บทความประจำเดือน กรกฎาคม 2565

กลุ่ม ID27-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ

บ้านละลมเวง หมู่ที่ 6 บ้านหนองจาน หมู่ที่ 12

บ้านปอยยาง หมู่ที่ 14 บ้านหนองสระ หมู่ที่ 16

ตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย

เมืองจังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉันนางสาวกรรณิกา ธรรมรักษ์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์ ดิฉันได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ 4 หมู่บ้านดังนี้ บ้านละลมเวง หมู่ที่ 6 บ้านหนองจาน หมู่ที่ 12 บ้านปอยยาง หมู่ที่ 14 บ้านหนองสระ หมู่ที่ 16 โดยมีแผนการดำเนินงานการเก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบตามลำดับ ดังนี้ C-01  ประกอบไปด้วย ข้อมูลโครงการ รายละเอียดสินค้าและการบริการ แบบฟอร์ม C-02 ข้อมูลรายละเอียดแผนธุรกิจ

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการID27-2

– เข้าร่วมปฐมนิเทศออนไลน์กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ผ่านระบบ Facebook Live

– ส่งเอกสารหลักฐานการสมัครงาน ที่ห้องสำนักงานคณะ ชั้น1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

– ประชุมออนไลน์ทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการและมอบหมายงาน

-ทีมงาน ID27-2 ตำบลไพศาลและอาจารย์ประจำหลักสูตร ID27-2  เข้าพบนายก อบต. ไพศาล เพื่อนำเรียนโครงการและชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น

– เริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบ 3 หมู่บ้านประกอบไปด้วย บ้านละลมเวง หมู่ที่ 6 บ้านหนองจาน หมู่ที่ 12 บ้านปอยยาง หมู่ที่ 14 บ้านหนองสระ หมู่ที่ 16 ของตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG ด้านการคิดเชิงออกแบบ Design thinking ด้านโมเดลธุรกิจ Business Model Canvas ด้านเร่งการเติบโต (Growth Hacking) ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะแล้ว 60% และได้ทำการศึกษา Presentation-Tips เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 4 หมู่บ้าน

ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำไร่ทำนา อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ เช่น โค-กระบือ ไก่ไข่ ไก่พื้นเมือง เป็นต้น อีกทั้งยังมีสินค้าOTOP ภายในตำบล ซึ่งเป็น OTOP ที่สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนได้เป็นอย่างมาก เช่น ข้าวหลาม เสื่อกก ผ้าไหม แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้านการจัดจำหน่ายสินค้า และช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้ามีน้อย คือการขายแบบออฟไลน์ยังไม่มีการพัฒนาให้มีความหลากหลาย และบรรจุภัณฑ์ยังไม่มีเอกลักษณ์ และความน่าสนใจมากนัก ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เกิดจากการประสานงานของทีมงานและผู้นำชุมชน

 

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา            

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่จะออกไปทำการเกษตร เช่น ทำไร่ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ จึงส่งผลทำให้ไม่ได้รับข้อมูลจากชาวบ้านแต่อย่างใด ทางทีมงานจึงประสานงานกับผู้นำของแต่ละชุมชน เพื่อนัดหมายชาวบ้านก่อนที่ทางทีมงานจะลงพื้นที่อีกครั้งและได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดีจึงทำให้เก็บข้อมูลได้ครบตามเวลาที่กำหนด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. ได้เรียนรู้กระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่นกล้าแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากยิ่งขึ้น
  2. ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกันกับสมาชิกในทีม เมื่อเกิดปัญหาขึ้น
  3. ได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนาสินค้า OTOP  ของชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และเพิ่มช่องทางการจำหน่าย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน                                                                                                                                                                         แผนการในการดำเนินงานต่อไปทีม ID27-2 มีแผนการดำเนินงานในเดือน สิงหาคม 2565 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป