.

บทความสรุปผลการปฎิบัติงาน

 เรื่อง แนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG

ประจำเดือน กรกฎาคม

โดย นางสาวอารียา วิลาศ

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

HS11-1 – คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลลำแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

รายงาน ณ วันที่

  1. ชื่อ – สกุล นางสาวอารียา วิลาศ ประเภท บัณฑิต
  2. ผลการปฏิบัติงาน

ข้าพเจ้าและทีมงานของโครงการ U2T ในความดูแลของอาจารย์ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เข้าประชุมรับฟังการปฏิบัติงานผ่านแอพพลิเคชัน Google meet โดยท่านอาจารย์ผู้ดูแลประจำตำบลวันที่ 29 มิ.ย เวลา 19.00 น. ชี้แจงรายละเอียด มีดังนี้ เรื่องการลงวลา ผู้ปฏิบัติงานจะต้องลงเวลาทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ

และหารือแนวทางการทำงานในเฟส2ในส่วนของเรื่องผลิตภัณฑ์ ท่านอาจารย์ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้าประกวด HACKATHON มี 2 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีส่วนผสมของพืชสมุนไพรที่อยู่ในท้องถิ่นที่ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเช่นเทียนหอมจากพืชสมุนไพรตามท้องถิ่นและผ้าไหมลายแสลงพันตามประวัติศาสตร์ของตำบลแสลงพันเพื่อเพิ่มสตอรี่ อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ข้าพเจ้าและทีมงานคิดชื่อแบรนด์คนละ1ชื่อเพื่อคัดหาชื่อแบรนด์ของตำบลแสลงพันและนำเสนอโครงการต่อไป

ในวันที่ 6 ก.ค ได้เข้าสู่บทเรียน “คัดสรร” คือ เข้าใจและเรียนรู้ BCG ผ่าน การคิดและกระบวนการ Hackathon เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา ใช้เหตุผล แก้ปัญหา เชื่อมโยงให้บรรลุจุดมุ่งหมายผ่านเว็บไซต์ www.u2t.ac.thและในวันที่ 9 ก.ค เวลา19.00 น.ได้มีการประชุมเพิ่มเติมเรื่องเรื่องC01 และสรรหาแอดมินประจำตำบลเพื่อดูแลระบบและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งให้เสนอชื่อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของตำบลได้ข้อสรุปเป็นชื่อลายเถาแสลงพันเป็นลวดลายที่ถูกคิดขึ้นมาจากเถาต้นแสลงพันที่มีความสวยงามและการพัฒนารูปแบบและมาตรฐานสามารถจำหน่ายเป้นของฝากและสินค้าประจำถิ่นได้ ต้นไม้หมายเมืองเมื่อแรกตั้งหมู่บ้าน และกลายเป็นชื่อหมู่บ้นและชื่อตำบลแสลงพันต่อมาข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ในตำบลแสลงพันในวันที่ 11 ก.คที่ศาลาประชาคมหมู่ 7 เพื่อที่จะแบ่งพื้นที่รับผิดชอบตามหมู่บ้านในชอบพื้นที่รับผิดชอบของข้าพเจ้าดั้งนี้หมู่ 2 บ้านหนองระนาม และหมู่ 8 บ้านหนองตาหล่าเพื่อที่จะเก็บข้อมูลพืชสมุนไพรที่ทำใหเกิดกลิ่นหอมและหาข้อมูลต้นแสลงพันว่ายังหลงเหลืออยู่กี่ต้นซึ่งพบว่ามีที่บ้านหนองตาดตามุ่งจำนวน 1 ต้น

ในวันที่ 12 ก.ค ข้าพเจ้าได้ลงพื้พนที่สำรวจเก็บข้อมูล ซึ่งได้ทราบว่าบางครัวเรือนปลูกพืชสมุนไพรมากมายหลายชนิด แต่บางครัวเรือนก็ปลูกสมุนไพรค่อนข้างน้อยมากที่พบเป็นจำนวนมากดั้งนี้

สำรวจพืชธรรมชาติสมุนไพรที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม ของหมู่ที่ 2

