ข้าพเจ้านางสาวสกาวเดือน จวงการ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิทด้วยเศรษฐกิจ BCG
ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิทด้วยเศรษฐกิจ BCG และได้มีการปฐมนิเทศอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลใน วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา โดย รศ.ดร.ศิราณี จุโฑปะมา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้กล่าวในที่ประชุมว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ 1 ตำบล 1 มหาลัย ในปี 2564 ซึ่งระยะเวลาในการดำเนินงานแตกต่างจากโครงการปัจจุบันที่มีระยะเวลาเพียงสามเดือน จึงขอให้อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลและผู้ปฏิบัติงานทุกท่านเร่งรัดการปฏิบัติงานตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำหนดและให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
โดยมีการนำหลักการของระบบ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้น การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีอยู่ในตำบลให้มีการเติบโต เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง
และในวันดังกล่าว ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับอาจารย์ที่ ปรึกษาประจำตำบลอิสาณ ได้แก่ อาจารย์เฉลิมเกียรติ เย็นเพชร และ อาจารย์ภูริสา วัชเรนทร์วงค์ ได้มีการปฐมนิเทศ ผู้ปฏิบัติงานเบื้องต้นในการเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาพัฒนา ออกแบบสินค้า และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ประจำตำบลเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าเพื่อ ให้สอดคล้องกับโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ซึ่งตำบลอิสาณได้ทำการเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนา 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไข่เค็มสมุนไพรและสบู่สมุนไพร ซึ่งเป็นการนำสมุนไพรที่ปลูกไว้ในครัวเรือนที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคและความต้องการของตลาดในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน