นางสาวเมธาพร ทองภู ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลหนองกี่ ประเภท ประชาชน หลักสูตร ED19-2

หลักสูตรED19-2: โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

โครงการ U2T for BCG คือ

“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” โดยจะเปิดรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ 7,435 ตำบล 77 จังหวัด กว่า 68,350 คน ที่ต้องการร่วมงานเป็นทีมเดียวกับ อว. ซึ่งจะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยรัฐ 70 กว่าแห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 20 แห่ง ตลอดจนภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก

วัตถุประสงค์โครงการ U2T BCG

โครงการ U2T BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะครุศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ รับผิดชอบตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีโครงการเดิม “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ” มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้านหนองกี่ ต.หนองกี่ อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์

เริ่มต้นก่อนการทำงานในครั้งนี้ทางคณาจารย์ได้นัดหมายผู้จ้างงานรับฟังนโยบายชี้แจ้งรายละเอียดการทำงานในวันที่ 29 มิถุนายน 2565 วางแผนการทำงานร่วมกันต่อไปในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ภายหลัง วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ทางคณะทำงานมีการนัดร่วมตัวเพื่อลงพื้นที่หมู่บ้านเจาะจงไปที่กลุ่มหลักที่มีการเลี้ยงไก่ไข่อินทรย์ เป็นต้น

ในปัจจุบันไก่ไข่ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งการเลี้ยงไก่ไข่ต้องคํานึงถึงผลผลิต และ คุณภาพของไข่มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันประเทศไทยมีการเลี้ยงไก่ไข่อย่าง แพร่หลายทั้งเลี้ยงแบบธรรมชาติ และแบบเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตไข่ไก่ที่สําคัญของ เมืองไทยอยู่ในภาคตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันตก เขตกรุงเทพและปริมณฑล ตามลําดับ โดยจังหวัดท่ีเป็นแหล่งผลิตไข่ไก่มากที่สุด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา รองลงมาเป็นจังหวัดนครนายก ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และอุบลราชธานี ตามลําดับ

พันธุ์ไก่นับเป็นปัจจัยที่สําคัญประการกนึ่งของธุรกิจการเลี้ยงไก่ให้ประสบผลสําเร็จ ดังนั้นผู้เลี้ยง จะต้องเลือกพันุ์ไก่ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเลี้ยง เช่น เลือกไก่สายพันธุ์ไข่เพื่อการผลิตไข่ เป็นต้น ซึ่งในอดีตนั้นนิยมเลี้ยงไก่พันธุ์แท้ แต่พันธุ์ไก่ไข่ที่นิยมเลี้ยงในเมืองไทยในปัจจุบันส่วนมากแล้วเป็นไก่สายพันธุ์ ลูกผสมเกือบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้มีการคัดเลือกและปรังปรุงพันธุ์มาเป็นอย่างดี เช่น ให้ไข่ดก ไข่ฟองโต ให้ไข่ ทนและกินอาหารน้อย สําหรับพันธุ์ไก่ที่เลี้ยงในเมืองไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ

  1. ไก่พันธุ์แท้ เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์เป็นอย่างดีมาอย่างต่อเนื่องของนักผสมพันธุ์ จน ลูกหลานในรุ่นต่อๆมามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สีและอื่น ๆ เหมือนบรรพบุรุษหรือลักษณะประจําพันธุ์ไข่คงท่ี ไก่ พันธุ์แท้เคยได้รับความนิยมมากในสมัยหนึ่ง เพราะได้ชื่อว่าเป็นไก่ที่ให้ไข่ดก แต่ต่อมาภายหลังได้มีการปรับปรุง พันธุ์จนได้พันธุ์ซึ่งให้ผลผลิตสูงข้ึนกว่าขึ้นมาทดแทนไก่พันธุ์แท้จึงได้รับความนิยมน้อยลง จนในปัจจุบันไก่พันธ์ได้รับความสนใจและเลี้ยงเป็นการค้ากันน้อยมาก เพราะผู้เลี้ยงไก่ไข่นิยมเลี้ยงไก่ลูกผสมอันเกิดจากการผสม ข้ามพันธุ์ ซึ่งให้ผลผลิตที่ดีกว่าไก่พันธุ์แท้มาก สําหรับพันธ์ไก่ไข่พันธ์แท้ท่ียังมีเลี้ยงในเมืองไทย ได้แก่

1.1 พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์เรด (Rhode Island Red) หรือที่เรียกกันส้ัน ๆ ว่า “ไก่โร๊ด” มีถิ่นกําเนิด อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

1.2 พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค (Barred Plymouth Rock) หรือที่เรียกกันว่า “ไก่บาร์” เป็นไก่ พลีมัทร็อคที่มีขนสีบาร์ คือ มีขนสีดําสลับกับสีขาว

