ข้าพเจ้านางสาวณัฐพร แรงประโคน (ภาค ประชาชน) ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลตะโกตาพิ  อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

แผนพัฒนาผลิตภัณฑ์

สินค้าและบริการ

1.       สบู่ชาโคล

2.       ถ่านหอมดูดกลิ่น 3 in 1

พื้นที่ตำบลตะโกตาพิ จังหวัดบุรีรัมย์ และมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 สินค้า และบริการ BCG เป้าหมายในพื้นที่

         การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งนี้ได้องค์ความรู้จากวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่มีการเผาไม้เพื่อทำถ่านไว้ใช้ โดยมีแนวความคิดในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ผลิตได้ให้มีการนำไปใช้งานที่หลากหลายรูปแบบและเพิ่มช่องทางทางการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน  โดยการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ที่สามารถนำไปจำหน่ายและนำไปใช้งานได้ง่ายสำหรับคนในยุคปัจจุบัน เช่น สบู่จากถ่านไม้และถ่านหอมดูดกลิ่นที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับบำรุงดินทางการเกษตร การกำจัดกลิ่น ดูดสารพิษ ซึ่งทางชุมชนยังขาดการบูรณาการองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ทั้งทางด้านการออกแบบสินค้าการทำโลโก้และการจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ดังนั้นจึงนำความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบสินค้าที่ได้จากถ่านและกระบวนการที่ได้จากการเผาถ่านมาพัฒนาให้เกิดสินค้า โลโก้ บรรจุภัณฑ์ และการทำการตลาดผ่านระบบออนไลน์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของคนในชุมชน

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของท่านคือ เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย และทุกอาชีพ

 ช่องทางการจัดจำหน่ายในปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์

วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้า และบริการของท่าน

  • ออกแบบสินค้า/บริการใหม่
  • ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่
  • พัฒนาสินค้า/บริการให้มีมูลค่าสูง

เป้าหมายการพัฒนาสินค้า และบริการของท่านคืออะไร

  • ได้สินค้า/บริการใหม่
  • ได้สินค้า/บริการที่มีบรรจุภัณฑ์ใหม่
  • ได้นำสินค้า/บริการที่จำหน่ายออนไลน์ได้
  • ได้สินค้า/บริการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน

เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่ท่านใช้มา 3 ข้อ

1.  เศรษฐกิจชีวภาพ (B: Bioeconomy) เน้นการนำความรู้ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ประเทศไทยมีอยู่มาเป็นตัวขับเคลื่อน

2. เศรษฐกิจหมุนเวียน (C: Circular Economy) เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ ตลอดวัฏจักรชีวิต และการนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม

3.  เศรษฐกิจสีเขียว (G: Green Economy) ที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายสูงสุด

หลักการและขั้นตอนการพัฒนาของสินค้าและบริการ

       ผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนาเพื่อให้ชุมชนนำมาต่อยอดและสามารถจำหน่ายเป็นอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนมี 2 ผลิตภัณฑ์  ได้แก่  1.สบู่ชาโคลที่ได้จากส่วนผสมของถ่าน  2. ถ่านหอมดูดกลิ่น 3 in 1

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งนี้ได้องค์ความรู้จากวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่มีการเผาไม้เพื่อทำถ่านไว้ใช้ โดยมีแนวความคิดในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ผลิตได้ให้มีการนำไปใช้งานที่หลากหลายรูปแบบและเพิ่มช่องทางทางการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน  โดยการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ที่สามารถนำไปจำหน่ายและนำไปใช้งานได้ง่ายสำหรับคนในยุคปัจจุบัน เช่น สบู่จากถ่านไม้และถ่านหอมดูดกลิ่นที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับบำรุงดินทางการเกษตร การกำจัดกลิ่น ดูดสารพิษ ซึ่งทางชุมชนยังขาดการบูรณาการองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ทั้งทางด้านการออกแบบสินค้าการทำโลโก้และการจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ดังนั้นจึงนำความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบสินค้าที่ได้จากถ่านและกระบวนการที่ได้จากการเผาถ่านมาพัฒนาให้เกิดสินค้า โลโก้ บรรจุภัณฑ์ และการทำการตลาดผ่านระบบออนไลน์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของคนในชุมชน

 ระยะเวลาในการพัฒนาสินค้าและบริการให้แล้วเสร็จภายในกี่เดือน

  • 2 – 3 เดือน

 ความพร้อมของผลิตภัณฑ์และบริการในด้านต่าง ๆ

ประเด็นความพร้อมในด้านต่าง ๆ ระดับความพร้อม
พร้อม ไม่พร้อม N/A
1 ด้านวัตถุดิบ /
2 ด้านกระบวนการผลิตและบริการ /
3 ด้านมาตราฐานผลิตภัณฑ์และบริการ /
4 ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการ /
5 ด้านการจัดการ /
6 ด้านการขนส่งและกระจายสินค้า /
7 ด้านบรรจุภัณฑ์ /
8 ด้านการจัดการสินค้าคงคลัง /
9 ด้านการจัดการการตลาด /
10 ด้านการขาย (ที่ไม่ใช่ระบบ Online) /
11 ด้านการขาย (ในระบบ Online) /

หมายเหตุ : N/A คือไม่มีข้อมูลที่จะประเมิน

แผนการพัฒนาสินค้าและบริการ

1)      สบู่ชาโคล สบู่ชาโคลทำมาจากการผสมถ่านไม้ไผ่ที่ผ่านการเผาด้วยความร้อนสูงซึ่งจะปล่อยรังสีอินฟาเรด และประจุที่สามารถเปลี่ยนอนุมูลอิสระให้เป็นออกซิเจนดูดซับคลื่นอิเลคทรอแมคเนติก ทั้งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม และแร่ธาตุ จึงมีคุณสมบัติในการขับล้างสารเคมีตกค้าง ขับสิ่งสกปรกทั้งผิวหน้าและผิวกายได้ดียิ่งขึ้น

2)      ถ่านหอมดูดกลิ่น 3 in 1 เป็นนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าขยะเปลือกผลไม้จากชุมชน เพื่อเกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณสมบัติถ่านเพื่อทำการปล่อยกลิ่นหอม และดูดกลิ่นอับชื้น หรือกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ/ตู้เสื้อผ้า/รถยนต์

ลิงค์โครงการhttps://docs.google.com/presentation/d/1lHuCx3lThtFJk488tQyx0u6lLjufD9gp/edit?usp=sharing&ouid=114578551096420512694&rtpof=true&sd=true