บ้านหนองระนาม ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบรีรัมย์

  1. ตะไคร่หอม จำนวน  2 หลังคาเรือน
  2. ดอกมะลิ จำนวน 5 หลังคาเรือน
  3. ต้นมะกรูด จำนวน 6 หลังคาเรือน
  4. ต้นยูคาลิปตัส จำนวน 2 ไร่
  5. สเลเตหรือต้นมหาหงส์ จำนวน 2 หลังคาเรือน
  6. ต้นจำปี จำนวน 1 หลังคาเรือน
  7. ต้นปีบ จำนวน 1 หลังคาเรือน
  8. ดอกพุดเศรษฐีสยาม จำนวน 2 หลังคาเรือน
  9. ดอกพุดซ้อน จำนวน 3 หลังคาเรือน
  10. ต้นข่า จำนวน 6 หลังคาเรือน
  11. กระชายขาว จำนวน 1 หลังคาเรือน
  12. ใบเตย จำนวน 4 หลังคาเรือน

ภาพลงพื้นที่บ้านหนองระนามหมู่ที่ 2

สำรวจพืชธรรมชาติสมุนไพรที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม ของหมู่ที่ 8

บ้านหนองตาหล่า ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบรีรัมย์

  1. ดอกมะลิ จำนวน 5 หลังคาเรือน
  2. ขิง จำนวน 5 หลังคาเรือน
  3. ต้นข่า จำนวน 4 หลังคาเรือน
  4. ใบเตย  จำนวน 6 หลังคาเรือน
  5. ต้นมะกรูด จำนวน 3  หลังคาเรือน
  6. ต้นยูคาลิปตัส จำนวน 1 ไร่
  7. ดอกพวงชม จำนวน 1 หลังคาเรือน
  8. ต้นรัก จำนวน  2 หลังคาเรือน
  9. ดอกพุดซ้อน จำนวน 3 หลังคาเรือน

ภาพลงพื้นที่บ้านหนองตาหล่าหมู่ 8

 

ข้าพเจ้าและผู้ร่วมปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่สำรวจพืชสมุนไพรที่ชุมชนและสรุปส่งอาจารย์ผู้ดูแลประจำตำบลแล้วรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้ไปหารือการทำเทียนหอมที่เกิดจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นเผื่อเป็นผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นต่อไปในส่วนของรูปลักษณ์ บรรจุบรรจุภัณฑ์เอกลักษณ์ได้มีการออกแบบเบื้องต้น

ดังรูปภาพต่อไปนี้

 

ในวันที่13 ก.ค ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ไปสอบถามข้อเกี่ยวกับประเพณีแห่ปราสารทผึ้งหรือการหล่อเทียนขี้ผึ้งป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านเพื่อหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ในการพัฒนาเทียนขี้ผึ้งเพื่อสุขภาพของชาวบ้านหมู่2 บ้านหนองระนาม และหมู่8 บ้านหนองตาหล่าที่ได้ลงพื้นที่สอบถามชอบบ้าน มีคติความเชื่อมาจากเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากเสด็จไปโปรดพระมารดาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เมื่อเสด็จลงมาจากสวรรค์ พระพุทธเจ้าได้แสดงปาฏิหาริย์ด้วยการเปิดโลกทั้งสาม คือ สวรรค์ มนุษย์ และนรก ให้เห็นถึงกันได้ ทำให้ผู้ที่ได้มองเห็นวิมานบนสวรรค์เกิดความต้องการที่จะได้อยู่ในสถานที่อันงดงามเช่นนั้นบ้าง และทราบว่าการจะได้อยู่ในวิมานอย่างนั้น จะต้องสร้างบุญสร้างกุศล ปฏิบัติธรรม สร้างปราสาทกองบุญในขณะที่เป็นมนุษย์อยู่เสียก่อน จนเป็นที่มาของการสร้างปราสาทผึ้ง บรรจุบันชาวบ้านหนองระนามหมู่ 2 กับหนองตาหล่าหมู่ 8 ไม่มีประเพณีมานานนับ 8 -10 ปีแล้ว ส่วนดอกผึ้งทำประเพณีงานบุญได้ลงไปสอบถามชาวบ้านในพื้นที่ใน เมื่อก่อนการทำบุญด้วยการถวายปราสาทผึ้ง หรือหอผึ้ง หรือต้นดอกผึ้ง เป็นบุญกุศลที่สูง หลังจากทำบุญให้ผู้ตายในงานบุญแจกข้าวหรือบุญเดือนสิบแล้ว จะมีการถวายปราสาทผึ้งเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์ด้วย ตามความเชื่อว่าเมื่อผู้ถวายสิ้นชีวิตแล้วจะได้ไปอยู่ในวิมานบนสวรรค์ ปัจจุบันชาวบ้านหนองระนาม หมู่ 2 และหนองตาหล่าหมู่ 8 เปลี่ยนจากการทำมือด้วยตนเองเป็นซื้อหรือนำมาพร้อมกับคนทำพิธีที่จ้างมาจากชุมชนอื่น