โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG)                                หลักสูตร SC20-2 คณะวิทยาศาสตร์ ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์                      ประจำเดือนสิงหาคม

จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการทำผลิตภัณฑ์ของตำบลเมืองฝ้าย ทั้ง 12 หมู่บ้าน พบว่าส่วนใหญ่ชาวบ้านในชุมชนจะมีทอเสื่อพื้นบ้านเป็นจำนวนมากมีทั้งการทอเสื่อกกและเสื่อไหล ดังนั้นการทอเสื่อพื้นบ้านจึงเป็นผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งอย่างที่ขึ้นชื่อของตำบลเมืองฝ้ายและยังเป็นศิลปะและหัตถกรรมหรืองานฝีมือที่สืบสานกันมายาวนาน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านที่นำเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติมาแปรรูป เช่น ต้นกก ต้นไหล โดยจะมีการแปรสภาพต้นกกและต้นไหลด้วยการสานทอให้เป็นผืน เพื่อนำมาใช้งานในการปูรองนั่งหรือนอน

เสื่อทอพื้นบ้านจะพบได้เป็นจำนวนมากในภาคอีสาน เป็นผลิตภัณฑ์และวัฒนธรรมของชาวอีสานทั่วไปที่ใช้ประจำถิ่น ทั้งนี้เนื่องจากต้นกกและต้นไหลเป็นพืชที่สามารถหาได้เองตามธรรมชาติขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ชาวบ้านในชุมชนต่าง ๆ จึงได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหลังเพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมที่ยังคงสามรถใช้งานได้ในปัจจุบัน

 

จากข้อมูลดังกล่าวผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบลจึงได้เห็นถึงความสำคัญของการทอเสื่อพื้นบ้านของตำบลเมืองฝ้าย ดังนั้นทางทีมงานและอาจารย์ประจำตำบลได้สรุปที่จะทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์เบาะรองนั่งและโคมไฟจากการทอเสื่อพื้นบ้าน เพื่อเป็นการยกระดับสินค้าให้มีความน่าสนใจและเป็นการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนตำบลเมืองฝ้าย อีกทั้งยังส่งเสริมการบริการทางด้านการตลาดให้แก่ชุมชนตำบลเมืองฝ้ายเพื่อให้มีรายได้เสริมจากการทอเสื่อพื้นบ้าน

ดังนั้นทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบลจึงได้มีการจัดประชุมร่วมกับชาวบ้านในชุมชนตำบลเมืองฝ้ายทั้ง 12 หมู่บ้าน เพื่อหารือเกี่ยวการแปรรูปผลิตภัณฑ์เบาะรองนั่งและโคมไฟที่ทำจากเสื่อทอพื้นบ้าน โดยจัดประชุมในวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 ท่าน โดยมีรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้กล่าวเปิดงาน มีอาจารย์ประจำตำบล 4 ท่าน มีผู้ปฏิบัติงานทั้งบัณฑิตและประชาชน 10 ท่าน และชาวบ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน 35 ท่าน โดยแต่ละท่านจะเตรียมเสื่อทอพื้นบ้านเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการทอเสื่อพื้นบ้านของแต่ละหมู่ จากการประชุมกับชาวบ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน อาจารย์ประจำตำบลได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการ U2T for BCG และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่จะทำการผลิต ดังนั้นทางผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบลจึงได้สอบถามเกี่ยวกับกระบวนการทอเสื่อพื้นบ้านรวมถึงการจัดการในด้านต่าง ๆ ทั้งวัตถุดิบในการทอ การตลาด ราคาขายตามท้องถิ่น ความพร้อมในการทอเสื่อและอุปสรรคที่พบเจอ ความต้องการที่จะแปรรูปสินค้าเพื่อยกระดับให้มีความน่าสนใจ จากการสอบถามชาวบ้านหมู่ที่ 2 พบว่า มีความพร้อมในการทอเสื่อและมีราคาขายดังนี้ ผืนใหญ่ 150 บาท ผืนกลาง 120 บาท ผืนเล็ก 100 บาท มีจำนวนคนที่ทอในหมู่บ้านโดยประมาณ 10 ท่าน และชาวบ้านมีความสนใจอยากจะพัฒนาแปรรูปเสื่อทอพื้นบ้านให้เป็นเบาะรองนั่งและหมวก อุปสรรคที่พบเจอส่วนใหญ่คือการผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากชาวบ้านหมู่ที่ 2 ส่วนใหญ่ใช้วัสดุจากธรรมชาติคือต้นกกซึ่งต้นกกนั้นจะให้ผลผลิตเป็นบางช่วง และมีอุปสรรคที่สำคัญคือ การจัดการด้านการตลาดและการขายที่ยังไม่ทั่วถึง

จากการประชุมหารือกับชาวบ้านในชุมชนตำบลเมืองฝ้ายข้างต้น จึงทำให้ทราบถึงความเป็นมาและกระบวนการการผลิตเสื่อทอพื้นบ้านเบื้องต้น ได้ทราบถึงกระบวนการจัดการด้านการผลิต ราคาการขายในท้องถิ่น ความพร้อมและอุปสรรคต่าง ๆ ที่พบเจอในการทำผลิตภัณฑ์ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบลจึงเห็นถึงความพร้อมและปัญหาที่พบที่ยังทำให้ชาวบ้านในชุมชนตำบลเมืองฝ้ายไม่สามารถพัฒนาได้ จึงได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการสร้างผลิตภัณฑ์เบาะรองนั่ง โคมไฟ ที่ทำจากเสื่อทอพื้นบ้าน ซึ่งชาวบ้านในชุมชนตำบลเมืองฝ้ายให้ความสนใจเป็นอย่างมากที่จะช่วยพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อหารายได้เสริมจากการทำผลิตภัณฑ์และเป็นแนวทางการพัฒนาแบบใหม่ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยยกระดับจากเสื่อพื้นบ้านให้เป็นเบาะรองนั่งและโคมไฟ ที่มีความน่าสนใจทางด้านการตลาดมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญการยกระดับสินค้านี้จะช่วยให้มีช่องทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายแบบ offline และ online ดั้งนั้นทางทีมงานและชาวบ้านในชุมชนตำบลเมืองฝ้ายจึงร่วมมือกันที่จะสร้างและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เป็นเบาะรองนั่งและโคมไฟที่ทำจากเสื่อทอพื้นบ้าน