ข้าพเจ้า นางสาววิสุดา ถิ่นทัพไทย ประเภทประชาชน ผู้รับจ้างประจำตำบลแคนดง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรดังนี้

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมรับฟังงานเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) โดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านทางเว็บไซต์ http://web.facebook.com/MHESIThailand

วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.00 น. ได้เข้าร่วมประชุมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ร่วมกับอาจารย์ประจำตำบลและผู้ปฏิบัติงานตำบลแคนดงซึ่งได้ทำการเสนอชื่อโครงการ เพื่อประกอบการตัดสินใจให้สอดคล้องกับโครงการ ดังนั้นจึงได้ชื่อโครงการทั้ง 2 โครง ได้แก่ 1.โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟลาวเวอร์คอร์นดง 2.โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบคอร์นดง

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าสู่บทเรียนผ่านระบบ E-Learning เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความเข้าใจของ B.C.G ผ่านการคิดและกระบวนการเพื่อให้วิเคราะห์ปัญหาเชื่อมโยงและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมการฟังบรรยายปฐมนิเทศอาจารย์ประจำตำบล โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผ่านช่องทาง ยูทูป ช่อง U2T BRU ชี้แจงและอธิบายในเรื่องของระบบการทำงาน รวมถึงผู้ปฏิบัติงานต้องส่งบทความประจำเดือน

วันที่ 11 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เพื่อทำการสอบถามข้อมูลกับพัฒนากร รวมถึงผู้นำของชุมชน ประจำอำเภอแคนดง ซึ่งได้ลงพื้นที่หมู่บ้านไมตรีจิต หมู่ 16 เพื่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับข้าวโพดในการจัดทำโครงการ U2T ในครั้งนี้ ปัจจุบัน ข้าวโพดยังไม่มีฝัก เนื่องจากยังไม่ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ซึ่งต้องใช้เวลาในการเก็บเกี่ยว 3 เดือน/ครั้ง

วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมฟังบรรยาย หัวข้อ “การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD” โดยวิทยากร : ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)การเก็บข้อมูล T.C.D. ผ่านทางแอปพลิเคชั่นในมือถือ ชี้แจงและอธิบายวิธีการกรอกข้อมูล รวมถึงการเพิ่มแอปพลิเคชั่นลงในโทรศัพท์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อโครงการ หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้ประชุมออนไลน์ผ่าน google meet ร่วมกับอาจารย์ประจำตำบลและผู้ปฏิบัติงานประจำตำบล เพื่อทำการประชุมปรึกษาเกี่ยวกับการเตรียมโครงการ C-01 เพื่อเสนอรับการอนุมัติ

วันที่ 16 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าสู่บทเรียน M-02 คิดเชิงออกแบบ Design Thinking วิเคราะห์ปัญหาใช้เหตุผลแก้ปัญหา เชื่อมโยงให้บรรลุจุดหมาย พัฒนาสร้างคุณค่าสินค้าและบริการ การพัฒนาสินค้าและบริการ ออกแบบสินค้าสร้างแบรนด์ ออกแบบที่มาของสินค้า สร้างมูลค่าให้สินค้าและบริการ การขายและการวางแผนการตลาดในทางแพลตฟอร์มออนไลน์

วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานตำบลแคนดง ได้ประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet เพื่อปรึกษาหารือ แบ่งหน้าที่การทำงานเกี่ยวกับการทำ C-02 และแผนธุรกิจ เพื่อที่จะได้จัดทำตามแผนการปฏิบัติงานต่อไป

วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าและทีมปฏิบัติงาน ตำบลแคนดง ได้ลงพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านแคนดง ได้พูดคุยกับผู้นำชุมชน เพื่อขอความอนุเคราะห์ร่วมมือในการจัดทำโครงการU2t ในครั้งนี้ และทำการเก็บข้อมูลประชากร

 

จากการลงพื้นที่ พบว่าชาวบ้านมีการประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ทำนา ปลูกยาง ค้าขาย เป็นต้น  ซึ่งอาชีพที่ชาวบ้านใช้เลี้ยงชีพ มีรายได้ แต่ยังไม่เพียงพอ ต่อการดำรงชีพ เพราะบางอาชีพ ก็ใช้เงินในการลงทุน และประกอบกับช่วงที่เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง (covid-19) ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ กับอาชีพและรายได้อย่างมาก เช่น ตกงาน รายได้ลดลง ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานตำบลแคนดงจึงเห็นว่าควรยกระดับผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด ได้แก่ ข้าวเกรียบข้าวโพด และดอกไม้จากเปลือกข้าวโพด เพิ่อสนับสนุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดที่มีอยู่ในชุมชน

ประโยชน์ที่ได้รับ : ทำให้ทราบถึงสภาพทั่วไปของชุมชน ช่วยให้วางแผนการทำงานได้อย่างเป็นระบบ แบ่งงานออกไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบ นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงช่วยให้ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานรู้จักการทำงานเป็นทีม และเกิดความร่วมมือกันของสมาชิกในทีมงาน

ประโยชน์
1. ได้เรียนรู้การเขียนแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด
2. ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือกันให้คำปรึกษากันเพื่อให้งานดำเนินไปได้