หลังจากนั้นใส่น้ำตาลมะพร้าวและแบะแซ คนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน นำข้าวตอกและข้าวพองที่ผสมกัน มาคลุกกับน้ำกะทิที่เคี่ยวไว้ผสมให้เข้ากัน และโรยด้วยงาและถั่วลิสง
พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคส่วนใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันการขายและการซื้อสินค้าต่างๆจำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านบนบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจมากขึ้น เพื่อดึงดูดผู้บริโภค หากบรรจุภัณฑ์สวย น่าสนใจจะสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้เป็นอย่างมาก โดยหลีกแล้วต้องการเพิ่มรายได้จากการพัฒนาให้แก่วิสาหกิจชุมชน