บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565

ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โดยนางสาวพรมณี  เนียนสันเทียะ ประเภทบัณฑิตจบใหม่

          โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T BCG) ข้าพเจ้าได้มีการรายงานตัว      การปฐมนิเทศจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อให้ทราบและเข้าใจแนวทางในการปฏิบัติงาน และได้เริมปฏิบัติงานดังนี้

1.กิจกรรมประชุมทั้งออนไลน์และออนไซต์

เข้าร่วมประชุมเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานตำบลตลาดโพธิ์ และ คณะอาจารย์ประจำตำบล สรุปวาระการประชุม คณะอาจารย์แจ้งรายละเอียดการปฏิบัติงาน การลงเวลา ระเบียบ และวิธีการดำเนินงานต่างๆ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในตำบลตลาดโพธิ์โดยคัดเลือก 2 ผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน  ได้แก่ การจักสาน และการทอผ้าไหม ได้มีการแบ่งผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 2 ทีม ทีมละ 5 ท่าน เพื่อลงพื้นที่ศึกษาหาข้อมูลและพัฒนาผลิตภัณฑ์

 

2.กิจกรรมลงพื้นที่ภายในตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

จากการประชุมแผนงานและแบ่งกลุ่มดำเนินงาน ข้าพเจ้าและร่วมกับผู้ปฏิบัติงานตำบล ได้ลงพื้นที่สำรวจการทอผ้าไหม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 ณ บ้านโคกสนวน หมู่ 7 ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าผู้ทอผ้าไหมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ ในแต่ละหมู่บ้านจะประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ใช้เวลาว่างจากการทำเกษตรกรรม มีการทำจักสาน การทอผ้าไหมขาย เป็นการนำภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สืบต่อกันมาประกอบเป็นอาชีพ เพื่อเป็นการสร้างรายได้

โดยสภาพทั่วไปในการดำเนินงานทอผ้าไหมในตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนใหญ่เลือกใช้เส้นไหมจากผู้ผลิตเส้นไหมในชุมชนกันเอง ไหมที่ใช้เป็นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน ลายผ้าไหมได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษหรือเป็นลายที่ได้รับความนิยมในตอนนั้น การทอผ้าไหมมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน ชาวบ้านจะทำเองทุกขั้นตอน เริ่มจากการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม เตรียมไหม กรอไหม สาวไหม ย้อมสีไหม (โดยใช้สีเคมีในการย้อมเส้นไหม) การมัดลายไหม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามัดหมี่ และการทอผ้าไหมเป็นขั้นตอนสุดท้าย การทอผ้าไหมนั้นต้องอาศัยความชำนาญ ของผู้ทอจึงจะได้ผ้าไหมที่สวยงาม ประสบการณ์ในการทอผ้าไหมสืบทอดจากบรรพบุรุษต่อๆกันมาจาก การฝึกทำจนชำนาญ ผ้าไหมที่ทอได้ส่วนใหญ่จะมีไว้เพื่อขายโดยจะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามาซื้อ โดยราคาเฉลี่ยประมาณ ผืนละ 1500-2000 บาท ขึ้นอยู่กับลวดลายความสวยงามและความประณีต หรือนิยมนำมาตัดเป็นชุดตามความต้องการเพื่อสวมใส่ในงานที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งยังเป็นของที่มีมูลค่าทางจิตใจ และสามารถสร้างรายได้ในครัวเรือนกระจายรายได้สู่ชุมชนอีกด้วย

 

3.ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับผู้นำชุมชน ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดโพธิ์ วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ได้มีการจัดประชุมร่วมหารือกับผู้นำชุมชนภายในตำบลตลาดโพธิ์ ซึ่งมีท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดโพธิ์ เป็นประธานในที่ประชุมครั้งนี้ รวมถึง คณะอาจารย์ประจำตำบลตลาดโพธิ์ ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ชาวบ้านตำบลตลาดโพธิ์ และสมาชิกผู้ปฏิบัติงานประจำตำบล ได้มีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือ        ข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงการการทอผ้าไหม และการทำจักสานที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ

โดยในที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่องการทอผ้าไหมและการทำจักสาน อาทิเช่น การลงพื้นที่หาข้อมูล      ให้สำรวจครัวเรือนที่มีการทอผ้าไหมหรือการจักสานอยู่มากน้อยเพียงใด การออกแบบลวดลายผ้าไหมให้เป็นอัตลักษณ์ประจำตำบลและลวดลายที่ทันสมัย การใช้สีย้อมผ้าจากวัสดุธรรมชาติ การพัฒนาคุณภาพผ้าไหม การออกแบบจักสานให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น   การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์

จากการประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้น คือ อันดับแรก ต้องมีการสำรวจข้อมูลครัวเรือนที่มีการทอผ้าไหมหรือการทำจักสานที่สนใจ เพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานโครงการ และเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อเสนอแนะต่างๆ กับชาวบ้านในตำบลตลาดโพธิ์