ข้าพเจ้า นาง ฐิติมา สืบไทย ประเภทประชาชน ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 ทางคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลสำโรงใหม่ เข้าร่วมประชุมที่หอประชุมสโลป คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เกี่ยวกับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยสู่ตำบล และเตรียมลงพื้นที่เพื่อสำรวจผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของชุมชนในรูปแบบใหม่ ให้เป็นที่รู้จักและกว้างขวางมากขึ้น โดยมีอาจารย์เมฆและอาจารย์ตั๊กเป็นที่ปรึกษาประจำตำบลสำโรงใหม่
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่บ้านโคกไม้แดงหมู่ที่ 12 บ้านบ่อโพธิ์ หมู่ที่ 6 และบ้านสันติสุข หมู่ที่ 14 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแต่ละหมู่บ้านมีการจัดตั้งกลุ่มจัดทำผลิตภัณฑ์ ดังนี้
1.) บ้านโคกไม้แดง หมู่ที่ 12 กลุ่มสานตะกร้า
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเวลาว่างมีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนประมาณ 10 คนจัดทำกระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้คือซองกาแฟและกระป๋อง มารีไซเคิลให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่คือทำกระเป๋าถือ กระเป๋าสะพาย และกระเป๋าเป้ มีการผลิตหลากหลายรูปแบบโดยมีการรับซื้อซองกาแฟจากคนในชุมชน 100 ซอง 10 บาทและส่วนมากได้รับบริจาคจากคนในชุมชน มีการจัดจำหน่ายร้านค้า่ในชุมชน แต่ทางกลุ่มยังไม่มีแบรนด์ยังไม่มีโลโก้ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วไป
2.) บ้านบ่อโพธิ์ หมู่ที่ 6 กลุ่มผ้าทอ
มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 13 คนมีการทอผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ผ้าฝ้าย ผ้านิลิน และมีการผสมผสานลายต่างๆลงบนผืนผ้า คือลายขิต เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะของหมู่บ้าน มีการทอผ้าเป็นเวลามากกว่า 10 ปีแล้ว แต่เริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักเมื่อปี 2561 ปัจจุบันได้นำผ้าทอมาแปลเป็นผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าซิ่น ทางกลุ่มยังไม่มีการตัดเย็บชุดเนื่องจากยังไม่มีจักรและไม่มีอุปกรณ์ที่เพียงพอ
3.) บ้านบ่อโพธิ์ หมู่ที่ 6 กลุ่มเพาะเห็ด
มีสมาชิกในกลุ่ม 10 คน โดยมีการเพาะเห็ดนางฟ้าและนางรมดำ ขายกิโลกรัมละ 70 บาท และมีการนำเห็ดมาแปรรูปทำแหนมเห็ดทอดขายในชุมชน แต่การผลิตเห็ดต้องใช้ระยะเวลาประใาณ 2 เดือน ฤดูฝนไม่สามารถเพาะปลูกได้ เพราะคนส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานเห็ดป่า จึงทำให้ขายเห็ดได้ราคาน้อย
4.) บ้านสันติสุขหมู่ที่ 14 กลุ่มต้นกก
มีการทอเสื่อกกตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ส่วนใหญ่ทอเสื่อเพื่อใช้สอยในครัวเรือน ต่อมาได้ทำเป็นอาชีพเสริมเวลาว่างจากการทำเกษตร ยังไม่มีการรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันหมู่บ้านสันติสุขมีการทอเสื่อกก 9-10 ครัวเรือนซึ่งผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากนัก สมาชิกในกลุ่มได้แปลนำเอาต้นกกมาทำเป็นปลอกหมอน กระติ๊บข้าว กล่องใส่ภาชนะ กระด้ง แต่ยังไม่มีลวดลายเฉพาะเป็นของกลุ่ม ไม่มีโลโก้ ไม่มีแบรนด์ และช่องทางการจัดจำหน่ายที่มากพอ
สรุปทางคณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลได้เลือกพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้
1.) ผลิตภัณฑ์จากซองกาแฟ
2.) ผลิตภัณฑ์จากต้นกก
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 อย่างนี้ อยู่ในข่าย BCG คือด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
โดยจะมีการนำเอาลายผ้าทอของหมู่ 6 คือลายขิต และเศษผ้ามาผสมผสานลงในมู่ลี่ เสื่อกก และกระเป๋ากาแฟ เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะของชุมชน เพื่อที่จะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทีมงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หนึ่งตำบล หนึ่งมหาวิทยาลัยตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ และอาจารย์ประจำตำบลที่ให้คำปรึกษาและทีมงานทุกคนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจนผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ด้วยดี