ข้าพเจ้านางสาวแว่นฟ้า ปิ่นสกุล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการการ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลของตำบลลุมปุ๊ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีเป้าหมายลงพื้นที่เก็บข้อมูลเสนอโครงการ รายละเอียดสินค้าและบริการ รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน การขายและรายได้ วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้า เพื่อก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ด้วยการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์จากการออกแบบที่โดดเด่นผสมผสาน ความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ความเป็นสมัยนิยม และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ผ้าไหมได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าจึงเห็นโอกาสที่จะดำเนินธุรกิจ จำหน่ายและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมเป็นเนคไทผ้าไหม เพื่อก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมด้วยการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการใช้วัตถุดิบที่ผลิตผ้าไหมที่มีในชุมชน การออกแบบลวดลายใหม่ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน นอกจากผ้าไหมแล้วในตำบลลุมปุ๊กยังมีสมุนไพรแก่นตะวันที่โดดเด่น เป็นสมุนไพรมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิตอยู่ของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาประกอบอาหาร บำรุงสุขภาพ และรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งเราได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของสมุนไพรประกอบกับแก่นตะวันเป็นสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน เป็นพืชที่มีประโยชน์สารพัดไม่ว่าจะเป็นช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดน้ำหนักและความอ้วน ช่วยป้องกันไขมันในเลือดสูง ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
จากการลงพื้นที่ข้าพเจ้าได้สำรวจและเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในชุมชนตำบลลุมปุ๊ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ด้วยทรัพยากร ความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านต่าง ๆ ตำบลลุมปุ๊กนั้นมีมากมาย พบว่าผลิตภัณฑ์ที่สามารถต่อยอดได้ ทั้งยังเป็นรายได้ให้กับชุมชน นั้นก็คือผ้าไหม และสมุนไพรแก่นตะวัน โดยผ้าไหมและสมุนไพรแก่นตะวันนั้นสามารถสร้างมูลค่าจากการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ของใช้หรือของฝากเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและสมุนไพรแก่นตะวันในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ทันต่อยุคปัจจุบัน ผลักดันในเป็นจุดเด่น จุดขายของชุมชน