 

1.3 พันธุ์เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร (Single Comb White Leghorn) มีถิ่นกําเนิดในประเทศอิตาลี จัดเป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุดในบรรดาไก่เล็กฮอร์นด้วยกัน

  1. ไก่พันธุ์ลูกผสม (Hybrid Breeds) หมายถึง พันธุ์ไก่ไข่ที่ได้จากการนําไก่ไข่ตั้งแต่ 2 สายพันธุ์ขึ้นไป มาผสมกัน เป็นไก่พันธุ์ไข่ที่นิยมเลี้ยงกันในเชิงการค้ามากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพันธุ์ไก่ที่ผสมขึ้นเป็น พิเศษ โดยบริษัทผู้ผลิตลูกไก่พันธุ์ไข่จําหน่ายได้มีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพในการให้ผล ผลิตไข่สูงและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดคือให้ไข่ดก เปลือกไข่สีน้ําตาล ไข่ฟองโตและไข่ทน เพราะได้รับการรวบรวมลักษณะต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน

การเลี้ยงไก่ไข่ในอำเภอหนองกี่ ของนางภาเพ็ญ สุทธิเพศ ชาวอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ นั้น เป็นไก่ไข่พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์ จุดเริ่มต้นมาจากการเลี้ยงไก่ไข่ไว้กินเองในครัวเรือนประมาณ 10 ตัว เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ให้ไก่ไข่ได้ออกมาจากโรงเรือนหรือภายนอกคอก เป็นวิธีเลี้ยงไก่ไข่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะจะทำให้ไก่อารมณ์ดี มีความสุข สุขภาพแข็งแรง และออกไข่ให้ได้เก็บกินในทุกวัน จากนั้นผู้เลี้ยงก็ได้มีความคิดว่า ถ้าเพิ่มจำนวนการเลี้ยงไก่ไข่ให้มากขึ้นกว่าเดิม ก็อาจจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้ในครัวเรือนอีกทาง จึงเริ่มเลี้ยงในจำนวนที่มากขึ้นประมาณ 70 ตัว  จากการสอบถามผู้เลี้ยงเรื่องอาหารของไก่ไข่นั้น ว่าไก่ไข่สามารถกินอาหารแบบไหนได้บ้าง ไข่ไก่สามารถกินอาหารทั้งแบบเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป และพืชผักต่างๆได้เกือบทุกชนิด และในปัจจุปันนี้เองผู้เลี้ยงได้บอกว่า อาหารเม็ดแบบสำเร็จรูปได้มีการปรับราคาที่สูงขึ่นจากเดิมมาก ผู้เลี้ยงเองจึงได้หันมาเลี้ยงไก่ไข่แบบอินทรย์ โดนเน้นให้อาหารหลักเป็นพืชผักต่างๆผสมไปในอาหารสำเร็จรูป เป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงไก่ไข่ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น ต้นกล้วย ผักโสมไทย ผักตำลึง หญ้าหวานอิสราเอล แหนแดง แตงกวา กระถินบ้าน ผลไม้ต่างๆ นำมาสับให้ละเอียดใช้เป็นอาหารให้ไก่ และเป็นการลดต้นทุนเรื่องค่าอาหารได้เป็นอย่างดี

และในตอนนี้ไข่ไก่ของผู้เลี้ยงเองก็ได้รับการตอบรับจากผู้ที่รักสุขภาพ ทำให้คนที่เริ่มสนใจเรื่องสุขภาพและการดูแลตัวเอง มองหาอาหารดีต่อสุขภาพ มีโปรตีน ยิ่งไข่ที่เลี้ยงโดยไร้สารเป็นวัตถุดิบที่กินได้ทุกวันเป็นอย่างดี เพราะเป็นการเลี้ยงแบบอินทรีย์ เน้นอาหารที่เป็นพืชผักเป็นสำคัญ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงเองได้มีไข่ส่งขาย มีรายได้เข้ามาในครัวเรือนจากการขายไข่เพิ่มมากขึ้น จากการสอบถามผู้เลี้ยงเอง ไก่หนึ่งตัวสามารถออกไข่ได้วันละหนึ่งฟอง เฉลี่ยแล้วเก็บไข่ทั้งหมดได้วันละประมาณ 60 ฟอง ก็คือ2แผง (หนึ่งแผงมี30ฟอง) สร้างรายได้ให้ให้ผู้เลี้ยงวันละประมาณ 240/วัน

ผู้เขียนบทความ

นางสาวเมธาพร ทองภู

ประเภท ประชาชน

ED19-2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

ตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

ลิ้งค์วีดีโอประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565

https://drive.google.com/drive/folders/1jeoQclAt0_mmt3mu-Ip32yrfPM8Op9Fw?usp=sharing