ดิฉันนางสาววิไลวรรณ โสรมรรค ประเภทประชาชนทั่วไป ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ 4 หมู่บ้านดังนี้ บ้านหนองจาน บ้านละลมเวง บ้านหนองสระ บ้านปอยาง
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ID27-2
ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เข้าร่วมปฐมนิเทศออนไลน์กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านระบบ Facebook Live
ในช่วงวันที่ 1-5 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตร นัดส่งเอกสารหลักฐานการสมัครงานพร้อมใบรายงานตัว ที่ห้องสำนักงานคณะ ชั้น1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในช่วงวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมกลุ่ม ID27-2 ประชุมออนไลน์ทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการมอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบทางการปฏิบัติงานและชี้แจงหน้าที่ และบทบาทของการทำงานของแต่ละบุคคล เพื่อให้งานบรรลุตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
ในช่วงวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 ทีมงาน ID27-2 ตำบลไพศาลและอาจารย์ประจำหลักสูตร ID27-2 เข้าพบนายก อบต. ไพศาล เพื่อนำเรียนโครงการและชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น
ในช่วงวันที่ 11-18 กรกฎาคม 2565 กลุ่ม ID27-2 ทีมงานปฎิบัติงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วยบ้าน บ้านหนองเก็ม หมู่ที่ 3 บ้านกระโดน หมู่ที่ 9 บ้านหนองยาง หมู่ที่ 10 บ้านสังเคิล หมู่ที่ 4 ของตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลกระผมสามารถเก็บข้อมูล C-01 และ C-02ได้ตามกำหนดและนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม
ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG ด้านการคิดเชิงออกแบบ Design thinking ด้านโมเดลธุรกิจ Business Model Canvas ด้านเร่งการเติบโต (Growth Hacking) ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100% และได้ทำการศึกษา Presentation-Tips เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%
ผลจากการสำรวจข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 4 หมู่บ้านพบว่า ชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ประกอบอาชีพคล้ายๆกัน เช่น การทำไรนาสวนผสม พื้นที่ในแต่ละแปลง แบ่งปลูกบ้าน พืชผักสวนครัว ปลูกข้าว ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ทอเสื่อจากกก ทอผ้าไหม แต่อาชีพหลักๆแล้ว คือ การทำการเกษตร เพราะส่วนมากจะปลูกข้าวไว้รับประทานเอง ไม่นิยมนำมาขาย เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ข้าวของทุกอย่างขึ้นราคาอย่างเห็นได้ชัด อาชีพเสริม คือ การทอเสื่อ ทอผ้า เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา เลี้ยงโค-กระบือ และขายข้าวหลาม สินค้าที่เป็น OTOP ของตำบลไพศาล คือ ข้าวหลาม
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- เรียนรู้การทำงานเป็นทีม
- เรียนรู้การตรงต่อเวลาต่อสมาชิกในทีม
- เรียนรู้วิถีชุมชนแบบพอเพียง
- เรียนรู้การหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน