โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
หลักสูตรHS17-2 :เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักรสานไม้ไผ่อย่างยั่งยืนและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมอย่างยั่งยืน ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นายณรงค์ มุลจุล ประเภทประชาชน หลักสูตร HS17-2 ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงประชุมวางแผนกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เมื่อวันที่ 9กรกฎาคม 2565 เวลา 13:00 น. เพื่อปรึกษาหารือเรื่องการทำงานและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบของแต่ละคนซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ทำในส่วนของการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักรสานไม้ไผ่อย่างยั่งยืน ข้าพเจ้าพร้อมทีมงานได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เวลา 10:00 น. เพื่อสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การจักรสานไม้ไผ่กับคนในชุมชนตำบลตลาดโพธิ์ พบว่าคนในชุมชนจำนวนหนึ่งได้มีการจักรสานไม้ไผ่อยู่แล้วข้าพเจ้าจึงได้สอบถามขั้นตอนการทำไซดักปลา
วิธีการทำไซดักปลา
1. จักไม้ไผ่เป็นเส้นเล็กตามความเหมาะสม
2. นำเส้นไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ มาสานเริ่มที่ก้นไซโดยสาน 5 เส้นแบบสลับกัน
3. เมื่อสานก้นไซเสร็จก็หักมุมเพื่อสานตัวไซ ลักษณะเป็นทรงกระบอก ความยาวตามความเหมาะสม
4. นำเส้นไม้ไผ่มาสานอีกส่วน เรียกว่าปากไซ เพื่อนำมาใส่ด้านหน้าของไซ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่ดักได้หนีออกจากไซ
5. เมื่อสานครบทุกส่วนก็นำไปรมควันไฟ เพื่อป้องกันตัวมอดกินและเพื่อความแข็งแรง
ประโยชน์ของไซดักปลา
1.ใช้ในการดักปลาเกือบทุกชนิดทุกขนาด
2.เป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน เพื่อการยังชีพได้
3.ใช้ดักจับปลาเพื่อมาประกอบอาหาร
4.สร้างรายได้ให้แก่คนในครอบครัวและชุมชน
5.เป็นของประดับตกแต่งบ้าน จะประดับนอกบ้านหรือในบ้านก็ได้ นอกจากนี้ยังเป็นของนำโชคซึ่งคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณเชื่อว่าถ้ามีไซดักปลาวางไว้ในบ้านจะนำมาซึ่งความร่ำรวย ความสุขความโชคดี ความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ครอบครัว
ดั้นนั้น เพื่อให้เป็นการพัฒนาต่อยอดสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เพิ่มมูลค่าสูงขึ้นโดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น สินค้าตกแต่งภายในบ้าน ไซดักปลาเล็ก โคมไฟประดับบ้าน เป็นต้น