ชากระทิง

           ข้าพเจ้านางสาวชนิกา เหล็กเทศ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ประเภท ประชาชน ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างหางานหรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยข้าพเจ้าได้ร่วมงานกับประชากรกลุ่มน้ำสมุนไพร ตำบลหนองกะทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นระยะเวลา 3 เดือน

ต้นหม่อนเบอรี่และเตยหอมเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านในบ้านหนองกระทิง หมู่ที่ 1 ตำบลหนองกระทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และหมู่บ้านใกล้เคียง จุดเริ่มต้นที่มีการแปรรูปจากสิ่งที่อยู่ภายในชุมชนให้เกิดน้ำสมุนไพร,ใบหม่อนเป็นชาเขียวใบหม่อนและชาเตยหอม ในช่วงปี พ.ศ. 2564 ด้วยสถานะการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชากรแต่ละครัวเรือนขาดแคลนรายได้ จึงมีการจัดตั้งกลุ่มทำน้ำสมุนไพรได้รวบรวมสมาชิกในหมู่บ้านที่กำลังว่างงานเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ น้ำสมุนไพรที่ทำมีดังนี้ น้ำมัลเบอร์รี่ น้ำข้าวโพด น้ำอัญชัน น้ำตะไคร้ น้ำใบเตย และเห็นว่าใบหม่อนและเตยหอมสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้อีก หัวหน้ากลุ่มคุณป้าเจียม สิริพุทไธวรรรณ ได้นำสมาชิกทดลองแปรรูปไว้บริโภคเอง แบบลองผิดลองถูก โดยนำสิ่งที่อยู่ภายในพื้นที่มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์และเกิดรายได้ต่อครัวเรือน

ต่อมามีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เกษตรอำเภอ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้เข้ามาให้คำแนะนำขั้นตอนการผลิตที่ถูกต้องในการทำน้ำสมุนไพร ทางกลุ่มน้ำสมุนไพรอยากที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์จากใบหม่อนและเตยหอมจึ่งได้พยายามเรียนรู้วิธีผลิตใบชาจากใบหม่อนและเตยหอมเพื่อจำหน่ายและเข้าอบรมเพิ่มเติม เรื่องการแปรรูปใบหม่อนให้มีมูลค่าเพิ่ม สมาชิกมีความอดทนและความพยายามหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ตลอดจนเข้าหาส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ การตลาด การวางแผนบริหารจัดการกลุ่ม ให้แก่สมาชิกอย่างสม่ำเสมอ ในการลงพื้นที่ตามแนวทางของโครงการ U2T for BCG นั้น เป็นไปตามหลักวัตถุประสงค์ของทางโครงการ ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้เข้าถึงปัญหากับสมาชิกกลุ่มน้ำสมุนไพร พร้อมเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องแก้ไขและที่ต้องการเพิ่มเติม แนะแนวทางการแก้ไข แก้ไขร่วมกันทางกลุ่มน้ำสมุนไพรต้องการที่จะเรียนรู้กรรมวิธีในการยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้นานขึ้น เรื่องการขอ อย. เพื่อให้สินค้าได้รับมาตรฐาน ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานกำลังศึกษาข้อมูลให้มากที่สุดและนำไปประยุกต์ใช้ และได้นำหลักของโครงการ U2T for BCG เข้าไปช่วยทั้งทางด้านเทคโนโลยี โปรโมทสินค้าเพื่อทำการตลาดได้มากยิ่งขึ้น กระจายสิ้นค้าสู่ภายนอกเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพิ่มช่องทางการขาย ทั้งการออกแบบตัวบรรจุภัณฑ์  โลโก้สินค้าให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างชื่อของชาใบหม่อน,ชาเตยหอม ที่จะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของทางชุมชน ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ช่วยกันคิดค้นชื่อให้เป็นที่น่าดึงดูดใจ โดยนำเอกลักษณ์ของชุมชนมาใช้ในการตั้งชื่อ จึงได้ชื่อภายใต้แบรนด์ที่ชื่อว่า “ชากระทิง” และสมาชิกโครงการ U2T for BCG ประจำตำบลหนองกระทิงจะคอยช่วยพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเข้าถึงกลุ่มน้ำสมุนไพรสามารถช่วยเหลือสิ่งที่ขาดและต่อยอดพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องชัดเจน จากการสอบถามกลุ่มน้ำสมุนไพรนั้น ยังขาดทุนสนับสนุน – อุปกรณ์หลักเป็นจำนวนมาก และขาดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะผลิตจากใบหม่อน,เตยหอม การตลาดที่อยู่เพียงแค่ในชุมชน ซึ่งทีมสมาชิกประจำตำบลหนองกระทิงได้รวบรวมปัญหาทั้งหมดที่เสนอมาไปทำการหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยเหลือแก้ไขให้ได้มากที่สุด ภายในระยะเวลา 3 เดือน และนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนไปสู่เป้าที่มุ่งหมาย เราไม่ได้แค่จะสอนชาวบ้านให้รู้จักวิธีจับปลา แต่เราจะช่วยแนะนำสร้างแหล่งเลี้ยงปลา สอนวิธีเลี้ยงปลาและช่วยหาหนทางนำปลาไปทำกับข้าวกิน หรือเอาไปขายสร้างรายได้ให้ตัวเองและครัวเรือน