โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
พื้นที่รับผิดชอบ ตำบลเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวเกวริน สีหมากสุก
ถ้าพูดถึงในพื้นที่ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หรือ วิถีชีวิต และมีสินค้าที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อของผ้าภูอัคนี ที่ถือได้ว่าเป็นของดีในตำบลเจริญสุขอีกอย่างหนึ่ง แต่นอกจากจะมีผ้าภูอัคนีแล้วยังมี เสื่อกกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกิดจากกลุ่มทอเสื่อกกบ้านหนองจอก ตำบลเจริญสุข ที่ในอดีตส่วนใหญ่คนในชุมชนมีการทอเสื่อเพื่อสำหรับใช้ในครอบครัวเท่านั้น ต่อมาได้รับความรู้พัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่สร้างรายได้เสริมให้แก่ชาวบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื่อปูนั่ง กล่องใส่ทิชชู่ กระเป๋า เป็นต้น
การนำต้นกกที่บางคนอาจจะมองว่าเป็นเพียงวัชพืชที่ไม่มีคุณค่าหรือคุณประโยชน์อะไร แต่สำหรับคนในตำบลชุมชนเจริญสุขนั้น ถือเป็นการสร้างรายได้เสริมอีกทางนอกเหนือจากการทำเกษตรเป็นหลัก ลักษณะของต้นกกเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งหลายคนมักมองว่าต้นกกเป็นวัชพืชที่ไม่มีประโยชน์ใดๆเลย แต่ต้นกกนั้นมีประโยชน์และสรรพคุณมาก ต้นกกเป็นวัชพืชที่มีสายพันธุ์หรือชนิดของต้นกกมากกว่า 4,000 ชนิดกระจายอยู่ทั่วโลก โดยต้นกกชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงหรือบริเวณที่มีน้ำขังท่วมอยู่ จึงชอบขึ้นในพื้นที่บ่อ บึง ทางระบายน้ำ นาข้าว หรือพื้นที่ลุ่มน้ำ เป็นต้น ซึ่งลักษณะของต้นกกคือลำต้นมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุมถ้ามองในแนวขวาง ในบางสายพันธุ์หรือชนิดของต้นกกนั้นมีผนังกั้นคล้ายห้องแบ่งเป็นส่วนๆออกไป ดอกของต้นกกมีช่อปลายแหลมห่อหุ้มไว้แค่เพียงอันเดียวเท่านั้น มีกาบใบอยู่ชิดกัน มีดอกที่จะมีกาบย่อยๆออกมาเป็นช่อหุ้ม อีกทั้งต้นกกเลื้อยไปใต้ดินและสามารถแตกเป็นลำต้นใหม่โผล่มาเหนือดิน แต่ลำต้นไม่แตกกิ่งแบบต้นไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งใครหลายคนมักจะไม่สามารถแยกได้ระหว่างหญ้า เพราะมีลักษณะของใบคล้ายกัน แต่แตกต่างที่เรียงตัวอัดแน่นกันเป็นสามมุมและไม่มีมุมของกาบใบ
ในการนำต้นกกมาสร้างให้เกิดคุณค่าของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการสร้างความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ที่คนในชุมชนได้รับการสนับสนุน พัฒนาความรู้แบบร่วมสมัยอย่างลงตัว เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ขยายกลุ่มลูกค้ามากขึ้นและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนั้น ไม่ว่าจะเป็น การปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้ได้ ผลิตภัณฑ์ใหม่และตลาดใหม่ การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างองค์กรและสังคมเช่น กรมพัฒนาชุมชน และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ที่ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาส่งเสริมให้ความรู้พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชน ได้มีรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ใหม่ๆและส่งเสริมการตลาด ซึ่งถือได้ว่าชุมชนนั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของ ประเทศ ทุกชุมชนสามารถมีบทบาทที่สำคัญใน การร่วมกันพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชนโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกิดการกระจายรายได้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ดังนั้นเพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน คนในชุมชนต้องเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนา มีการดำเนินงานที่คำนึงถึงความรับผิดชอบและตอบแทนให้สังคมส่วนรวมและสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมด้วยการ ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพการบริหารมีความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง
อ้างอิง
วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2564)
https://kaset.today/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8