MS17-2 ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์

สวัสดีครับ กระผม นายณัฐวุฒิ วงษ์บุตร ผู้ปฏิบัติงานประเภท บัณฑิต MS17-2 ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and regional Development)

การปฏิบัติงานประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2565

ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565 เวลา 13.30 – 15.30 น. กระผมได้เข้าร่วมงานพิธีเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) เพื่อเข้ารับฟังการชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงาน และกระบวนการในการปฏิบัติงานของโครงการ

วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2565 เข้ารับการปฐมนิเทศและรายงานตัวในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and regional Development) ณ ห้องประชุม สโลป อาคาร 24 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2565 คณะปฏิบัติงาน MS17-2 ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การปฏิบัติงานในเดือนนี้ได้มีการลงที่ร่วมกัน เพื่อสำรวจและสอบถามข้อมูลในพื้นที่ชุมชนตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จากการลงพื้นที่สำรวจและสอบถามข้อมูล พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลสำโรง จะเป็นพื้นที่ทางการเกษตร และอาชีพส่วนใหญ่ที่พบคือ ทำนาและทำเกษตร นอกจากนี้ได้สำรวจถึงผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลสำโรง พบว่า มีผลิตภัณฑ์เด่นที่น่าสนใจ2ผลิตภัณฑ์คือ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า บ้านตะโกรี หมู่ 3 และผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นบ้านโสน หมู่ 6

จากที่คณะผู้ปฏิบัติงานได้ลงสำรวจพื้นที่และผลิตภัณฑ์ในตำบลแล้ว พบว่า ผลิตภัณฑ์ 2 ผลิตภัณฑ์นี้ซ้ำกับตำบลอื่นค่อนข้างมาก ดังนั้น แล้วคณะผู้ปฏิบัติงานจึงได้ร่วมกันวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อคิดค้นและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นโดยเป็นวัสดุที่มีทั่วไปในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับอาชีพหลักในชุมชนคือ การทำนาและเกษตรกรรม

คณะผู้ปฏิบัติงานจึงลงความเห็นกัน และร่วมมือกันแปรรูปฟางข้าวให้เป็นของชำร่วย หรือเรียกว่า ของชำร่วยจากฟางข้าว เป็นการนำฟางข้าวมาแปรรูป เช่น กระถางต้นไม้จากฟางข้าว กระเช้าจากฟางข้าว กล่องใส่ไข่จากฟางข้าว ฯลฯ สอยวัสดุธรรมชาติแบบหมุนเวียน และยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ 2 คือ มะละกอแก้ว เป็นการนำพืชที่หาได้ทั่วไป ชาวบ้านในพื้นที่นิยมปลูกกันมาก ซึ่งเป็นการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น โดยการนำมะละกอมาทำเป็นอาหารว่าง ของทานเล่น เป็นขนมขบเคี้ยวรูปแบบใหม่ อีกทั้งยังสามารถเป็นของฝากได้อีกด้วย เพื่อส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรให้กับเกษตรกรชุมชนตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ประชุมร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาละคณะผู้ปฏิบัติงาน MS17-2 ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านระบบออนไลน์ (Google Meet) เพื่อวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการดำเนินงานของผลิตภัณฑ์ของชำร่วยจากฟางข้าวและมะละกอแก้ว

วิดีโอการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565