ดิฉันนางจณิสตา นุชสาย ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ดิฉันได้เข้าร่วมงานพิธีเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) โดยมีการจัดถ่ายทอดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบ Zoom Meeting และมีการถ่ายทอดผ่าน Facebook live : MHESIThailand ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งเนื้อหาการอบรมคือ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ ในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐาน ที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบัน และทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG พัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ อีกทั้งได้ใช้ความรู้ด้าน BCG สร้าง Value Chain ให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ด้วยกระบวนการ
จากที่ดิฉันได้รับคัดเลือกให้เข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติงาน ประจำตำบล ซึ่งในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ดิฉัน และทีมงานได้เข้าร่วมประชุมกับอาจารย์ประจำตำบล ช่วยกันวางแผนการดำเนินงานของตำบลยายแย้มวัฒนา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ โดยที่ได้จัดทำข้อมูลลงในแบบฟอร์ม C-01 เป็นแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ ซึ่งใส่รายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ 1.ข้อมูลโครงการ 2.รายละเอียดสินค้า 3.รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ 4.การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน 5.การขายและรายได้ 6.วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้า 7.เทคโนโลยีและนวัตกรรม 8.ทรัพยากรบุคค
จากการเข้าร่วมการประชุมมีการเสนอการต่อยอดผลิตภัณฑ์อยู่หลากหลายผลิตภัณฑ์ โดยข้อสรุปนั้นจึงได้เป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย ได้แก่ กระเป๋าใส่โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าใส่เครื่องเขียน และผ้ากันเปื้อนสำหรับเด็ก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากข้าว จะนำมาแปรรูปขายก็จะมี ข้าวสารที่ได้มาจากการปลูกด้วยดินภูเขาไฟ ทำให้ได้แร่ธาตุเยอะกว่าข้าวที่ปลูกจากดินที่อื่น ๆ ข้าวแต๋น และข้าวตัง ที่จะนำมาพัฒนาให้มีหลากหลายรสชาติ และรูปแบบที่มากขึ้น อีกทั้งวัตถุดิบก็เป็นวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ทำการปลูกข้าว และฝ้ายในท้องถิ่นกันอยู่แล้ว
จึงได้เกิดเป็น 2 โครงการด้วยกัน แต่ละโครงการมีชื่อว่า 1.โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy )ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายยายแย้ม ของตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 2.โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy)ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวภูเขาไฟยายแย้ม ของตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยโครงการที่ 1 ได้ชื่อผลิตภัณฑ์คือ ผ้าฝ้ายยายแย้ม และโครงการที่ 2 ชื่อผลิตภัณฑ์คือ ข้าวภูเขาไฟยายแย้ม ดิฉันและทีมงานตำบลจึงได้ช่วยกันทำเอกสาร C-01 เพื่อส่งข้อเสนอโครงการให้แก่หน่วยงาน อีกทั้งดิฉันยังได้รับหน้าที่เป็นแอดมินประจำตำบล ทำหน้าที่กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มต่าง ๆ และทำการส่งข้อเสนอโครงการ
โดยวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ดิฉันได้เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศ ข้อมูลโดยรวมของโครงการต่าง ๆ ที่จะต้องดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนี้ และการปฏิบัติตน ปฏิบัติงานในโครงการ ผ่านช่อง You Tube Live ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และได้เข้าอบรม BCG – Learning เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการบวนการคิด และเนื้อหาการลงแข่งขัน Hackathon เพื่อที่จะให้เราสามารถวิเคราะห์การสร้าง และการขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ระดับจังหวัดและระดับประเทศ
จากนั้นดิฉันได้ทำงานนำเสนอเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะลงประกวดการแข่งขัน Hackathon เสนออาจารย์ประจำตำบล ร่วมกับการประชุมกับทีมงานภายในตำบล ทำให้ได้ข้อสรุปว่า นำข้าวในท้องถิ่นที่มีลักษณะเด่นอยู่แล้ว ซึ่งเป็นข้าวที่ปลูกจากดินภูเขาไฟ มีความนุ่ม ความหอมเฉพาะตัว และมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี มีแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก มาแปรรูปเป็นข้าวตังรสชาติต่าง ๆ อีกทั้งดิฉันและทีมงานได้ทำเอกสาร C-02 คือการส่งแผนธุรกิจ อธิบายแผนธุรกิจ ข้อมูลทั่วไปของลูกค้าในธุรกิจที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์ การสร้างรายได้ ช่องทางการจัดจำหน่าย รายละเอียดสินค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานในเดือนแรก