ดิฉันนางสาวชญานิษฐ์ ทวีพวงเพชร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG) ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำหน้าที่รับผิดชอบตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
เนื่องด้วยในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดปฐมนิเทศออนไลน์กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม เวลา 13 : 30 น. – 15 : 30 น. ผ่าน Facebook live : MHESIT Thailand เป็นการปฐมนิเทศต้อนรับและเปิดงานผู้เข้าร่วมโครงการกับทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรมของโครงการ U2T for BCG อย่างเป็นทางการและเป็นการปฐมนิเทศเพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่จะถูกดำเนินการต่อโดยโครงการต่างๆขึ้นอยู่กับบริบทของตำบลและจังหวัดนั้นๆ
ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ได้มีประชุมเกี่ยวกับ รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับโครงการที่จะถูกดำเนินเป็นลำดับต่อไปซึ่งในตำบลถลุงเหล็ก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีโครงการจำนวน 2 โครงการด้วยกันได้แก่ การทำปุ๋ย และแปรรูปผ้า ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้ประชุมผ่านช่องทางออนไลน์โดยใช้ google meet ในการเข้าร่วมประชุม
ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ได้มีการลงพื้นที่อีกครั้ง ณ ตำบลถลุงเหล็ก เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปุ๋ย และผ้า เพื่อยกระดับของผลิตภัณฑ์ของ ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าและผู้ร่วมปฏิบัติงานทุกท่านได้เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศ และข้อมูลที่สำคัญ สำหรับการปฏิบัติงานในโครงการ ผ่านช่องทาง YouTube Live : U2T BRU โครงการ U2T for BCG ซึ่งการเข้าร่วมฟังการปฐมนิเทศเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลในระบบเพื่อความถูกต้องและแม่นยำ เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการ ประชาชน บันฑิต และคณะอาจารย์ที่ดูแลประจำตำบลได้ดำเนินโครงการและดำเนินการไปในระดับเดียวกัน
ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 ได้มีประชุมอีกครั้งเกี่ยวกับ รายละเอียดต่างๆรายละเอียดของการแปรรูปผ้าขาวม้าให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการต่อผู้ซื้อและผู้ที่สนใจในผลิตภัณฑ์การแปรรูปผ้า หากแปรรูปผ้าได้สำเร็จแล้วจะถูกนำไปลงในแพลตฟอร์มการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ Shopee และ Lazada เพื่อให้ได้รับการเข้าถึงสินค้าง่ายยิ่งขึ้นและเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย
ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ได้มีการลงพื้นที่อีกครั้ง ณ ตำบลถลุงเหล็ก เกี่ยวกับการแปรรูปผ้า เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าและผู้ร่วมปฏิบัติงานทุกท่านได้เข้าร่วมการอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD เพื่อทำความเข้าใจในระบบสำหรับการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำของตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
การลงพื้นที่ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีต้องขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผ้า และปุ๋ย ของตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และ ชุมชนในท้องถิ่น ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการให้ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทำโครงการในลำดับต่อไป