โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
หลักสูตร ED11-2 : โครงการพัฒนาสินค้าแปรรูปผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ตำบลสะแกซำ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
อาจารย์ ดร.วรัชยา พนมรัมย์
อาจารย์กษมา ศิริมุกดากุล
อาจารย์ชนิตา บุตรรัตนะ
การปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ดิฉันนางสาวณัฐรัตน์ รอบแคว้น ผู้ปฎิบัติงานประเภทนักศึกษาจบใหม่ สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ รับผิดชอบตำบลสะแกซำ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่ม ดังนี้ – พรมเช็ดเท้า Jerdrug (เจิ๊ดรัก) เพื่อสร้างรายได้ในชุมชน
– ผลิตภัณฑ์จากกัญชาไทย GunJerd (กัญเจิ๊ด) เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน
วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ปฐมนิเทศออนไลน์กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่าน Facebook live : MHESIThailand
วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 มีการประชุมออนไลน์ ได้พบปะกับอาจารย์ และสมาชิกประจำตำบลสะแกซำครั้งแรก มีการเสนอความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตำบล เพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินงาน พร้อมทั้งชี้แจ้งรายละเอียดการทำงาน และการส่งเอกสารต่าง ๆ ภาพปฐมนิเทศและการประชุมออนไลน์
วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ลงพื้นที่เข้าไปสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลพื้นฐาน การตลาด ประโยชน์ ปัญหาที่พบเสนออาจารย์ เพื่อให้พิจารณาในการดำเนินการต่อไป
วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 อาจารย์นัดหมายเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ พร้อมส่งเอกสาร ภาพลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลพื้นฐานกับผู้ทำพรมเช็ดเท้า ภาพการส่งเอกสารและพูดคุยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะดำเนินการ
วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ส่งงานแบบฟอร์มการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบ PowerPoint
วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ดิฉันและคณะทำงานได้ลงพื้นที่พร้อมกับอาจารย์ เพื่อพูดคุยกับผู้ทำพรมเช็ดเท้า และ ผู้ทำผลิตภัณฑ์จากกัญชา เกี่ยวกับความต้องการให้คณะทำงานช่วยพัฒนาสินค้าที่จะทำขึ้นมาใหม่ เพื่อที่จะช่วยให้เพิ่มรายได้มากขึ้นในชุมชน สรุปได้ดังนี้
1.การพัฒนาพรมเช็ดเท้า ภายใต้ชื่อแบรนด์ Jerdrug (เจิ๊ดรัก) เกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้านในท้องถิ่นเพื่อทำพรมเช็ดเท้า เพิ่มความโดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุเศษผ้าเหลือใช้จากเศษผ้ากีฬา ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย คุณสมบัติของผ้าเช็ดเท้า มีความหนานุ่ม ซับน้ำได้ดี สามารถซักในเครื่องซักผ้าได้ มีสีสันที่สวยงามหลากหลาย ปัญหาที่พบเจอของผลิตภัณฑ์นี้ยังขาดการส่งเสริมด้านการตลาดออนไลน์ แรงงานการผลิตไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถผลิตในปริมาณที่เยอะได้ จากการสอบถามความต้องการ พบว่า กลุ่มพรมเช็ดเท้าต้องการพัฒนาสินค้าให้ทันสมัยมากขึ้น อาทิเช่น กระเป๋าที่แปรรูปจากพรมเช็ดเท้า เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค ภาพการลงพื้นที่สอบถามความต้องการของกลุ่มพรมเช็ดเท้า
2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกัญชา ภายใต้ชื่อแบรนด์ GunJerd (กัญเจิ๊ด) มีชาวบ้านในท้องถิ่นปลูกกัญชา ภายใต้การจดทะเบียนทางกฎหมายต่าง ๆ อย่างถูกต้อง มีการแปรรูปสินค้าต่าง ๆ อาทิ ถุงเท้าจากใบกัญชา ยาหม่องกัญชา สบู่กัญชา น้ำมันกัญชา และเสื้อไหมพรมจากต้นกัญชา อีกทั้งได้มีการจ้างผู้สูงอายุภายในชุมชนเข้าทำงาน ทำให้ผู้สูงอายุมีรายได้เสริม และเป็นการแก้ไขการว่างงานของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีด้วย สรรพคุณของผลิตภัณฑ์กัญชาสามารถช่วยลดอาการปวด โรคหอบหืด ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น กัญชาใช้เป็นสารกระตุ้นความอยากอาหารรักษาภาวะเบื่ออาหาร ป้องกันการอาเจียนในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด ข้อเสียของกัญชาการผสมกัญชาใส่ในอาหารเพื่อรับประทาน อาจเกิดภาพหลอน การคิดและความจำบกพร่อง มีผลกระทบต่อปอด อาจส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น ดังนั้นควรใส่ในปริมาณที่เหมาะสมตามกฎหมายกำหนด ปัญหาที่พบคือ เรื่องของการผลิต การแปรรูป โลโก้ผลิตภัณฑ์ยังขาดความน่าสนใจ จากการสอบถามความต้องการ พบว่า ต้องการหาบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ให้เป็นที่สนใจและจดจำมากขึ้น ภาพการลงพื้นที่สอบถามความต้องการของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากกัญชา
วิดีโอนำเสนองานของตำบลสะแกซำ