การลงพื้นที่สำรวจชุมชนตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ดิฉันนางสาวปนัดดา วิหกเหิน ผู้ปฏิบัติงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
ได้มีการลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์ในชุมชนของตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งในท้องถิ่นมีวัตถุดิบที่สามารถนำมายกระดับผลิตภัณฑ์ได้ ทางผู้ปฏิบัติงานจึงเล็งเห็นวัตถุดิบที่เป็นกล้วยเป็นพืชซึ่งมีอยู่ในชุมชนอยู่แล้ว จึงนำมาพัฒนาให้มีความโดดเด่นมากขึ้น โดยกล้วยเป็นอาหารที่นิยมบริโภคในประเทศมีคุณค่าทางอาหาร เหมาะสมสำหรับการรับประทานเป็นอาหารทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทำค่อนข้างง่าย กล้วยเป็นพืชพื้นบ้านของไทยที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทุกสมัย เพราะทุกส่วนของกล้วยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นอาหาร ขนม ของตกแต่ง กระทง หรือภาชนะ และในช่วงฤดูต่าง ๆ ของประเทศไทยเกือบทุกภาค จะมีฝนฟ้าตกกระจายทั่วไป ผลผลิตกล้วยนานาชนิดให้ผลมากมาย บางครั้งรับประทานสุกไม่ทัน จึงขอแนะนำให้ท่านผู้สนใจทดลองแปรรูปกล้วยด้วยวิธีง่าย ๆ หากสามารถผลิตออกมาถูกหลักอนามัย ก็สามารถผลิตเป็นอาชีพเสริมรายได้ เป็นอย่างดี และในชุมชนไม่ได้มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นของตัวเองทางผู้ผลิตจึงอยากยกระดับผลิตภัณฑ์ให้กับคนในชุมชนโดยการผลิตสินค้าที่แปลกใหม่คือ เมี่ยงคำ เป็นผลิตภัณฑ์ด้านอาหารที่มีสรรพคุณในเรื่องของการชูรสของกล้วย สมุนไพร เป็นอาหารที่มีประโยชน์และเป็นอาหารที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้
และอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จะเป็นหัตถกรรมจากเชือกกล้วย โดยนำก้านกล้วยและกาบกล้วยซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการตัดใบขายได้นำมาทำเชือกกล้วยเพื่อใช้ในงานหัตถกรรมเป็นวัสดุธรรมชาติจากเส้นใยกล้วยที่ได้จากกาบต้นกล้วยหรือก้านกล้วย นอกเหนือจากใช้ประโยชน์จากใบกล้วยแล้ว โดยเป็นการใช้ประโยชน์จากส่วนของลำต้นกล้วยหรือก้านใบซึ่งแทบจะไม่มีมูลค่ามาพัฒนาให้เป็นงานหัตถกรรมสามารถสร้างรายได้เพิ่มอีกช่องทางหนึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เช่น งานฝีมือ งานหัตกรรมซึ่งการนำเชือกกล้วยมาสานมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความจริงแท้ที่โดดเด่น เชือกกล้วยสามารถนำมาสานให้มีความโดดเด่น เช่น ลวดลายและมีความหลากหลายแบบและมีความต้องการด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และยังสามารถพัฒนาสู่จิตนการและการสร้างสรรค์ใหม่ได้